บาลีวันละคำ

ปัณณัตติวัชชะ (บาลีวันละคำ 1,010)

ปัณณัตติวัชชะ

ศัพท์เฉพาะทางสงฆ์

อ่านว่า ปัน-นัด-ติ-วัด-ชะ

ประกอบด้วย ปัณณัตติ + วัชชะ

(๑) “ปัณณัตติ

บาลีเป็น “ปณฺณตฺติ” (ปัน-นัด-ติ) รากศัพท์มาจาก (ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ญา (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ, ซ้อน , แปลง ญฺญ เป็น ณฺณ, แปลง ติ เป็น ตฺติ

: + + ญา = ปญฺญา > ปณฺณา > ปณฺณ + ติ > ตฺติ = ปณฺณตฺติ

อีกนัยหนึ่ง “ปณฺณตฺติ” คือ “ปญฺญตฺติ” นั่นเอง กล่าวคือ

: + + ญา = ปญฺญา > ปญฺญ + ติ > ตฺติ = ปญฺญตฺติ > ปณฺณตฺติ

ปณฺณตฺติ” แปลตามศัพท์ว่า “การให้รู้โดยทั่วถึง” “การปูลาด

คำแปลที่ว่า “การปูลาด” เทียบการปูเสื่อ ปูพรม หรือเอาที่นั่งที่นอนมาปูไว้ คือการกำหนดขึ้นว่า ใครจะทำอะไรก็ควรทำหรือต้องทำตามข้อกำหนดอย่างนี้ๆ เหมือนใครนั่งจะนอนก็ควรมานั่งนอนตรงที่ซึ่งปูลาดไว้ให้ ไม่ใช่ไปนั่งนอนเกะกะตามใจชอบ

ปณฺณตฺติ” หมายถึง การบัญญัติ, การแสดงให้เห็น, การบรรยาย, การกำหนด, การตั้งชื่อ, ความคิดหรือแนวความคิด, ความรู้สึก, ความเข้าใจ (making known, manifestation, description, designation, name, idea, notion, concept)

(๒) “วัชชะ

บาลีเป็น “วชฺช” (วัด-ชะ) รากศัพท์มาจาก วชฺช (ธาตุ = ละ, เว้น) + ปัจจัย

: วชฺชฺ + = วชฺช แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบัณฑิตพึงละหรือต้องละ” หมายถึง ข้อควรเว้น, ความผิด, บาป (that which should be avoided, a fault, sin)

ปณฺณตฺติ + วชฺช = ปณฺณตฺติวชฺช เขียนแบบไทยเป็น “ปัณณัตติวัชชะ” แปลตามศัพท์ว่า “ความผิดตามข้อบัญญัติ

ปัณณัตติวัชชะ” เป็นคำที่ใช้เกี่ยวกับพระสงฆ์ คู่กับคำว่า “โลกวัชชะ” (ดู “โลกวัชชะ” บาลีวันละคำ (367) 15-5-56)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของคำคู่นี้ไว้ดังนี้ :

(1) ปัณณัติวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ คือคนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสียหาย เป็นความผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดิน ใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่น เป็นต้น.

(2) โลกวัชชะ : อาบัติที่เป็นโทษทางโลก คือคนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น; บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียนถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น.

สรุป :

ปัณณัตติวัชชะ = กฎของสงฆ์

โลกวัชชะ = กฎของบ้านเมือง

: แม้จะเห็นว่าเหมาะสม แต่ถ้าสังคมเขาตำหนิ

: คนที่มีสติย่อมจะไม่ทำ

22-2-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย