บาลีวันละคำ

มิลักขู (บาลีวันละคำ 4,316)

มิลักขู

เรียนรู้ไว้ประดับปัญญา

มิลักขู” เขียนแบบบาลีเป็น “มิลกฺขู” อ่านว่า มิ-ลัก-ขู รูปคำแรกของศัพท์นี้เป็น “มิลกฺข” อ่านว่า มิ-ลัก-ขะ รากศัพท์มาจาก –

(1) มิลกฺขฺ (ธาตุ = พูดไม่ชัดเจน) (อะ) ปัจจัย

: มิลกฺขฺ + = มิลกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พูดวาจาไม่ชัดเจน” 

(2) มล (มลทิน, สิ่งสกปรก) + อกฺขิ (ดวงตา) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อะ ที่ -(ล) เป็น อิ (มล > มิล), ลบสระที่สุดศัพท์ คือ อิ ที่ อกฺขิ (อกฺขิ > อกฺข)

: มล + อกฺขิ = มลกฺขิ + = มลกฺขิณ > มิลกฺขิณ > มิลกฺขณ > มิลกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีมลทินเช่นราคะเป็นต้นในดวงตา” 

มิลกฺข” ลง อุ ปัจจัย ได้รูปเป็น “มิลกฺขุ” 

เป็นอันว่าศัพท์นี้มี 2 รูป คือ “มิลกฺข” และ “มิลกฺขุ

มิลกฺขุ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) พหุวจนะ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “มิลกฺขู

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “มิลกฺข/มิลกฺขุ” ว่า ชาวป่าชาวเขา, คนป่าเถื่อน, คนร้าย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “มิลกฺข” ว่า a barbarian, foreigner, outcaste, Hillman (คนป่า, คนต่างชาติ, คนจัณฑาล, คนภูเขา) 

และแปล “มิลกฺขุ” ว่า a non-Aryan (ผู้ไม่ใช่ชาวอารยัน) 

บาลี “มิลกฺข” สันสกฤตเป็น “เมฺลจฺฉ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

เมฺลจฺฉ : (คำนาม) วิเทศิน, ผู้เร่อร่าป่าเถื่อน; อันยเทศีย์, ชาวต่างประเทศ; ผู้ทำบาปหรือมีนิสสัยหยาบ, นักโทษ; ภาษาหรือถ้อยคำอันไม่ชัด; a barbarian; a foreigner; a sinner, a criminal.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้เป็น “มิลักขะ, มิลักขู” บอกไว้ว่า – 

มิลักขะ, มิลักขู : (คำนาม) คนป่าเถื่อน. (ป.).”

ขยายความ :

มิลักขะ” หรือ “มิลักขู” คือคนพวกไหน ควรหาความรู้ต่อไป

หนังสือ “พุทธประวัติ” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี เริ่มต้นปริเฉทที่ 1 ชมพูทวีปและประชาชน มีข้อความขึ้นต้นเอ่ยถึง “มิลักขะ” ไว้ดังนี้ –

…………..

           ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์มา ชมพูทวีปคือแผ่นดินที่เรียกในทุกวันนี้ว่าอินเดีย อันตั้งอยู่ในทิศพายัพแห่งประเทศสยามของเรานี้ ชนชาติอริยกะได้ตั้งมาแล้ว, ชนจำพวกนี้ไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม, ยกลงมาจากแผ่นดินข้างเหนือ ข้ามภูเขาหิมาลัยมา รุกไล่พวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยเลื่อนลงมาข้างใต้ทุกที แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปนั้น.

           พวกอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียมและมีฤทธิ์มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม จึงสามารถตั้งบ้านเมืองและปกครองได้ดีกว่า.

…………..

หนังสือ “พุทธประวัติปริเฉทที่ 1” พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) เรียบเรียง ตอนว่าด้วยประชาชน มีข้อความกล่าวถึงพวกมิลักขะ ตอนหนึ่งดังนี้ –

…………..

        ต่อมาจากพวกนั้น มีชนอีกพวกหนึ่งซึ่งมีความเจริญยิ่งกว่าพวกอื่นในแถบนั้น เรียกว่าพวกดราวิเดียน [Dravidians] หรือที่เรียกกันว่าพวกมิลักขะ มีสำนักอยู่ ณ ใจกลางแห่งทวีปอาเซียแห่งใดแห่งหนึ่งมาก่อน และได้ยกเข้ามาสูอินเดียทางหุบเขาแห่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือ. พวกนี้ได้เข้าครอบครองอินเดียโดยทั่วไป ตั้งแต่เหนือตลอดใต้ เพราะมีกำลังและความสามารถมากกว่าพวกก่อน คือมีความรู้ในทางกสิกรรม รู้จักใช้โลหะทำเป็นอาวุธและเครื่องประดับกาย ตลอดถึงทำการแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นทำนองการค้า ได้สร้างที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้าน หรือนิคมหย่อม ๆ และมีที่ทำการเพาะปลูกถาวร ไม่เร่ร่อนกระจัดกระจายกันอยู่ตามประสาชาวป่าดอยเหมือนพวกก่อน.

        ถ้าข้อสันนิษฐานเป็นจริงว่า การกสิกรรม การชลประทานและอื่น ๆ ในถิ่นโมเฮนโจดะโรในแคว้นสินทะ [Mohenjodaro in sinda] เป็นกิจการที่สืบสายรับทอดมาจากวัฒนธรรมของพวกดราวิเดียนในครั้งกระโน้น กิจการในปัจจุบันของถิ่นนี้เองจะชี้ให้เห็นชัดว่าวัฒนธรรมของพวกดราวิเดียนโบราณมีระดับสูงไม่น้อย. ตามประวัติศาสตร์ได้แสดงยืนยันว่า พวกอารยันหรืออริยกะในภายหลังได้ยินยอมรับเอาวัฒนธรรมบางอย่างของพวกนี้ไว้ด้วย เช่นพิธีการบูชา และลัทธิถือที่พึ่งบางอย่าง เป็นการแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมที่ตนได้ถ่ายให้พวกดราวิเดียน.

        พวกดราวิเดียนที่ถูกพวกอริยกะรุกรานให้ร่นถอยลงมาทางใต้ และถูกขนานนามว่าพวกทัสยุ [หรือทาส] นั้น ยังมีเชื้อสายสืบกันมาจนถึงปัจจุบัน คือชนชาติที่พูดภาษาทมิฬ, เตลุกู, มะลาบารฺ, และกะนารีซี (Tamil, Telugu Malabar, Kanarese) แห่งภาคมัดราส, และกล่าวโดยเฉพาะได้แก่ชาวชาติทมิฬในเกาะลังกา ซึ่งเป็นชนชาติที่มีอายุประมาณไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ปี.

…………..

หมายเหตุ: สะกดการันต์และถ้อยคำบางแห่งอาจไม่ตรงตามต้นฉบับ โปรดตรวจสอบก่อนนำไปอ้างอิง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ชนะใจตนเองได้ ควรเรียกว่าอริยะ

: ใจตัวเองยังไม่ชนะ ควรเรียกว่ามิลักขู

#บาลีวันละคำ (4,316)

6-4-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *