บาลีวันละคำ

สายัณหสวัสดิ์ (บาลีวันละคำ 4,428)

สายัณหสวัสดิ์

บางคนอยู่ได้ไม่ถึงเย็น

อ่านตามหลักภาษาว่า สา-ยัน-หะ-สะ-หฺวัด

อ่านตามสะดวกปากว่า สา-ยัน-สะ-หฺวัด

…………..

คำในชุดนี้มี 3 คำ คือ –

อรุณสวัสดิ์” เทียบคำอังกฤษว่า good morning

สายัณหสวัสดิ์” เทียบคำอังกฤษว่า good evening

ราตรีสวัสดิ์” เทียบคำอังกฤษว่า good night

…………..

สายัณหสวัสดิ์” ประกอบด้วยคำว่า สายัณห + สวัสดิ์

(๑) “สายัณห

เขียนแบบบาลีเป็น “สายณฺห” อ่านว่า สา-ยัน-หะ ประกอบด้วยคำว่า สาย + อห 

(ก) “สาย” อ่านว่า สา-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สา (ธาตุ = จบ, สิ้น) + ปัจจัย

: สา + = สาย แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่กลางวันสิ้นสุด” 

(2) สา (แทนศัพท์ “สายนฺต” = ทำวันให้สิ้นสุด) + อย (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย

: สา + อยฺ = สายฺ + = สาย แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ทำกลางวันให้สิ้นไป” 

สาย” (ปุงลิงค์) หมายถึง เวลาเย็น, เวลากลางคืน (evening, at night)

(ข) “อห” อ่านว่า อะ-หะ รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต = ไม่, ไม่ใช่) + หา (ธาตุ = ละ, ทิ้ง) + (อะ) ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือ อา ที่ หา (หา > ), แปลง เป็น  

: + หา = นหา > นห + = นห > อห (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “เวลาที่ไม่ละการย้อนกลับมา” หมายถึง วัน (a day)

สาย + อห แปลง อห เป็น อณฺห

: สาย + อห = สายห > สายณฺห (สา-ยัน-หะ) แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเย็นแห่งวัน” หมายถึง เวลาเย็น (evening)

บาลี “สายณฺห” สันสกฤตเป็น “สายาหฺน” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สายาหฺน : (คำนาม) สายันกาล evening, eventide.”

ในภาษาไทยใช้เป็น “สายัณห์” และ “สายาห์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

สายัณห์, สายาห์ : (คำนาม) เวลาเย็น. (ป. สายณฺห; ส. สายาหฺน).”

(๒) “สวัสดิ์” 

บาลีเป็น “สุวตฺถิ” อ่านว่า สุ-วัด-ถิ รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย) + อตฺถิ ( = มี, เป็น)

(1) “อตฺถิ” เป็นคำกริยา รากศัพท์มาจาก อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) ลบที่สุดธาตุ + ติ (วิภัตติอาขยาต ปฐมบุรุษ เอกพจน์) แปลง ติ เป็น ตฺถิ

: อสฺ > + ติ > ตฺถิ : + ตฺถิ = อตฺถิ แปลว่า ย่อมมี, ย่อมเป็น 

(2) สุ + อตฺถิ :

สุ แผลงเป็น สุว + อตฺถิ หรือ สุ + (คำประเภท “อาคม”) + อตฺถิ : สุ + + อตฺถิ = สุวตฺถิ (สุ-วัด-ถิ) 

(ลองออกเสียง สุอัตถิ เร็วๆ จะได้เสียง สุ-วัด-ถิ หรือ สฺวัด-ถิ)

สุวตฺถิ” สันสกฤตเป็น “สฺวสฺติ” เราเขียนอิงสันสกฤต จึงเป็น “สวัสดิ” 

สุอตฺถิ = สุวตฺถิ > สฺวสฺติ > สวัสดิ แปลตามศัพท์ว่า “มีดี” หรือ “เป็นดี” หมายถึง ความสวัสดี, ความรุ่งเรือง, ความปลอดภัย; การอยู่ดี, การได้รับพร (well-being, prosperity, safety; well-being, blessing)

หมายเหตุ :

สุ + อตฺถิ ในบาลี ได้รูปเป็นอีกศัพท์หนึ่ง คือ “โสตฺถิ” กระบวนการทางไวยากรณ์คือ แผลง อุ ที่ สุ เป็น โอ 

: สุ > โส + อตฺถิ = โสตฺถิ มีความหมายอย่างเดียวกับ สุวตฺถิ

สุวตฺถิ” สันสกฤตเป็น “สฺวสฺติ” เราเขียนอิงสันสกฤต จึงเป็น “สวัสดิ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) “สวัสดิ์” “สวัสดี

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สวัสดิ-, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ : (คำนาม) ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง; ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มีความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดีมีชัย. (ส. สฺวสฺติ; ป. โสตฺถิ).”

สายัณห + สวัสดิ์ = สายัณหสวัสดิ์ 

สายัณหสวัสดิ์” เป็นคำที่บัญญัติขึ้นเทียบคำอังกฤษว่า good evening แปลว่า เวลาเย็นดี นิยมใช้เป็นคำทักทายหรือลากันตอนเย็นตามธรรมเนียมชาติตะวันตก

ขยายความ :

สายัณหสวัสดิ์” เป็นคำทักทายตอนเย็น คนไทยนิยมใช้กันอยู่บ้าง แต่มักเป็นภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด

คำว่า “สายัณหสวัสดิ์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี มีคำว่า good evening แปลเป็นบาลีว่า –

susañjhā สุสญฺฌา (สุ-สัน-ชา) = ยามเย็นดี

แถม :

สุสญฺฌา” คือ สุ + สญฺฌา 

สญฺฌา” อ่านว่า สัน-ชา ศัพท์นี้มีอีกรูปหนึ่งคือ “สชฺฌา” อ่านว่า สัด-ชา แปลตามศัพท์ว่า “เวลาเป็นที่เพ่งมองด้วยดี” คือต้องเพ่งมองจึงจะมองเห็นอะไรได้ หมายถึง เวลาเย็น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “สัญฌา” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า –

สัญฌา : (คำนาม) เวลาเย็น. (ป.; ส. สนฺธฺยา).”

สญฺฌา” และ “สชฺฌา” เราไม่คุ้น แต่ถ้าบอกว่า บาลี “สญฺฌา” และ “สชฺฌา” สันสกฤตเป็น “สนฺธฺยา” เราคงพอนึกออกว่า คำนี้เองที่เราเอามาใช้ในภาษาไทยว่า “สนธยา” (สน-ทะ-ยา)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สนธยา : (คำนาม) เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ, บางทีใช้ว่า ย่ำสนธยา; ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก. (สันสกฤต. สนธฺยา; บาลี. สนฺธิ ว่า ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างเช้ากับบ่าย กลางวันกับกลางคืนและหัวค่ำกับดึก).”

หมายเหตุ : คำว่า สนธฺยา ที่อ้างในวงเล็บ พจนานุกรมฯ พิมพ์ไม่มีจุดใต้ น่าจะปรู๊ฟผิดพลาด คำนี้สันสกฤตสะกดเป็น “สนฺธฺยา” (มีจุดใต้ )

…………..

ดูก่อนภราดา!

ยามเช้าเหมือนวัยเด็ก

ยามเย็นเหมือนวัยชรา

: เห็นคนแก่อย่าลบหลู่

: หลายคนไม่ได้อยู่จนถึงแก่

#บาลีวันละคำ (4,428)

27-7-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *