บาลีวันละคำ

ราชบัณฑิต (บาลีวันละคำ 4,164)

ราชบัณฑิต

ปราชญ์ของพระราชา คลังปัญญาของบ้านเมือง

อ่านว่า ราด-ชะ-บัน-ดิด

ประกอบด้วยคำว่า ราช + บัณฑิต

(๑) “ราช” 

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย

: ราชฺ + = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา 

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความ “ราช” หรือ “ราชา” ว่าคือ “ผู้ที่ทำให้ประชาชนร้องออกมาว่า พอใจ พอใจ

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๒) “บัณฑิต

เขียนแบบบาลีเป็น “ปณฺฑิต” อ่านว่า ปัน-ดิ-ตะ มีรากศัพท์มาได้หลายทาง เช่น :

(1) ปณฺฑา ( = ปัญญา) + อิต ( = ไป, ดำเนินไป, เกิดขึ้นพร้อม) ลบสระที่ ปณฺฑา (ปณฺฑา > ปณฺฑ

: ปณฺฑา > ปณฺฑ + อิต = ปณฺฑิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา” “ผู้มีปัญญาเกิดพร้อมแล้ว

(2) ปฑิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (ปฑิ > ปํฑิ) แล้วแปลงเป็น (ปํฑิ > ปณฺฑิ)

: ปฑิ > ปํฑิ > ปณฺฑิ + = ปณฺฑิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินไปสู่ความเป็นผู้ฉลาด” 

(3) ปณฺฑฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (ปณฺฑฺ + อิ + )

: ปณฺฑฺ + อิ = ปณฺฑิ + = ปณฺฑิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

ความหมายของ “ปณฺฑิต” ในบาลีคือ สุขุม, ไตร่ตรอง, รอบรู้, ฉลาด, รู้ทัน, จัดเจน, หลักแหลม, รอบคอบ, ระมัดระวัง, ถี่ถ้วน, ชำนิชำนาญ, ช่ำชอง, ว่องไว, คล่องแคล่ว, มีความสามารถ, มีไหวพริบ, รู้จักคิด, รู้จักเหตุผล = รู้จักผิดชอบชั่วดีควรไม่ควร 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปณฺฑิต” เป็นอังกฤษว่า wise, clever, skilled, circumspect, intelligent.

ปณฺฑิต” ในภาษาไทยใช้ว่า “บัณฑิต” (บัน-ดิด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บัณฑิต : (คำนาม) ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).”

ราช + บัณฑิต = ราชบัณฑิต แปลว่า “บัณฑิตของพระราชา” หรือ “ปราชญ์ของพระราชา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราชบัณฑิต : (คำนาม) นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี; สมาชิกองค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน.”

ข้อสังเกต :

คำว่า “องค์การวิทยาการของรัฐที่เรียกว่า ราชบัณฑิตยสถาน” นั้น เป็นการนิยามตามชื่อเดิมของราชบัณฑิตยสภา ทั้งนี้เพราะขณะที่ชำระและพิมพ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ราชบัณฑิตยสภายังเป็น “ราชบัณฑิตยสถาน” อยู่ มาเปลี่ยนเป็น “ราชบัณฑิตยสภา” เมื่อ พ.ศ.2558 หลังจากพิมพ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แล้ว

อนึ่ง คำนิยามที่ว่า “นักปราชญ์หลวงมีความรู้ทางภาษาบาลี” นั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งหมด ทั้งนี้เพราะ “ราชบัณฑิต” มีหลายประเภทวิชาสาขา และหลายสาขาวิชาก็ไม่ใช่สาขาวิชาที่ต้องมีความรู้ทางภาษาบาลี 

คำนิยามคำว่า “ราชบัณฑิต” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คงต้องปรับปรุงแก้ไขในการชำระและพิมพ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานครั้งต่อไป

ขยายความ :

ราชบัณฑิตยสภา” เป็นหน่วยงานที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ.2469 ชื่อเมื่อแรกสถาปนาว่า “ราชบัณฑิตยสภา” ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2476 เปลี่ยนชื่อเป็น “ราชบัณฑิตยสถาน” และได้เปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น “ราชบัณฑิตยสภา” ตั้งแต่ พ.ศ.2558 เป็นต้นมา (ดูรายละเอียดที่ “ราชบัณฑิตยสภา” บาลีวันละคำ (4,162) 4-11-66) 

ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2558 หมวด 2 สมาชิก มาตรา 12 บัญญัติว่า –

…………..

มาตรา ๑๒  ราชบัณฑิตยสภามีสมาชิก ๓ ประเภท คือ

(๑) ภาคีสมาชิก

(๒) ราชบัณฑิต

(๓) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

…………..

ในส่วนที่ว่าด้วย “ราชบัณฑิต” พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2558 บัญญัติไว้ดังนี้ –

…………..

มาตรา ๑๗ ราชบัณฑิต ได้แก่ ภาคีสมาชิกซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในประเภทวิชาสาขาใดสาขาหนึ่งที่อยู่ในหน้าที่ของราชบัณฑิตยสภาโดยคำแนะนำของราชบัณฑิตยสภา

มาตรา ๑๘ การกำหนดจำนวนราชบัณฑิตซึ่งจะมีได้ในแต่ละสำนัก การตั้งตำแหน่งราชบัณฑิตขึ้นใหม่ การตั้งราชบัณฑิตในตำแหน่งที่ว่าง รวมทั้งการเลือกภาคีสมาชิกเพื่อแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่หรือในตำแหน่งที่ว่าง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

………

………

มาตรา ๒๐ ให้สมาชิกราชบัณฑิตยสภามีสิทธิและประโยชน์ ดังต่อไปนี้

………

………

(๒) ราชบัณฑิต

(ก) รับเงินอุปการะ สวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ข) ประดับเข็มเครื่องหมายตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(ค) ได้รับความยกย่องในงานพระราชพิธี งานพิธี หรือสโมสรสันนิบาตของทางราชการเสมอด้วยข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดี

(ง) เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายในการประชุมสำนักหรือการประชุมราชบัณฑิตยสภาและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

………

………

…………..

หวังว่า บาลีวันละคำคำนี้ คงช่วยให้ท่านทั้งหลาย (1) รู้จัก “ราชบัณฑิต” แห่งราชบัณฑิตยสภา (2) ที่พอรู้อยู่บ้างจะได้รู้จักดียิ่งขึ้น

แถม :

พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.๒๕๕๘ (เปิดอ่าน)

http://web.krisdika.go.th/lawHeadContent.jsp?fromPage=lawHeadContent&formatFile=htm&hID=0

พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.๒๕๕๘ (ดาวน์โหลดไฟล์ pdf)

http://web.krisdika.go.th/lawHeadPDF.jsp?formatFile=pdf&hID=0

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีเงิน ใช้ให้คุ้มค่า

: มีคลังปัญญา ใช้ให้คุ้มคน

#บาลีวันละคำ (4,164)

6-11-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *