บาลีวันละคำ

ทีฆนิกาย (บาลีวันละคำ 4,139)

ทีฆนิกาย

หมวดที่รวมพระสูตรขนาดยาว

…………..

พระไตรปิฎกมี 3 ส่วน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก 

พระสุตตันตปิฎกแบ่งเป็น 5 หมวด เรียกว่า “นิกาย” คือ –

(สะกดตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554)

(1) ทีฆนิกาย

(2) มัชฌิมนิกาย

(3) สังยุตนิกาย

(4) อังคุตรนิกาย

(5) ขุทกนิกาย

…………..

ทีฆนิกาย” อ่านว่า ที-คะ-นิ-กาย

ประกอบด้วยคำว่า ทีฆ + นิกาย

(๑) “ทีฆ” 

บาลีอ่านว่า ที-คะ รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลง อุ ที่ ทุ เป็น อี (ทุ > ที)

: ทุ + = ทุฆ > ทีฆ แปลตามศัพท์ว่า “ระยะที่เป็นไปด้วยเสียงที่ไกล

ทีฆ” ในบาลี ถ้าเป็นคุณศัพท์ แปลว่า ยาว (long) ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า งู (a snake)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทีฆ– : (คำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำวิเศษณ์) ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ป.; ส. ทีรฺฆ).”

ทีฆ” ที่เราคุ้นกันดี ก็คือคำว่า “ทีฆายุโก” หรือ “ทีฆายุกา” ในคำถวายถวายพระพร

โปรดสังเกตและใส่ใจไว้ว่า “ทีฆที ทหาร ไม่ใช่ ฑี มณโฑ

กรุณาอย่ารับข้อมูลเก่า ใครที่เคยติดตาติดมือผิดๆ โปรดลบข้อมูลเก่าทิ้งไป

…………..

ทีฆ” –

ที ทหาร 

ไม่ใช่ ฑี มณโฑ

…………..

(๒) “นิกาย” 

บาลีอ่านว่า นิ-กา-ยะ แสดงรากศัพท์ตามนัยแห่งหนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) ดังนี้ – 

(1) นิกาย ๑ รากศัพท์มาจาก นิ (คำนิบาต = เข้า, ลง) + จิ (ธาตุ = สะสม) + ปัจจัย, แปลง จิ เป็น กา 

: นิ + จิ = นิจิ + = นิจิย > นิกาย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ที่อันเขามุงบัง” หมายถึง เรือน, ที่พัก, ที่อยู่

(2) นิกาย ๒ รากศัพท์มาจาก นิ (คำนิบาต = ไม่มี, ออก) + จิ (ธาตุ = สะสม) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ จิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อาย (จิ > เจ > จาย), แปลง เป็น

: นิ + จิ + = นิจิณ > นิจิ > นิเจ > นิจาย > นิกาย (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “หมู่ที่สะสมส่วนย่อยทั้งหลายไว้โดยไม่ต่างกัน” ( = พวกที่ไม่ต่างกันมารวมอยู่ด้วยกัน) หมายถึง นิกาย, ฝูง, กลุ่ม, หมู่, คณะ, กอง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นิกาย” ว่า collection, assemblage, class, group (การรวบรวม, การประชุม, ชั้น, กลุ่ม, พวก, หมู่) ไม่มีคำแปลที่หมายถึง เรือน, ที่พัก, ที่อยู่ ดังที่หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ แสดงความหมายของ นิกาย

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นิกาย : (คำนาม) น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).”

ขยายความแทรก :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายคำว่า “นิกาย” ไว้ดังนี้ –

…………..

นิกาย : พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง; 

1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย; 

2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ; ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และ เถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง; 

ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และ คณะธรรมยุต 

…………..

ทีฆ + นิกาย = ทีฆนิกาย อ่านแบบบาลีว่า ที-คะ-นิ-กา-ยะ อ่านแบบไทยว่า ที-คะ-นิ-กาย 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทีฆนิกาย : (คำนาม) ชื่อคัมภีร์นิกายแรกแห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดยาว รวบรวมพระสูตรขนาดยาวไว้ในหมวดนี้.”

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ที่คำว่า “ทีฆนิกาย” บอกไว้ดังนี้ –

…………..

ทีฆนิกาย : นิกายที่หนึ่งแห่งพระสุตตันตปิฎก; ดู ไตรปิฎก (เล่ม ๙ – ๑๑)

…………..

ที่คำว่า “ไตรปิฎก” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ฯ บอกความหมายไว้ดังนี้ –

…………..

ไตรปิฎก : “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎก จึงแปลว่า “คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด” หรือ “ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด” กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก 

… … …

…………..

ในส่วน “สุตตันตปิฎก” พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ฯ ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม

๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม

เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล

เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย มหา เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น

เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร

…………..

นี่คือเค้าโครงของ “ทีฆนิกาย” ในพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นพระสุตตันตปิฎกหรือพระสูตร

รายละเอียดต่างๆ ของพระสูตรใน “ทีฆนิกาย” พึงศึกษาจากพระไตรปิฎกเล่ม 9-10-11 นั้นเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ

นินฺทนฺติ พหุภาณินํ

มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ

นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.

อยู่เฉยๆ เขาก็นินทา 

พูดมาก เขาก็นินทา 

พูดน้อย เขาก็นินทา 

ไม่มีใครในโลก ที่ไม่ถูกนินทา

บาลี: โกธวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 27

ไทย: เสฐียรพงษ์ วรรณปก ใน “พุทธวจนะในธรรมบท” 

#บาลีวันละคำ (4,139)

12-10-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *