บาลีวันละคำ

บาจรีย์ (บาลีวันละคำ 4,463)

บาจรีย์

แปลกดี น่าตามไปดู

อ่านว่า บา-จะ-รี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

บาจรีย์ : (คำนาม) อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า คำนี้บาลีเป็น “ปาจริย

ปาจริย” อ่านว่า ปา-จะ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก + อาจริย 

(๑) “” 

บาลีอ่านว่า ปะ รูปคำตรงกับ “” ที่เป็นคำอุปสรรค นักเรียนบาลีแปลกันมาว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “” ไว้ดังนี้ –

(1) forth, forward, out (ออกไป, ข้างหน้า, ออก) 

(2) intensive in a marked degree, more than ordinarily (เข้มมาก, มากกว่าธรรมดา) 

(3) onward (ต่อไป) 

(4) in front of, before (เบื้องหน้า, ก่อน) 

ในที่นี้ “” ตัดคำมาจาก –

(1) “ปธาน” (ปะ-ทา-นะ) หมายถึง เป็นใหญ่, เป็นหัวหน้า, สำคัญ, เป็นหลัก, ประธาน 

(2) “ปกฏฺฐ” (ปะ-กัด-ถะ) หมายถึง ประเสริฐ, อุกฤษฏ์, ยิ่ง, สูงสุด, ชั้นสูง

: ปธาน / ปกฏฺฐ >  

(๒) “อาจริย” 

อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(1) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประพฤติเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ศิษย์” 

(2) อา (จากศัพท์ “อาทิ” = เบื้องต้น) + จรฺ (ธาตุ = ศึกษา) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังศิษย์ให้ศึกษามาแต่ต้น” 

(3) อา (จากศัพท์ “อาทร” = เอื้อเฟื้อ, เอาใจใส่) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือปรนนิบัติด้วยความเอาใจใส่

(4) อา (แข็งแรง, จริงจัง, ยิ่งใหญ่) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้บำเพ็ญประโยชน์สุขแก่ศิษย์อย่างดียิ่ง

(5) อา (แทนศัพท์ “อภิมุขํ” = ข้างหน้า, ตรงหน้า) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติทำไว้ข้างหน้า” (คือศิษย์พึงดำเนินตาม)

(6) อา (แทนศัพท์ “อาปาณโกฏิกํ” = ตลอดชีวิต) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + อิย ปัจจัย

: อา + จรฺ = อาจรฺ + อิย = อาจริย แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันศิษย์พึงประพฤติ คือพึงปรนนิบัติตลอดชีวิต

อาจริย” แปลทับศัพท์เป็นรูปสันสกฤตว่า อาจารย์ (a teacher)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาจารย์ : (คำนาม) ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).”

: ปธาน / ปกฏฺฐ > + อาจริย = ปาจริย แปลตามศัพท์ว่า “อาจารย์ผู้เป็นประธานหรือผู้ประเสริฐกว่าอาจารย์ทั้งหลาย

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ อ้างถึงความหมายที่คัมภีร์อธิบายไว้ 2 นัย คือ –

(1) “teacher upon teacher” (อาจารย์เหนืออาจารย์)

(2) “teacher of teachers” (อาจารย์ของอาจารย์ต่าง ๆ)

ปาจริย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปาจรีย์” และ “ปาจารย์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ปาจรีย์, ปาจารย์ : (คำนาม) อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).”

เป็นอันว่า :- 

(1) บาลี “ปาจริย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “บาจรีย์” (ดังที่ยกมาข้างต้น) “ปาจรีย์” และ “ปาจารย์” 

(2) “ปาจริย” แปลตามศัพท์ว่า “อาจารย์ผู้เป็นประธานหรือผู้ประเสริฐกว่าอาจารย์ทั้งหลาย

(3) พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปาจริย” ว่า “teacher upon teacher” (อาจารย์เหนืออาจารย์) และ “teacher of teachers” (อาจารย์ของอาจารย์ต่าง ๆ)

(4) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายในภาษาไทยว่า “อาจารย์ของอาจารย์”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยอดของคนโง่คือฉลาดไม่เป็น

: ยอดของคนฉลาดคือโง่เป็น

#บาลีวันละคำ (4,463)

31-8-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *