บาลีวันละคำ

Book บาลีว่าอย่างไร (บาลีวันละคำ 4,356)

Book บาลีว่าอย่างไร

หญ้าปากคอกอีกคำหนึ่ง

ในที่นี้ Book หมายถึงสิ่งที่คำไทยเรียกว่า หนังสือ

Book = หนังสือ คำบาลีว่าอย่างไร

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล Book เป็นบาลีดังนี้: 

(1) potthaka โปตฺถก (โปด-ถะ-กะ) = หนังสือ

(2) gantha คนฺถ (คัน-ถะ) = หนังสือ, คัมภีร์

…………..

(๑) “โปตฺถก” 

อ่านว่า โปด-ถะ-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุสฺ (ธาตุ = เต็ม) + ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ปุ-(สฺ) เป็น โอ, แปลง สฺ เป็น + สกรรถ

: ปุสฺ + = ปุสฺถ > โปสฺถ > โปตฺถ + = โปตฺถก” แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เต็ม

(2) ปุตฺถฺ (ธาตุ = ผูก) + (อะ) ปัจจัย, แผลง อุ ที่ ปุ-(ตฺถฺ) เป็น โอ + สกรรถ

: ปุตฺถฺ + = ปุตฺถ > โปตฺถ + = โปตฺถก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาผูกไว้” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “โปตฺถก” (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) ว่า สมุดข่อย, ใบลาน, คัมภีร์, หนังสือ, ผ้าป่าน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โปตฺถก” ดังนี้ –

(1) a book (หนังสือ) 

(2) anything made or modelled in clay or wood etc. (สิ่งที่ทำหรือปั้นด้วยดินเหนียวหรือไม้ ฯลฯ)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “โปตถกะ” ไว้ด้วย บอกไว้ดังนี้ – 

โปตถกะ : (คำนาม) หนังสือที่เขียนหรือจาร, คัมภีร์หนังสือ, เล่มหนังสือ. (ป.).”

(๒) “คนฺถ” 

อ่านว่า คัน-ถะ รากศัพท์มาจาก คนฺถฺ (ธาตุ = ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง) + (อะ) ปัจจัย 

: คนฺถฺ + = คนฺถ แปลตามศัพท์ว่า (1) “การผูก” “สิ่งอันเขาใช้ผูก” (2) “คำอันท่านผูกไว้” 

คนฺถ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เครื่องผูกมัด, เครื่องร้อยรัด, เครื่องพันธนาการ (a bond, fetter, trammel)

(2) ความเรียง, ต้นฉบับ, หนังสือ (composition, text, book)

ในที่นี้ “คนฺถ” ใช้ตามความหมายในข้อ (2) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “คันถ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) บอกไว้ว่า – 

คันถ– : (คำนาม) คัมภีร์. (ป.; ส. คฺรนฺถ).”

นอกจาก “โปตฺถก” และ “คนฺถ” แล้ว อีกคำหนึ่งที่นักเรียนบาลีน่าจะคุ้นก็คือ “ปกรณ

(๓) “ปกรณ” 

อ่านว่า ปะ-กะ-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง เป็น  

: + กรฺ = ปกรฺ + ยุ > อน = ปกรน > ปกรณ แปลตามศัพท์ว่า “การทำทั่วไป” 

ปกรณ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การประกอบ, ข้อความในกฎหมายที่ยอมรับกัน (performance, undertaking paragraph of the law) 

(2) โอกาส (occasion)

(3) คำอธิบาย, การจัด, งานประพันธ์, หนังสือ, ปกรณ์ (exposition, arrangement, literary work, composition, book)

บาลี “ปกรณ” ในภาษาไทยใช้เป็น “ปกรณ์” อ่านว่า ปะ-กอน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ – 

ปกรณ์ : (คำนาม) คัมภีร์, ตํารา, หนังสือ. (ป. ปกรณ; ส. ปฺรกรณ).”

อภิปรายขยายความ :

คำว่า “โปตฺถก” ในบาลี หมายถึง เล่มหนังสือ หรือวัสดุที่รองรับตัวหนังสือ เช่น –

เขียนตัวหนังสือลงบนใบลาน ใบลานก็เป็น “โปตฺถก

เขียนตัวหนังสือลงบนสมุดข่อย สมุดข่อยก็เป็น “โปตฺถก

เขียนตัวหนังสือบนกระดาษแล้วพิมพ์เป็นเล่ม กระดาษก็เป็น “โปตฺถก

แปลงตัวหนังสือเป็นกระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน เมื่อจะอ่านก็แปลงกระแสไฟฟ้าเป็นตัวหนังสือ กระแสไฟฟ้าก็เป็น “โปตฺถก” ดังที่เราเรียกกันว่า Ebook

ส่วน “คนฺถ” และ “ปกรณ” หมายถึง ข้อความที่พูดหรือเขียนหรือเรียบเรียงขึ้น ไม่ได้เล็งถึงวัสดุที่ใช้รองรับข้อความนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด ๆ ก็ตาม ข้อความนั้นอาจเป็นคำพูดที่ออกจากปาก ยังไม่ได้บันทึกลงบนวัสดุใด ๆ เลย ก็อยู่ในฐานะเป็น “คนฺถ” หรือ “ปกรณ” ได้แล้ว

สรุป –

ข้อความที่เรียบเรียงขึ้น นับว่าเป็น “คนฺถ” หรือ “ปกรณ

เอาข้อความนั้นไปบรรจุลงในวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง วัสดุนั้นเป็น “โปตฺถก” หรือ Book

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าฝากความรู้ไว้ใน Book

: แต่จงบรรทุกไว้ใน Mind

#บาลีวันละคำ (4,356)

16-5-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *