บาลีวันละคำ

ปัสสาวมรรค (บาลีวันละคำ 4,373)

ปัสสาวมรรค

หนึ่งในทางที่ทำให้ศีลขาด

อ่านว่า ปัด-สา-วะ-มัก

ประกอบด้วยคำว่า ปัสสาว + มรรค

(๑) “ปัสสาว” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ปสฺสาว” อ่านว่า ปัด-สา-วะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ออก) + สุ (ธาตุ = ไหลไป) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน สฺ ระหว่าง กับ สุ ( + สฺ + สุ), แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อาว (สุ > โส > สาว)

: + สฺ + สุ = ปสฺสุ + = ปสฺสุณ > ปสฺสุ > ปสฺโส > ปสฺสาว แปลตามศัพท์ว่า “น้ำที่ไหลออก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปสฺสาว” ว่า urine (ปัสสาวะ)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่า “ปสฺสาว” แปลตามศัพท์ว่า “flowing out” (ไหลออก) ตรงกับที่นักไวยากรณ์ฝ่ายไทยแปลว่า “น้ำที่ไหลออก

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัสสาวะ : (คำนาม) เยี่ยว. (ป.; ส. ปฺรศฺราว).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “ปัสสาวะ” สันสกฤตเป็น “ปฺรศฺราว

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ไม่มีคำว่า “ปฺรศฺราว” แต่มีคำว่า “ปฺรสฺราว” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปฺรสฺราว : (คำนาม) ‘ปรัสราวะ,’ มคธว่า – ปัสสาวะ, น้ำเบาหรือมูตร์; การไหล; การหยด; urine; flowing; dropping or dripping.”

(๒) “มรรค” 

บาลีเป็น “มคฺค” อ่านว่า มัก-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + (อะ) ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป” 

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

มคฺค” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่ 

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล 

มคฺค” ในบาลี เป็น “มารฺค” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

มารฺค : (คำนาม) ถนน, ทาง; a road, a path or way.”

ในที่นี้ “มคฺค” ใช้อิงสันสกฤตเป็น “มรรค” 

ปสฺสาว + มคฺค = ปสฺสาวมคฺค (ปัด-สา-วะ-มัก-คะ) แปลว่า “ทางออกของปัสสาวะ” 

ปสฺสาวมคฺค” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปัสสาวมรรค” 

คำว่า “ปัสสาวมรรค” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

ขยายความ :

ปสฺสาวมคฺค” หรือ “ปัสสาวมรรค” เป็น 1 ในมรรคทั้ง 3 ที่เป็นช่องทางให้กระทำการเสพเมถุนหรือการร่วมเพศ ดังคำแสดงองค์ประกอบของศีลข้อ 3 คือ อพ๎รัห๎มจริยา เวรมณี ดังนี้ –

…………..

อพ๎รัห๎มฯ มีองค์ 3 คือ –

1. ติณณัง  มัคคานัง  อัญญะตะระตา  วัตถุอันตนประพฤติล่วงในมรรคทั้ง 3 มรรคใดมรรคหนึ่ง

2. ตัสมิง  เสวะนะจิตตัง  จิตคิดจะเสพในมรรคทั้ง 3 นั้น

3. มัคเคนะ  มัคคะปะฏิปัตติ  เมื่อเสพทำมรรคใดมรรคหนึ่งให้ถึงกันในที่ชุ่มประมาณเท่าเมล็ดงา

…………..

มรรคทั้ง 3 ตามสิกขาบทนี้ท่านว่าคือ วัจมรรค ปัสสาวมรรค และ มุขมรรค –

1 วัจมรรค คือทวารหนัก

2 ปัสสาวมรรค คืออวัยวะเพศชายและอวัยวะเพศหญิง (แปลเข้าคู่กับวัจมรรคก็คือ “ทวารเบา”)

3 มุขมรรค คือปาก

ดังนั้น การเสพเมถุนหรือการร่วมเพศจึงไม่ได้หมายถึงฝ่ายชายกระทำกับอวัยวะเพศฝ่ายหญิง (ปัสสาวมรรค) เพียงทางเดียวดังที่มักเข้าใจกันเป็นสามัญ แม้กระทำทางทวารหนักหรือทางปากของชายหรือหญิง ก็นับว่าเป็นการเสพเมถุนหรือการร่วมเพศด้วยเช่นกัน

…………..

แถมข้อสังเกต :

๑ “อุจจาระปัสสาวะ” เป็นคำที่มาคู่กัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “อุจจารมรรค” ไว้เป็นลูกคำของ “อุจจาร-” โดยบอกไว้ว่า 

อุจจารมรรค : (คำนาม) ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).”

แต่ไม่ได้เก็บคำว่า “ปัสสาวมรรค” ไว้เป็นลูกคำของ “ปัสสาว-” ทั้ง ๆ ที่ “ปัสสาวมรรค” เป็นคำจำพวกเดียวกับ “อุจจารมรรค” นั่นเอง

: อุจจารมรรค = ทวารหนัก

: ปัสสาวมรรค = ทวารเบา

“ทวารเบา” สำหรับชายคือ อวัยวะเพศชาย สำหรับหญิงคือ อวัยวะเพศหญิง

๒ เรามักรู้สึกกันว่า “อุจจาระปัสสาวะ” เป็นสิ่งน่ารังเกียจ ไม่น่าพูดถึง แต่ในทางธรรม อุจจาระปัสสาวะ นับเข้าในอาการ 32 ที่มนุษย์ทุกคนต้องมีโดยธรรมชาติ ท่านแนะให้หมั่นพิจารณาเป็นการเจริญสติได้เป็นอย่างดี

๓ “อุจจาระปัสสาวะ” เป็นภาษาสุภาพ แม้กระนั้นก็ตาม เดี๋ยวนี้ถ้าพูดว่า ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ ก็ชักจะฟังไม่ค่อยสุภาพ จึงเกิดคำพูดเพื่อหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น เช่น “ไปห้องน้ำ” หรือ “เข้าห้องน้ำ” ซึ่งครอบคลุมกิจหนักเบาน้อยใหญ่อันจะพึงทำในที่ไม่เปิดเผยได้ทั้งหมด

แต่คำไทยตรง ๆ คือ ขี้ – เยี่ยว ก็ยังสามารถใช้สื่อสารในสังคมใกล้ชิดได้ดีอยู่

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ข้าวดีแกงดี ส่งให้ชีวัดนอก

: ขี้เยี่ยวไม่ออก ส่งให้ชีวัดใน

คือสัจธรรมประจำโลก

ใครบรรลุได้ จะมีกำลังใจทำงาน

#บาลีวันละคำ (4,373)

2-6-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *