บาลีวันละคำ

เกษตรอินทรีย์ (บาลีวันละคำ 4,454)

เกษตรอินทรีย์

คือเกษตรแบบไหน

อ่านตามที่นิยมอ่านกันว่า กะ-เสด-อิน-ซี

ประกอบด้วยคำว่า เกษตร + อินทรีย์

(๑) “เกษตร” 

บาลีเป็น “เขตฺต” อ่านว่า เขด-ตะ รากศัพท์มาจาก – 

(1) ขิปฺ (ธาตุ = หว่าน, กระจายออก) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ขิ-(ปฺ) เป็น เอ, ลบ ปฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน

: ขิปฺ > เขป + = เขปต > เขต + = เขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่หว่านพืช

(2) ขิตฺต (เมล็ดพืชที่หว่านไป) + ตา (ธาตุ = รักษา) + (อะ) ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ขิ-(ตฺต) เป็น เอ, ลบ ที่ (ขิตฺ)- (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบที่สุดบทหน้า”), ลบสระที่สุดธาตุ: ตา >

: ขิตฺต + ตา = ขิตฺตตา > ขิตฺตต + = ขิตฺตต > ขิตฺต > เขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่รักษาพืชที่หว่านไว้

เขตฺต” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) นา, ที่ดินแปลงหนึ่ง, ที่ดินอันเหมาะสมแก่การเพาะปลูก, ที่ตั้ง (a field, a plot of land, arable land, a site) 

(2) ที่อันเป็นเนื้อนาบุญ, กองแห่งกุศลกรรม (the soil of merit, the deposit of good deeds)

เขตฺต” ภาษาไทยปัจจุบันใช้เป็น “เขต” (ตัด ออกตัวหนึ่ง) อ่านว่า เขด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เขต : (คำนาม) แดนที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น เขตป่า เขตบ้าน, เวลาที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น หมดเขตวันที่ ๑๕. (ป. เขตฺต). (โบราณเขียนว่า เขตร).”

บาลี “เขตฺต” สันสกฤตเป็น “เกฺษตฺร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

เกฺษตฺร : (คำนาม) ‘เกษตร์,’ ทุ่ง, นา; ตัว, ร่างกาย; ชายา; บุณยสถานหรือที่ศักดิ์สิทธิ์ (ดุจพาราณสี, ฯลฯ); เรขาคณิต; จิตร์หรือรูปเส้นขอบ, รูปสังเขป, แผนเส้นขอบ; a field; the body; a wife; a place of pilgrimage or sacred spot (as Benares, &c.); geometry; a diagram, a plan drawn in outline.”

บาลี “เขตฺต” สันสกฤต “เกฺษตฺร” ภาษาไทยที่ใช้เป็น “เกษตร” (กะ-เสด) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

เกษตร : (คำนาม) ที่ดิน, ทุ่ง, นา, ไร่; (คำโบราณ) แดน เช่น พุทธเกษตร. (ส. เกฺษตฺร; ป. เขตฺต).”

(๒) “อินทรีย์” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อินฺทฺริย” (มีจุดใต้ นฺ และ ทฺ) อ่านว่า อิน-เทฺรียะ รากศัพท์มาจาก อินฺท + อาคม + อิย ปัจจัย 

(ก) “อินฺท” รากศัพท์มาจาก อิทิ (ธาตุ = เป็นใหญ่ยิ่ง) ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ แปลงนิคหิตเป็น นฺ (อิทิ > อึทิ > อินฺทิ) + (อะ) ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (อิทิ > อิท)

: อิทิ > อึทิ (อิง-ทิ) > อินฺทิ > อินฺท + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กระทำความเป็นใหญ่ยิ่ง” หมายถึง พระอินทร์, ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นหัวหน้า, พระราชา, ผู้ปกครอง

(ข) : อินฺท + = อินฺทร + อิย = อินฺทริย > อินฺทฺริย (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “เป็นของพระอินทร์” (belonging to Indra) (2) “เป็นของผู้ปกครอง” (belonging to the ruler)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไขความคำว่า “อินฺทฺริย” (ตามความเข้าใจของฝรั่ง) ไว้ดังนี้ –

(1) faculty, function (สมรรถพล = กำลังแห่งความสามารถ, การทำงาน)

(2) kind, characteristic, determinating principle, sign, mark (ชนิด, ลักษณะ, หลักที่เป็นตัวกำหนด, เครื่องแสดง, เครื่องหมาย)

(3) principle, controlling force (หลักการ, กำลังที่ควบคุม)

(4) category (ประเภท)

บาลี “อินฺทฺริย” ภาษาไทยใช้ว่า “อินทรีย์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) ร่างกายและจิตใจ เช่น สํารวมอินทรีย์

(2) สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า

(3) สิ่งมีชีวิต

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายทางธรรมของ “อินทรีย์”ไว้ว่า –

…………..

อินทรีย์ : ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน วิริยะเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความเกียจคร้าน เป็นต้น 

…………..

เกษตร + อินทรีย์ = เกษตรอินทรีย์ เป็นคำประสมแบบไทย แต่อาศัยคำบาลีสันสกฤต น่าจะแปลจากหน้าไปหลังว่า “การเกษตรแบบอินทรีย์” 

คำว่า “เกษตรอินทรีย์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

อภิปรายขยายความ :

เกษตรอินทรีย์” แปลตามศัพท์หรือแปลแบบทับศัพท์ว่า “การเกษตรแบบอินทรีย์” แปลแล้วก็ยังไม่รู้ทันทีว่าคือการเกษตรแบบไหน

เกษตร” พอเข้าใจได้

อินทรีย์” คำเดียวก็พอเข้าใจได้

แต่พอควบกันเป็น “เกษตรอินทรีย์” ย่อมเกิดความหมายใหม่ขึ้นมา และยากที่จะเข้าใจว่า-หมายความว่าอย่างไร

เกษตรอินทรีย์” แปลงกลับเป็นบาลีก็น่าจะเป็น “เขตฺตินฺทฺริย” หรือ “อินฺทฺริยเขตฺต”

ในคัมภีร์บาลี ยังไม่พบศัพท์ที่มีรูปแบบนี้

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี มีคำว่า “เกษตรอินทรีย์” (อ่านเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 20:30 น.) อธิบายความหมายของคำว่า “เกษตรอินทรีย์” ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

…………..

เกษตรอินทรีย์ (อังกฤษ: organic farming) เป็นเกษตรกรรมแบบหนึ่งซึ่งอาศัยเทคนิคอย่างการปลูกพืชหมุนเวียน ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก และการควบคุมสัตว์รังควานทางชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ (มีสารฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อรา) หากถือว่ามาจากธรรมชาติ (เช่น กระดูกป่นจากสัตว์หรือไพรีทรินจากดอกไม้) แต่ไม่ใช้หรือจำกัดการใช้อย่างยิ่งซึ่งวิธีการต่าง ๆ (รวมปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ปิโตรเคมีสังเคราะห์ ตัวเร่งการเติบโตของพืช เช่น ฮอร์โมน การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม กากสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ และวัสดุนาโน) โดยแสวงเป้าหมายซึ่งมีความยั่งยืน ความเปิดเผย การไม่พึ่งพา สุขภาพและความปลอดภัย

วิธีการเกษตรอินทรีย์มีการกำกับระหว่างประเทศและหลายประเทศบังคับใช้กฎหมาย โดยยึดมาตรฐานที่สหพันธ์ขบวนการเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (IFOAM) ตั้งขึ้นเป็นหลัก IFOAM เป็นองค์การครอบคลุมระหว่างประเทศขององค์การเกษตรอินทรีย์ที่ตั้งในปี 2515 …

…………..

ได้ความว่า คำว่า “เกษตรอินทรีย์” บัญญัติจากคำอังกฤษว่า organic farming

farming นั้น เดาได้ทันทีว่า กลายมาเป็น “เกษตร

เพราะฉะนั้น “อินทรีย์” ก็ต้องมาจาก organic

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล organic เป็นไทยไว้ดังนี้ –

1. แห่งอวัยวะ 

2. (วัตถุ) ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต เช่น น้ำตาล ฝ้าย, อินทรีย์ (เคมี) 

3. เป็นโดยกำเนิด, เป็นสมุฏฐาน 

4. ในอันที่จะรวบรวมขึ้นเป็นองค์ 

5. ซึ่งเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน 

6. (กฎหมาย) ที่สร้างรูปแห่งรัฐ

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล organic เป็นบาลีดังนี้: 

indriyabaddha อินฺทฺริยพทฺธ (อิน-เทฺรียะ-พัด-ทะ) = เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์

เพราะฉะนั้น organic farming ก็คือ การเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์

ก็ต้องกลับไปดูว่า “อินทรีย์” ที่ใช้ในภาษาไทยหมายถึงอะไร

(1) ร่างกายและจิตใจ เช่น สํารวมอินทรีย์

(2) สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า

(3) สิ่งมีชีวิต

ที่น่าจะเข้ากันได้ดีที่สุดคือ “สิ่งมีชีวิต” 

organic farming > เกษตรอินทรีย์ > การเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์ > การเกษตรที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งมีชีวิต

ผู้เขียนบาลีวันละคำสิ้นปัญญาเพียงแค่นี้

เหนือไปกว่านี้คงต้องขอแรงท่านผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้ามาช่วยบูรณาการต่อไป

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ขึ้นสู่ตำแหน่งที่เป็นใหญ่อย่างสง่างามได้อย่างไร ไม่ยาก

: ลงจากตำแหน่งอย่างไรจึงจะสง่างาม นี่สิยาก

#บาลีวันละคำ (4,454)

22-8-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *