บาลีวันละคำ

มุขมรรค (บาลีวันละคำ 4,374)

มุขมรรค

หนึ่งในทางที่ทำให้ศีลขาด

อ่านว่า มุก-ขะ-มัก

ประกอบด้วยคำว่า มุข + มรรค

(๑) “มุข” 

บาลีอ่านว่า มุ-ขะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มุขฺ (ธาตุ = เปิด, ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: มุขฺ + = มุข แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะอันเขาเปิดเผย” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข

(2) มุ (ธาตุ = ผูก) + ปัจจัย

: มุ + = มุข แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องผูก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “มุข” (นปุงสกลิงค์) ไว้ดังนี้ –

(1) the mouth (ปาก)

(2) the face (หน้า)

(3) entrance, mouth [of a river] (ทางเข้า, ปาก [แม่น้ำ])

(4) cause, ways, means, reason, by way of (สาเหตุ, วิธี, หนทาง, เหตุผล, ทำนอง)

(5) front part, front, top (ด้านหน้า, ข้างหน้า, ยอด)

(6) the top of anything, front, head, best part (ยอด, ด้านหน้า, ข้างหน้า, ส่วนหัว, ส่วนที่ดีที่สุด)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มุข, มุข– : (คำนาม) หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).”

ในที่นี้ “มุข” หมายถึง ปาก (the mouth) 

(๒) “มรรค” 

บาลีเป็น “มคฺค” อ่านว่า มัก-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + (อะ) ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป” 

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

มคฺค” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่ 

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล 

มคฺค” ในบาลี เป็น “มารฺค” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

มารฺค : (คำนาม) ถนน, ทาง; a road, a path or way.”

ในที่นี้ “มคฺค” ใช้อิงสันสกฤตเป็น “มรรค” 

มุข + มคฺค = มุขมคฺค (มุ-ขะ-มัก-คะ) แปลว่า “ทางคือปาก” 

มุขมคฺค” ใช้ในภาษาไทยเป็น “มุขมรรค” (มุก-ขะ-มัก)

คำว่า “มุขมรรค” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

ขยายความ :

มุขมคฺค” หรือ “มุขมรรค” เป็น 1 ในมรรคทั้ง 3 ที่เป็นช่องทางให้กระทำการเสพเมถุนหรือการร่วมเพศ ดังคำแสดงองค์ประกอบของศีลข้อ 3 คือ อพ๎รัห๎มจริยา เวรมณี ดังนี้ –

…………..

อพ๎รัห๎มฯ มีองค์ 3 คือ –

1. ติณณัง  มัคคานัง  อัญญะตะระตา  วัตถุอันตนประพฤติล่วงในมรรคทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่ง

2. ตัสมิง  เสวะนะจิตตัง  จิตคิดจะเสพในมรรคทั้ง 3 นั้น

3. มัคเคนะ  มัคคะปะฏิปัตติ  เมื่อเสพทำมรรคใดมรรคหนึ่งให้ถึงกันในที่ชุ่มประมาณเท่าเมล็ดงา

…………..

มรรคทั้ง 3 ตามสิกขาบทนี้ท่านว่าคือ วัจมรรค ปัสสาวมรรค และ มุขมรรค –

1 วัจมรรค คือทวารหนัก

2 ปัสสาวมรรค คืออวัยวะเพศชายและอวัยวะเพศหญิง (แปลเข้าคู่กับวัจมรรคก็คือ “ทวารเบา”)

3 มุขมรรค คือปาก

ดังนั้น การเสพเมถุนหรือการร่วมเพศจึงไม่ได้หมายถึงฝ่ายชายกระทำกับอวัยวะเพศฝ่ายหญิง (ปัสสาวมรรค) เพียงทางเดียวดังที่มักเข้าใจกันเป็นสามัญ แม้กระทำทางทวารหนักหรือทางปากของชายหรือหญิง ก็นับว่าเป็นการเสพเมถุนหรือการร่วมเพศด้วยเช่นกัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

ปากเป็นอวัยวะที่น่าอัศจรรย์

: ใช้ต่ออายุก็ได้

: ใช้ตัดอายุก็ได้

#บาลีวันละคำ (4,374)

3-6-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *