บาลีวันละคำ

ราชูปถัมภ์ (บาลีวันละคำ 4,279)

ราชูปถัมภ์

ต้นแบบที่ทำให้สังคมน่าอยู่

อ่านว่า รา-ชู-ปะ-ถำ

ประกอบด้วยคำว่า ราช + อุปถัมภ์

(๑) “ราช” 

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย

: ราชฺ + = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา 

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความ “ราช” หรือ “ราชา” ว่าคือ “ผู้ที่ทำให้ประชาชนร้องออกมาว่า พอใจ พอใจ

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คำนี้มักใช้ประกอบกับคำอื่น, ถ้าคำเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๒) “อุปถัมภ์

บาลีเป็น “อุปตฺถมฺภ” อ่านว่า อุ-ปัด-ถำ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ถมฺภฺ (ธาตุ = ผูกติด) + (อะ) ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุป + ตฺ + ถมฺภ

: อุป + ตฺ + ถมฺภ = อุปตฺถมฺภ + = อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปผูกติดไว้

(2) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺภ ปัจจัย, ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (อุป + ตฺ + ธรฺ), แปลง ที่ -(รฺ) เป็น , ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺภ > มฺภ)

: อุป + ตฺ + ธรฺ > ถรฺ = อุปตฺถร + รมฺภ = อุปตฺถรรมฺภ > อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปรองรับไว้

(3) อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้, มั่น) + ถมฺภ (เสา), ซ้อน ตฺ ระหว่างอุปสรรคกับ ถมฺภ (อุป + ตฺ + ถมฺภ)

: อุป + ตฺ + ถมฺภ = อุปตฺถมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “การเข้าไปเป็นเสา

อุปตฺถมฺภ” (ปุงลิงค์) หมายถึง –

(1) การอุปถัมภ์, การส่งเสริม, การค้ำจุน (a support, prop, stay)

(2) การปลดเปลื้อง, การปล่อยทุกข์ (relief, ease)

(3) การให้กำลังใจ (encouragement)

บาลี “อุปตฺถมฺภ” สันสกฤตเป็น “อุปสฺตมฺภ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อุปสฺตมฺภ : (คำนาม) เครื่องบำรุงชีวิต, เช่น อาหาร, การหลับนอน, การระงับราคะ; support of life, as food, sleep, restraint of the passions.”

อุปตฺถมฺภ” ในภาษาไทยตัดตัวสะกดออก ใช้เป็น “อุปถัมภ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อุปถัมภ์ : (คำนาม) การคํ้าจุน, การคํ้าชู, การสนับสนุน, การเลี้ยงดู. (คำกริยา) คํ้าจุน, คํ้าชู, สนับสนุน, เลี้ยงดู. (ป. อุปตฺถมฺภ; ส. อุปสฺตมฺภ).”

ราช + อุปถัมภ์ ใช้สูตร “ทีฆะสระหลัง” = ทีฆะสระที่พยางค์แรกของคำหลัง คือ อุ เป็น อู 

: ราช + อุปถัมภ์ = ราชุปถัมภ์ > ราชูปถัมภ์ 

อีกสูตรหนึ่ง “แผลง อุ เป็น โอ

: ราช + อุปถัมภ์ = ราชุปถัมภ์ > ราโชปถัมภ์ 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราชูปถัมภ์, ราโชปถัมภ์ : (คำนาม)  ความอุปถัมภ์ของพระราชา ใช้ว่า พระบรมราชูปถัมภ์. (ป.).”

ขยายความ :

ถามว่า ที่เรียกว่า “ราชูปถัมภ์” คือใครทำอะไร?

ตอบว่า ตามระบบเดิม คือพระเจ้าแผ่นดินทรงสนับสนุนหรือช่วยเหลือกิจต่าง ๆ ที่ประชาราษฎรทำกันขึ้น เพราะตามระบบเดิมพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารบ้านเมือง ประชาราษฎรทำอะไรย่อมอยู่ในความรู้เห็นของพระเจ้าแผ่นดินทั้งสิ้น เมื่อทรงเห็นว่ากิจที่ประชาราษฎรทำกันนั้นเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองหรือต่อส่วนรวม ก็จะทรงสนับสนุนคือช่วยเหลือด้วยประการต่าง ๆ เพื่อให้กิจนั้นดำเนินไปได้ด้วยดี ส่งผลดีต่อบ้านเมืองหรือส่วนรวมสมตามความมุ่งหมาย เรียกกิจที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสนับสนุนหรือช่วยเหลือนั้นว่า อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปัจจุบันนี้ เราเปลี่ยนระบบใหม่ มีคณะบุคคลที่เรียกว่า “รัฐบาล” เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการบริหารบ้านเมือง ถ้าว่ากันตามหลัก เมื่อประชาชนทำกิจที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองหรือต่อส่วนรวม รัฐบาลควรจะเป็นผู้สนับสนุนและช่วยเหลือแบบเดียวกับที่พระเจ้าแผ่นดินได้เคยทรงกระทำมา เพราะรัฐบาลได้อำนาจในการบริหารบ้านเมืองไปจากพระเจ้าแผ่นดิน จึงควรต้องทำหน้าที่อันพระเจ้าแผ่นดินทรงเคยทำมานั้นด้วย

ปัจจุบันนี้ กิจต่าง ๆ ที่ประชาราษฎรทำกันขึ้นและพระเจ้าแผ่นดินทรงสนับสนุนหรือช่วยเหลือ ที่เรียกว่าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป

กิจต่าง ๆ ที่ประชาชนทำกันขึ้นและรัฐบาลเข้าไปสนับสนุนหรือช่วยเหลือ ก็ควรจะปรากฏให้สังคมเห็นไม่น้อยไปกว่ากัน

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สังคมอยู่ยากขึ้นทุกวัน

: เพราะการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีน้อยลงไปทุกที

#บาลีวันละคำ (4,279)

29-2-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *