บาลีวันละคำ

พระบรมราชินูปถัมภ์(บาลีวันละคำ 4,241)

พระบรมราชินูปถัมภ์

ทำไม “ราชินี” เป็น “ราชินู-”

อ่านว่า พฺระ-บอ-รม-มะ-รา-ชิ-นู-ปะ-ถำ

ประกอบด้วย พระ + บรม + ราชินี + อุปถัมภ์

(๑) “พระ” 

มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก “วร” (วะ-ระ) ในบาลีสันสกฤต แปลว่า “ผู้ประเสริฐ” แปลง เป็น ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “พระ” ไว้ 13 อย่าง ในที่นี้คำว่า “พระ” เป็นคำใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่องพระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์

(๒) “บรม

บาลีเป็น “ปรม” อ่านว่า ปะ-ระ-มะ รากศัพท์มาจากหลายทาง แสดงในที่นี้พอเป็นตัวอย่าง :

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย ลบที่สุดธาตุ และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ = ปรมร + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (ทั่วไป) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ

: + รมฺ = ปรม + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปร + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “รักษาความสูงสุดของตนไว้

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ที่ใช้ภาษาไทยว่า “บรม” (บอ-รม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น โง่บรม บรมขี้เกียจ”

(๓) “ราชินี” 

คำเดิมคือ “ราช” บาลีอ่านว่า รา-ชะ ถ้าเป็นปุงลิงค์เป็น “ราชา

ถ้าเป็นอิตถีลิงค์ลง “อินี” ปัจจัยเป็น “ราชินี

: ราช + อินี = ราชินี แปลตามศัพท์ว่า “หญิงที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน” 

ในภาษาไทย “ราชินี” หมายถึงพระมเหสี = ชายาของพระราชา

(๔) “อุปถัมภ์” 

บาลีเป็น “อุปตฺถมฺภ” อ่านว่า อุ-ปัด-ถำ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ถมฺภฺ (ธาตุ = ผูกติด) + ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุป + ตฺ + ถมฺภ

: อุป + ตฺ + ถมฺภ = อุปตฺถมฺภ + = อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปผูกติดไว้

(2) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺภ ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุป + ตฺ + ธรฺ), แปลง ที่ -(รฺ) เป็น , ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺภ > มฺภ)

: อุป + ตฺ + ธรฺ > ถรฺ = อุปตฺถร + รมฺภ = อุปตฺถรรมฺภ > อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปรองรับไว้

(3) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ถมฺภ (เสา), ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับ ถมฺภ (อุป + ตฺ + ถมฺภ)

: อุป + ตฺ + ถมฺภ = อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปเป็นเสา

อุปตฺถมฺภ” (ปุงลิงค์) หมายถึง –

(1) การอุปถัมภ์, การส่งเสริม, การค้ำจุน (a support, prop, stay)

(2) การปลดเปลื้อง, การปล่อยทุกข์ (relief, ease)

(3) การให้กำลังใจ (encouragement)

อุปตฺถมฺภ” ในภาษาไทยใช้ตามบาลีเป็น “อุปถัมภ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปถัมภ์ : (คำนาม) การคํ้าจุน, การคํ้าชู, การสนับสนุน, การเลี้ยงดู. (คำกริยา) คํ้าจุน, คํ้าชู, สนับสนุน, เลี้ยงดู. (ป. อุปตฺถมฺภ; ส. อุปสฺตมฺภ).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า บาลี “อุปตฺถมฺภ” สันสกฤตเป็น “อุปสฺตมฺภ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อุปสฺตมฺภ : (คำนาม) เครื่องบำรุงชีวิต, เช่น อาหาร, การหลับนอน, การระงับราคะ; support of life, as food, sleep, restraint of the passions.”

การประสมคำ :

(1) บรม + ราชินี = บรมราชินี แปลว่า “ราชินีผู้สูงสุด” เป็นคำที่ใช้ในภาษาไทยว่า “พระบรมราชินี” คือ พระ + บรมราชินี = พระบรมราชินี แปลว่า “พระราชินีผู้สูงสุด

(2) พระบรมราชินี + อุปถัมภ์ลบสระหน้า” คือ อี ที่ –นี (พระบรมราชินี > พระบรมราชิน), “ทีฆะสระหลัง” คือ อุ ที่ อุปภัมภ์ เป็น อู (อุปถัมภ์ > อูปถัมภ์

: พระบรมราชินี > พระบรมราชิน + อุปถัมภ์ = พระบรมราชินุปถัมภ์ > พระบรมราชินูปถัมภ์ แปลว่า “ความอุปถัมภ์ของพระบรมราชินี” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้เก็บคำว่า “พระบรมราชินูปถัมภ์” และ “บรมราชินูปถัมภ์” แต่มีคำว่า “ราชินูปถัมภ์” บอกไว้ดังนี้ – 

ราชินูปถัมภ์ : (คำนาม) ความอุปถัมภ์ของพระราชินี ใช้ว่า พระบรมราชินูปถัมภ์.”

ขยายความ :

บาลีวันละคำคำนี้ เสนอเพื่อตอบคำถามว่า ราชินี + อุปถัมภ์ เป็น “ราชินูปถัมภ์” ได้อย่างไร ตอบว่า เป็นได้ตามสูตร “ลบสระหน้า ทีฆะสระหลัง” ประการหนึ่ง 

และถือโอกาสศึกษาหาความรู้วิธีเก็บคำของพจนานุกรมฯ ไปด้วยอีกประการหนึ่ง

ได้ความรู้ว่า พจนานุกรมฯ –

ไม่ได้เก็บคำว่า “พระบรมราชินูปถัมภ์” 

ไม่ได้เก็บคำว่า “บรมราชินูปถัมภ์” 

แต่เก็บคำว่า “ราชินูปถัมภ์” 

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความอุปถัมภ์เป็นพระมหากรุณา

: การบำเพ็ญกรณียกิจให้เต็มสติปัญญาเป็นหน้าที่ของเราทุกคน

#บาลีวันละคำ (4,241)

22-1-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *