บาลีวันละคำ

อนันตนาคราช (บาลีวันละคำ 4,435)

อนันตนาคราช

1 ในเรือพระที่นั่ง

…………..

เรือพระที่นั่งในเรือพระราชพิธีมี 4 ลำ คือ

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

…………..

อนันตนาคราช” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ-นาก-คะ-ราด

ประกอบด้วยคำว่า อนันต + นาคราช

(๑) “อนันต” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อนนฺต” อ่านว่า อะ-นัน-ตะ ประสมขึ้นจากคำว่า (ไม่, ไม่ใช่) + อนฺต 

(ก) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not) 

(ข) “อนฺต” (อัน-ตะ) รากศัพท์มาจาก อมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + (ตะ) ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (อมฺ > อนฺ)

: อมฺ + = อมฺต > อนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ถึงที่สุด

อนฺต” ตามคำแปลนี้หมายถึง :

(1) ที่สุด, สำเร็จ, ที่หมาย (end, finish, goal)

(2) เขต, ชาย, ริม (limit, border, edge)

(3) ข้าง (side)

(4) ด้านตรงกันข้าม, ตรงกันข้าม, ตำแหน่งตรงกัน (opposite side, opposite, counterpart)

+ อนฺต แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อนฺต” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ – จึงต้องแปลง เป็น อน

: > อน + อนฺต = อนนฺต แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีที่สุด” หมายถึง หาที่สุดมิได้, ไม่จบสิ้น, ไม่มีขอบเขต (endless, infinite, boundless)

ตามศัพท์ “อนนฺต” ไม่ได้แปลว่า “มากล้น” แต่สิ่งใด “ไม่มีที่สุด” สิ่งนั้นย่อมส่อนัยว่า มากมาย มากเหลือล้นนั่นเอง

บาลี “อนนฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อนันต-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “อนันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนันต-, อนันต์ : (คำวิเศษณ์) ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).”

(๒) “นาคราช” แยกศัพท์เป็น นาค + ราช 

(ก) “นาค” บาลีอ่านว่า นา-คะ ใช้ในภาษาไทยคำเดียว อ่านว่า นาก ถ้ามีคำอื่นมาสมาสท้าย อ่านว่า นา-คะ- หรือ นาก-คะ- 

คำว่า “นาค” ในบาลีมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้:

(1) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + คมฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ), ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา 

: + คมฺ = นคมฺ + กฺวิ = นคมกฺวิ > นคม > นค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่ไม่ได้ไปด้วยเท้า” หมายถึง งูใหญ่มีหงอน ที่เรามักเรียกกันว่า “พญานาค” (a serpent, a serpentlike water-god) ภาษาบาลีว่า นาคราชา (นา-คะ-รา-ชา) เป็นความหมายที่เราคุ้นกันมากที่สุด

หมายเหตุ : ความหมายนี้ผู้เขียนบาลีวันละคำสันนิษฐานเอง เนื่องจากยังไม่พบตำราที่ตั้งวิเคราะห์ศัพท์โดยตรง นักเรียนบาลีท่านใดทราบบทตั้งวิเคราะห์ความหมายนี้ ขอได้โปรดช่วยแก้ไขให้ด้วย

(2) รากศัพท์มาจาก นค (ภูเขา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ค) เป็น อา (นค > นาค)

: นค + = นคณ > นค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่มองเห็นเป็นเหมือนภูเขา” = ช้าง (an elephant) หมายถึงช้างที่ฝึกหัดเป็นอย่างดีแล้ว เช่นช้างศึก 

(3) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + คมฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบที่สุดธาตุ (คมฺ > ), ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา 

: + คมฺ = นคมฺ + กฺวิ = นคมกฺวิ > นคม > นค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่ไปไหนไม่ได้” = ไม้กากะทิง (ใบและผลคล้ายสารภี แต่ใบขึ้นสันมากและผลกลมกว่า เปลือกเมล็ดแข็ง ใช้ทําลูกฉลากหรือกระบวยของเล่น, สารภีทะเล หรือ กระทึง ก็เรียก) (The Nāga-tree, iron-wood tree, fairy tree) 

(4) รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + อคฺค (ผู้เลิศ), ทีฆะ อะ ที่ -(คฺค) เป็น อา (อคฺค > อาคฺค), ลบ ออกตัวหนึ่ง

: + อคฺค = นคฺค > นาคฺค > นาค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่มีผู้ที่เลิศกว่า” = ผู้เลิศ, พระอรหันต์ (the Buddha, Arahants; hero or saint) 

(5) รากศัพท์มาจาก –

(ก) (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + อาคุ (บาป) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระหน้า คือ อุ ที่ (อา)-คุ (อาคุ > อาค

: + อาคุ = นาคุ > นาค + = นาค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่ทำบาปกรรม

(ข) (คำนิบาต =ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี) + อฆ (บาป), ทีฆะ อะ ที่ -(ฆ) เป็น อา (อฆ > อาฆ), แปลง เป็น  

: + อฆ = นฆ > นาฆ > นาค แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไม่มีบาป

นาค” ตามรากศัพท์ในข้อ (5) นี้ = ผู้มุ่งจะบวช (one who is faultless; an applicant [or candidate] for ordination; ordinand) 

การเรียกคนที่ไปอยู่วัดเตรียมตัวจะบวชหรือกําลังจะบวชว่า “นาค” มีมูลเหตุมาจากในเวลาทำพิธีบวช จะต้องระบุชื่อผู้บวชเป็นภาษาบาลี (ที่เรียกว่า “ฉายา” – ดูคำนี้) ในยุคแรก ๆ มักสมมุติชื่อผู้บวชว่า “นาโค” คือ “นาค” ทุกคน เพราะเป็นชื่อพื้น ๆ เทียบกับชื่อไทยสมัยเก่าก็เหมือนชื่อนายดำ นายแดง (ปัจจุบันตั้งฉายาต่างกันออกไปเหมือนตั้งชื่อ)

คำว่า “นาโค = นาค” จึงเรียกกันติดปาก ใครจะบวชก็เรียกกันว่า “นาค” มาจนทุกวันนี้

ในที่นี้ “นาค” หมายถึง งูใหญ่ ตามข้อ (1) 

นาค” ตามความหมายดังว่านี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาค ๑, นาค– : (คำนาม) งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยาย. (ป., ส.).”

บาลี “นาค” สันสกฤตก็เป็น “นาค

ขอยกคำว่า “นาค” จากสํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มาเสนอไว้ในที่นี้เพื่อประดับปัญญา ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นาค : (คำนาม) นาคหรืออมรเทพ, อันมีพักตร์เปนมนุษย์, มีพาลหัสต์หรือหางเปนงู, และมีกรรฐ์หรือคอเปนโคลุเพร นาค; นรเทพ จำพวกนี้ท่านว่าเกิดจาก กทรุ, ผู้วธูของกาศยป, เพื่อชไนบูรเมืองบาดาลหรือแดนนาคใต้ชนโลก; งูทั่วไป; ผณิน, งูอันเลิกหรือแผ่พังพาน; หัสดิน; กรูรบุรุษ, บุรุษผู้โหดร้ายหรือทารุณ; พลาหก; หมุด-ขอ-หรือที่แขวนของที่ฝาผนัง; ลมหาวเรอ; หมาก; ดีบุก; ตะกั่ว; ตะกั่วสีแดง; นักษัตรกาลอันหนึ่งซึ่งเรียกว่า ‘กรณาสก์;’ a Nāga or demigod so called, having a human face, with the tail of a serpent, and the expanded neck of the Coluber Nāga; the race of these demigods is said to have sprung from Kadru, the wife of Kaśyapa, in order to people Pātāla or the regions below the earth; a serpent in general; a hooded snake, a cobra da capello; an elephant; a cruel person, a tyrannical person, a cloud; a pin or nail projecting from the wall to hank anything upon; one of the airs of the body, that which is expelled by belching; betel or pān; tin; lead, red lead; one of the astronomical periods called Karaṇās; – (คำวิเศษณ์) วิศิษฏ์, บรม; pre-eminent.”

(ข) “ราช” บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” 

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ , ลบ ญฺ, ทีฆะ อะ ที่ – เป็น อา

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า ผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา. (ป., ส.).”

นาค + ราช = นาคราช ถ้าเป็นรูปคำบาลีมักเป็น “นาคราชา” (นา-คะ-รา-ชา) นักเรียนบาลีแปลกันว่า “นาคผู้พระราชา” หมายความว่าไม่ใช่นาคธรรมดา แต่เป็นนาคที่มีพลังอำนาจ มีอิทธิฤทธิ์ อยู่ในฐานะเป็นเจ้าแห่งนาคทั้งหลาย แปลออกเป็นคำไทยอีกคำหนึ่งว่า “พญานาค” (ราช = พญา, นาค = นาค) ดังที่พจนานุกรมฯ ก็รับรองไว้แล้วว่า “นาคราช คือ พญานาค” 

อนนฺต + นาคราช = อนนฺตนาคราช (อะ-นัน-ตะ-นา-คะ-รา-ชะ) > อนันตนาคราช (อะ-นัน-ตะ-นาก-คะ-ราด) แปลว่า “พญานาคชื่ออนันตะ” หรือ “พญานาค (มีเศียร) มาก

อนันตนาคราช” เป็นชื่อเรือพระที่นั่งลำหนึ่งในเรือพระราชพิธี

ขยายความ :

เว็บไซต์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี (อ่านเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 20:30 น.) กล่าวถึงเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ไว้ดังนี้ –

…………..

     ชื่อเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราช มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺต (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาค (แปลว่า นาค หรือ งู) ราช (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้น คำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตราชาแห่งนาคหรืองูทั้งหลาย 

     ในฮินดูปกรณัมปรัมปรา อนันตะ หมายถึง งูเทพ หรือ งูทิพย์ ผู้มีพลังยิ่งใหญ่ รู้จักกันในชื่อ เศษะ หรือ อาทิเศษะ เป็นผู้ที่มีเศียรหนึ่งพัน และ (ประดับด้วย) อัญมณีหนึ่งพันที่ส่องประกายสว่างจ้าไปทุกหนแห่ง คัมภีร์ปุราณะของอินเดียกล่าวว่า อนันตะอาศัยอยู่ลึกลงไปกว่าโลกบาดาลทั้ง 7 ชั้น และแบกโลกทั้งหมดไว้บนเศียร คราใดที่อนันตะหาว โลกก็สั่นไหว บางคัมภีร์อธิบายว่า อนันตะมีชื่ออีกอย่างว่า วาสุกิ (ไทยเรียกวาสุกรี) ซึ่งมีเจ็ดเศียรและอยู่ในโลกบาดาลชั้นที่ 7 อนันตะปกครองนาคทั้งหลาย 

     เรื่องราวจากคัมภีร์ข้างต้นให้อิทธิพลต่อความเชื่อของคนไทยที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ใต้โลกของเรามีปลาอานนท์ ซึ่งแบกโลกไว้ คราใดปลาอานนท์ขยับตัว โลกจะสั่นคลอนเกิดแผ่นดินไหว และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคเจ็ดเศียรบันดาลให้เกิดฝน ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยเป็นอวตารของพระวิษณุลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงควรมีเรือพระที่นั่งเป็นพญาอนันตนาคราชซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวที่ว่า พระวิษณุประทับบรรทมบนพญาอนันตนาคราชในช่วงกาลดับสลายและเริ่มต้นการสร้างโลกและจักรวาลขึ้นใหม่

     เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 (พุทธศักราช 2367 – 2394) แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 (พุทธศักราช 2394 – 2411) ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พุทธศักราช 2453 – 2468) และเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เมษายน พุทธศักราช 2457

     หัวเรือจำหลักรูปพญานาคเจ็ดเศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร ใช้กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 54 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนถือบังสูรย์-พัดโบก-พระกลด 3 คน และคนเห่เรือ 1 คน

http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges/index.php/th/hilight/

…………..

ดูก่อนภราดา!

นาคีมีพิษเพี้ยง      สุริโย 

เลื้อยบ่ทำเดโช         แช่มช้า

พิษน้อยหยิ่งโยโส     แมลงป่อง

ชูแต่หางเองอ้า         อวดอ้างฤทธี

จะเป็นอย่างไร –

: ถ้าฝรั่งท่องโคลงบทนี้ 

แล้วถามคนไทยว่าอยู่ในเรื่องอะไร

: คนไทยทำหน้างง บอกว่าไม่เคยได้ยิน

#บาลีวันละคำ (4,435)

3-8-6

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *