บาลีวันละคำ

อเนกชาติภุชงค์ (บาลีวันละคำ 4,436)

อเนกชาติภุชงค์

1 ในเรือพระที่นั่ง

…………..

เรือพระที่นั่งในเรือพระราชพิธีมี 4 ลำ คือ

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

…………..

อเนกชาติภุชงค์” อ่านว่า อะ-เหฺนก-กะ-ชาด-พุ-ชง

ประกอบด้วยคำว่า อเนกชาติ + ภุชงค์

(๑) “อเนกชาติ” 

แยกศัพท์เป็น อเนก + ชาติ

(ก) “อเนก” บาลีอ่านว่า อะ-เน-กะ แยกคำตามที่ตาเห็นเป็น (อะ) + เนก (เน-กะ)

แต่ตามกฎไวยากรณ์บาลีท่านบอกว่า “อเนก” ประสมขึ้นจากคำว่า + เอก 

(1) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นคำจำพวก “นิบาต” คำจำพวกนี้ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ อาจเปลี่ยนรูปโดยวิธีสนธิกับคำอื่นบ้าง แต่คงถือว่าเป็นคำเดิมเพราะเวลาแปลต้องแยกคำออกเป็นคำเดิมเสมอ 

นักเรียนบาลีมักท่องจำรวมกับคำอื่นในกลุ่มเดียวกันว่า “ ไม่ โน ไม่ มา อย่า เทียว” ( [นะ] = ไม่, โน = ไม่, มา = อย่า, [วะ] = เทียว

” เป็นนิบาตบอกความปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(2) “เอก” บาลีอ่านว่า เอ-กะ รากศัพท์มาจาก อิ (ธาตุ = ไป, เป็นไป, ตั้งอยู่) + ณฺวุ ปัจจัย, แผลง อิ เป็น เอ, แปลง ณฺวุ เป็น อก

: อิ > เอ + ณฺวุ = เอณฺวุ > เอก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ไปตามลำพัง” (คือไม่มีเพื่อนไปด้วย) (2) “ดำรงอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวเพราะไร้ผู้เหมือนกัน

เอก” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) หนึ่ง (เป็นคำบอกจำนวน) one (as number) 

(2) คนเดียว, โดยตนเอง, หนึ่งเท่านั้น, โดดเดี่ยว, ผู้เดียว (one, by oneself, one only, alone, solitary)

(3) คนใดคนหนึ่ง, ใครคนหนึ่ง, บางคน (a certain one, some one, some)

การประสมคำ :

+ เอก 

ตามกฎไวยากรณ์บาลี : 

(1) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ท่านให้แปลง “” เป็น “” (อะ)

(2) ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ท่านให้แปลง “” เป็น “อน” (อะ-นะ)

ในที่นี้ “เอก” ขึ้นต้นด้วยสระ ดังนั้นจึงต้องแปลง “” เป็น “อน

> อน + เอก = อเนก (อะ-เน-กะ) แปลว่า “ไม่ใช่หนึ่ง” 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อเนก, อเนก– : (คำวิเศษณ์) มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ. (ป., ส.).”

อเนก” ตามศัพท์ไม่ได้แปลว่า มาก, หลาย แต่แปลว่า “ไม่ใช่หนึ่ง” (not one)

ไม่ใช่หนึ่ง” ก็คือมากกว่าหนึ่ง 

มากกว่าหนึ่ง” ย่อมส่อนัยว่ามีจำนวนมาก 

ดังนั้น “อเนก” จึงมีความหมายว่า มาก, ต่างๆ กัน, นับไม่ได้, คำนวณไม่ได้ (many, various, countless, numberless)

ในภาษาไทย “อเนก” อ่านว่า อะ-เหฺนก ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้ายอ่านว่า อะ-เหฺนก-กะ- (ต่อด้วยคำนั้น)

(ข) “ชาติ” บาลีอ่านว่า ชา-ติ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย

กระบวนการทางไวยากรณ์ :

แบบที่ 1 แปลง ชนฺ เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ

แบบที่ 2 แปลง “” ที่ (ช-)นฺ เป็น อา : (ช) > อา (> + อา) = ชา + ติ = ชาติ

ชาติ” (อิตถีลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ –

(1) การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)

(2) ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)

(3) จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)

(4) ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural [opp. artificial]; genuine, pure, excellent [opp. adulterated, inferior])

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของคำว่า “ชาติ” ไว้ดังนี้ –

(1) การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด เช่น ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด,

(2) ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สบายทั้งชาติ.

(3) เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่.

(4) ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.

(5) ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ; ประชาชาติ ก็ว่า.

(6) กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน.

(7) ชนิด, จำพวก, ชั้น, หมู่.

(8 ) คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น รสชาติ หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ.

ในที่นี้ “ชาติ” ใช้ในความหมายตามข้อ (8 ) 

อเนก + ชาติ = อเนกชาติ บาลีอ่านว่า อะ-เน-กะ-ชา-ติ ภาษาไทยอ่านว่า อะ-เหฺนก-กะ-ชาด แปลเท่ากับ “อเนก” คือ มีจำนวนมาก เป็นจำนวนมาก

(๒) “ภุชงค์” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ภุชงฺค” อ่านว่า พุ-ชัง-คะ รากศัพท์มาจาก ภุช (ขนด) + คมฺ (ธาตุ = ไป) + กฺวิ ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ศัพท์หน้าแล้วแปลงเป็น งฺ (ภุช > ภุชํ > ภุชงฺ) หรืออีกนัยหนึ่ง ซ้อนพยัญชนะที่สุดวรรคของพยัญชนะต้นธาตุ (พยัญชนะต้นธาตุคือ พยัญชนะที่สุดวรรคของ คือ : ก ข = ภุช + งฺ + คมฺ), ลบที่สุดธาตุและ กฺวิ

: ภุช + คมฺ = ภุชคมฺ + กฺวิ = ภุชคมกฺวิ > ภุชํคมกฺวิ > ภุชงฺคมกฺวิ > (ภุช + งฺ + คมฺ = ) ภุชงฺคม > ภุชงฺค (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปด้วยขนด” (คือเลื้อยไป) หรือ “ผู้เลื้อยคดไปคดมา” หมายถึง งู (snake)

พึงทราบว่า นอกจากได้รูปเป็น “ภุชงฺค” แล้ว ศัพท์นี้ยังได้รูปเป็น “ภุชค” และ “ภุชงฺคม” อีกด้วย 

เป็น “ภุชค” (พุ-ชะ-คะ) เพราะลบที่สุดธาตุและ กฺวิ

: ภุช + คมฺ = ภุชคมฺ + กฺวิ = ภุชคมกฺวิ > ภุชคม > ภุชค  

เป็น “ภุชงฺคม” (พุ-ชัง-คะ-มะ) เพราะลบ กฺวิ แต่ไม่ลบที่สุดธาตุ 

: ภุช + คมฺ = ภุชคมฺ + กฺวิ = ภุชคมกฺวิ > ภุชํคมกฺวิ > ภุชงฺคมกฺวิ > ภุชงฺคม 

ภุชค” “ภุชงฺค” และ “ภุชงฺคม” แปลเหมือนกันและหมายถึง งู เหมือนกัน

ในสันสกฤต มีศัพท์ตรงกับบาลีทั้ง 3 ศัพท์

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(1) ภุชค : (คำนาม) งู; a snake.

(2) ภุชงุค : (คำนาม) ภุชงค์, งู; a snake.

(3) ภุชงฺคม : (คำนาม) งู; a snake.

ในภาษาไทย ใช้เป็น “ภุชคะ” “ภุชงค์” และ “ภุชงคมะ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ภุชคะ, ภุชงค์, ภุชงคมะ : (คำนาม) งู, นาค. (ป., ส.).”

เป็นอันว่า ในภาษาไทย ทั้ง 3 คำนี้ นอกจากหมายถึง งู แล้ว ยังหมายถึง นาค ด้วย

อเนกชาติ + ภุชงฺค = อเนกชาติภุชงฺค (อะ-เน-กะ-ชา-ติ-พุ-ชัง-คะ) > อเนกชาติภุชงค์ (อะ-เน-กะ-ชาด-พุ-ชง) แปลว่า “พญานาคหลากหลาย

อเนกชาติภุชงค์” เป็นชื่อเรือพระที่นั่งลำหนึ่งในเรือพระราชพิธี

ขยายความ :

เว็บไซต์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี (อ่านเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2567 เวลา 20:30 น.) กล่าวถึงเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ไว้ดังนี้ –

…………..

     ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกชาติภุชงฺค แปลว่า งูหลากหลายชนิด ซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺค มีความหมายเดียวกันกับ นาค นาคะหรือไทยเรียกว่า นาค เป็นเทพในฮินดูปกรณัมปรัมปรา บางครั้งก็ปรากฏในพระพุทธศาสนาด้วย นาคที่เป็นเทพหรือทิพยนาคเป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าหลายองค์ของศาสนาฮินดูโยงใยกับนาคหรือที่ปรากฏในรูปร่างของงู หรืองูเทพ (งูทิพย์) เช่น พระวิษณุบรรทมบนพญานาคอนันตะหรือเศษะนาคทอดตัวอยู่เหนือแผ่นน้ำ รูปแบบของงูหรือนาคตัวเล็ก ๆ จำนวนมากที่หัวเรือเช่นนี้ น่าจะหมายถึงนาคที่มีจำนวนนับพันซึ่งเป็นเหล่าบรรดานาคที่กำเนิดจากมหาฤษีกัศยปะและนางกัทรุ นาคเหล่านี้อาศัยอยู่ในโลกบาดาล เรียกว่า นาคโลก แปลว่า โลกของนาคทั้งหลาย ตามปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ

     เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 – 2453) ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ เรือมีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 91 เซนติเมตร กินน้ำลึก 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 61 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่น ๆ

http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges/index.php/th/hilight/

…………..

ดูก่อนภราดา!

งูเล็ก พริกเล็ก กุมารน้อย

ไฟถ่านเท่าหิ่งห้อย อย่าไว้วางใจ

จะเป็นอย่างไร –

: ถ้าฝรั่งบอกความหมายของภาษิตข้างต้นนั้นได้

: แต่คนไทยบอกไม่ได้

#บาลีวันละคำ (4,436)

4-8-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *