บาลีวันละคำ

บวร (บาลีวันละคำ 4,315)

บวร

คำเดียวแตกไปได้หลายคำ

บวร” อ่านว่า บอ-วอน บาลีเป็น “ปวร” อ่านว่า ปะ-วะ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + วรฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: + วรฺ = ปวรฺ + = ปวร แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ควรปรารถนาโดยประการทั้งปวง

(2) + วร 

(ก) “” อ่านว่า ปะ (ไม่ใช่ ปอ) เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก (forth, forward, out) 

(ข) “วร” บาลีอ่านว่า วะ-ระ รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาต = ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: วรฺ + = วร แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันบุคคลปรารถนา” เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า ประเสริฐ, วิเศษ, เลิศ, อริยะ (excellent, splendid, best, noble) เป็นคำนาม (ปุงลิงค์; นปุงสกลิงค์) แปลว่า ความปรารถนา, พร, ความกรุณา (wish, boon, favour)

: + วร = ปวร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ประเสริฐโดยเป็นประธาน” 

ปวร” ในบาลีใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง บวร, ประเสริฐสุด, เด่นหรือมีชื่อเสียงพิเศษ (most excellent, noble, distinguished)

บาลี “ปวร” ใช้ในภาษาไทยเป็น “บวร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

บวร, บวร– : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นำหน้าคำนามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น พระบวรวงศ์ พระบวรราชวัง คู่กับ บรม ซึ่งใช้แก่วังหลวง เช่น พระบรมวงศ์ พระบรมมหาราชวัง. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).”

ขยายความ :

ครั้งหนึ่ง ในวงการเผยแผ่คุณธรรมสู่สังคม มีผู้ประมวล “หน่วย” ในสังคมที่ควรจะมีบทบาทเด่นในการทำหน้าที่ สรุปว่ามี 3 หน่วย คือ บ้าน วัด โรงเรียน 

คำย่อของบ้าน คือ “” 

คำย่อของวัด คือ “” 

คำย่อของโรงเรียน คือ “” 

เอาคำย่อ + + มาร่วมกันเป็น “บวร” มีความหมายในทางดีงามสร้างสรรค์ ตรงตามคำในบาลีว่า “ปวร” และคำว่า “บวร” ในภาษาไทย

เพื่อให้ได้ความรู้ภาษาบาลีเพิ่มขึ้น ลองฝึกเอาคำว่า บ้าน วัด โรงเรียน มาแปลงเป็นคำบาลี หรือใช้คำที่ผู้เขียนบาลีวันละคำมักถามอยู่เนือง ๆ ก็ว่า บ้าน วัด โรงเรียน บาลีว่าอย่างไร ก็จะมีคำตอบดังนี้ –

(1) “บ้าน” 

ถ้าหมายถึงบ้านเป็นหลัง ๆ ที่แต่ละคนพักอาศัยอยู่ หรือที่คำอังกฤษเรียกว่า house มีคำบาลีใช้หลายคำ เช่น “เคห” (เค-หะ) “คห” (คะ-หะ) “ฆร” (คะ-ระ) “นิเวสน” (นิ-เว-สะ-นะ) “นิเกตน” (นิ-เก-ตะ-นะ) เป็นต้น

ถ้าหมายถึงบ้านหลาย ๆ หลังรวมกันเป็นหมู่บ้าน ที่คำอังกฤษเรียกว่า village บาลีใช้ว่า “คาม” (คา-มะ)

พูดถึงบ้านเป็นหลัง ๆ ใช้คำว่า “คาม” ไม่ได้

พูดถึงหมู่บ้าน ใช้คำว่า “เคห” ไม่ได้

นี่คือลีลาของบาลี ไม่เรียนไม่รู้

(2) “วัด” 

คำอังกฤษว่า monastery บาลีใช้คำว่า “อาราม” (อา-รา-มะ) “อาวาส” (อา-วา-สะ) “วิหาร” (วิ-หา-ระ) “อสฺสม” (อัด-สะ-มะ ตรงกับคำว่า อาศรม) “ยตินิวาส” (ยะ-ติ-นิ-วา-สะ แปลว่า “ที่อยู่ของพระสงฆ์”)

(3) “โรงเรียน” 

คำอังกฤษว่า school บาลีใช้คำว่า “ปาฐสาลา” (ปา-ถะ-สา-ลา) “วิชฺชายตน” (วิด-ชา-ยะ-ตะ-นะ แปลว่า “สถานที่ถ่ายทอดความรู้”)

ที่อ้างคำอังกฤษไว้ด้วย ก็เพื่อจะบอกว่าวิธีที่ผู้เขียนบาลีวันละคำใช้อยู่เป็นประจำเมื่อจะแปลคำไทยเป็นบาลี โดยเฉพาะในกรณีที่นึกศัพท์ไม่ออก ก็คือ ดูว่าคำไทยคำนั้นคำอังกฤษว่าอย่างไร แล้วเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ก็จะได้คำบาลีที่ต้องการ

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ที่ผู้เขียนบาลีวันละคำใช้อยู่ คือ ENGLISH-PALI DICTIONARY ของ A.P. BUDDHATTA MAHTHERA จัดพิมพ์โดย THE PALI TEXT SOCIETY 

นอกจากฉบับพิมพ์แล้ว ยังสามารถอ่านได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้

…………..

http://dictionary.tamilcube.com/pali-dictionary.aspx

…………..

คำว่า บ้าน วัด โรงเรียน ที่เอาคำย่อมารวมกันเป็น “บวร” นี้ คนรุ่นใหม่คงไม่รู้จักกันแล้ว 

การที่ไม่รู้จักนั้นเป็นผลมาจากการไม่นิยมศึกษาเรียนรู้เรื่องเดิมที่เคยมีเคยเกิดขึ้นในสังคมของตน

การที่ไม่นิยมศึกษาเรียนรู้เรื่องเดิมก็เพราะพากันคิดว่า เรื่องข้างหน้าที่น่าเรียนรู้มีอยู่มากมาย ทำไมจะต้องไปเสียเวลาเรียนรู้เรื่องข้างหลัง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่ามุ่งแต่ทะยานไปข้างหน้า

: จนลืมคุณค่าของข้างหลัง

#บาลีวันละคำ (4,315)

5-4-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *