บาลีวันละคำ

พยุหยาตราทางชลมารค (บาลีวันละคำ 4,520)

พยุหยาตราทางชลมารค

รู้ความงามของขบวนคำ 

เสริมความงามของขบวนเรือ

อ่านว่า พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตฺรา-ทาง-ชน-ละ-มาก

ประกอบด้วยคำว่า พยุห + ยาตรา + ทาง + ชล + มารค 

(๑) “พยุห” 

บาลีเป็น “พฺยูห” (มีจุด ใต้ , สระ อู) อ่านว่า พฺยู-หะ ออกเสียง พฺ นิดหนึ่งแล้วข้ามไปที่ ยู ทันที เสียงคล้ายคำว่า “เพียวพฺยูห = เพียวหะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อูหฺ (ธาตุ = รวบรวม; ไป; ตั้ง, วาง) + (อะ) ปัจจัย, แปลง อิ ที่ วิ เป็น (วิ > วฺย), แปลง เป็น พฺ (วฺย > พฺย)

: วิ > วฺย + อูหฺ = วฺยูหฺ + = วฺยูห > พฺยูห แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางที่รวมคนไว้ไม่ให้ไปที่อื่น” (2) “หมู่ที่ส่วนย่อยทั้งหลายไปรวมกันโดยพิเศษ” (3) “การจัดแจงวางกำลังไว้” 

พฺยูห” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) การรวมหรือตั้งขบวน, การรวบกลุ่มของทหาร (massing or array, grouping of troops) 

(2) การตั้งแนวหรือการจัดกองทัพเป็นรูปใดรูปหนึ่ง, ขบวนรบหรือการสวนสนาม (the array or arrangement of troops in particular positions, order of parade or battle) 

(3) กอง, ก้อน, กลุ่ม (a heap, mass, collection) 

(4) ตรอกตัน, ซอยตัน (a blind alley, cul-de-sac)

บาลี “พฺยูห” สันสกฤตเป็น “วฺยูห” (ความจริงบาลีเป็น “วฺยูห” ก็มี)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

วฺยูห : (คำนาม) ‘พยุหะ,’ ขะบวนทหาร, การจัดวางกองทหารเป็นริ้วขะบวนต่างๆ, ดุจ ‘ทณฺฑวฺยูห ( = ทัณฑพยุหะ), ขะบวนแถวชิดหรืแถวขยาย,’ ‘โภควฺยูห ( = โภคพยุหะ), ขะบวนแสนยภาค,’ ‘มณฺฑลวฺยูห ( = มัณฑลพยุหะ), ขะบวนวงก์กลม,’ ‘อสํหตวฺยูห ( = อสังหตพยุหะ), ขบวนระคน,’ ฯลฯ ฝูง, คณะ; ตรรก, ยุกติวาท, การคิดคำนึง; การทำ; ศรีระ; military army, the arrangement of troops in various positions, as ‘Daṇḍavyūha, the army in line,’ ‘Bhogavyūha, the army in column,’ ‘Maṇḍalavyūha, the army in circle,’ ‘Asaṅhatavyūha, the army in mixed order,’ &c.; a flock, a multitude; logic, reasoning; making; the body.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พยุห-, พยุหะ : (คำนาม) กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับในปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).”

(๒) “ยาตรา

บาลีเป็น “ยาตฺรา” (มีจุดใต้ ตฺ) อ่านว่า ยาด-ตฺรา รากศัพท์มาจาก ยา (ธาตุ = ไป, ถึง, บรรลุ) + ตฺรณ ปัจจัย, ลบ (ตฺรณ > ตฺร) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ยา + ตฺรณ = ยาตฺรณ > ยาตฺร + อา = ยาตฺรา แปลตามศัพท์ว่า “การไป” 

ยาตฺรา” ในบาลีหมายถึง –

(1) การเดินทาง, การไป, การยาตรา, ความเคยชินที่ดี (travel, going on, proceeding, good habit)

(2) การดำเนินไป, การดำรงชีพ, การยังชีพ, การบำรุงรักษา (going on, livelihood, support of life, maintenance)

บาลี “ยาตฺรา” สันสกฤตก็ใช้ในรูปเดียวกัน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ยาตฺรา : (คำนาม) การไป, การเดิรทาง, การเคลื่อนที่; แห่, การแห่แหนเพื่อความครึกครื้น; การชักเวลาให้ล่วงไป; ประเพณี, ธรรมเนียม, ประโยค; งารสมโภช; อุบาย; การยาตราของกองทหารที่ยกเข้าตี; ตีรถยาตรา, การไปสู่บุณยสถาน; going, travelling, moving; a procession; passing away time; usage, custom, practice; a holy festival; an expedient; the march of assailing force; going to pilgrimage.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยาตร, ยาตรา : (คำกริยา) เดิน, เดินเป็นกระบวน. (ป., ส.).”

(๓) “ทาง” 

เป็นคำไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

…………..

ทาง ๑ : (คำนาม)

(๑) ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง

(๒) ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง

(๓) โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ

(๔) แนว เช่น เดินทางใน

(๕) วิธี, กลยุทธ์, เช่น แก้ทาง รู้ทาง แพ้ทาง

(๖) วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ

(๗) แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน

(๘ ) ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางโจทก์ ทางจำเลย

(๙) วิธีดำเนินทำนองโดยเฉพาะของเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เช่น ทางระนาดเอก ทางจะเข้, วิธีดำเนินทำนองของเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ เช่น ทางครู ก. ทางครู ข. ทางเดี่ยว ทางหมู่.

…………..

ในที่นี้ “ทาง” ใช้ในความหมายตามข้อ (๖) > วิธีการ น่าจะเหมาะสมที่สุด

…………..

(๔) “ชล” 

บาลีอ่านว่า ชะ-ละ รากศัพท์มาจาก ชลฺ (ธาตุ = ผูกรัด; ไหลไป; รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย 

: ชลฺ + = ชล (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่ผูกรัด” (คือบีบทำให้เรือแตกได้) (2) “สิ่งที่ไหลไป” (3) “สิ่งที่รุ่งเรือง” (คือระยิบระยับยามค่ำคืน) หมายถึง น้ำ (water) 

บาลี “ชล” สันสกฤตก็เป็น “ชล” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ชล” ในสันสกฤตไว้ดังนี้ – 

(สะกดตามต้นฉบับ) 

ชล : (คำวิเศษณ์) เยือกเย็นหรืออนภิลาษ; สถุล; เฉื่อยชา, ไม่มีอุตสาหะ; เกียจคร้าน; cold; stupid; apathetic; idiotic; – (คำนาม) น้ำ; วิราค, เสนหาภาพ, ความเฉื่อยชาหรือความไม่มีเสนหา; water; frigidity; coldness, want of animation or coldness of affection.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชล, ชล– : (คำนาม) นํ้า. (ป., ส.).”

(๕) “มารค

บาลีเป็น “มคฺค” (มัก-คะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มคฺคฺ (ธาตุ = ไป, ถึง; แสวงหา) + (อะ) ปัจจัย

: มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า (1) “ทางเป็นเครื่องไปสู่ที่ต้องการได้โดยตรง” (2) “ที่อันพวกคนเดินทางแสวงหา” (3) “ธรรมที่ยังบุคคลให้ถึงพระนิพพาน” (4) “ทางอันผู้ต้องการพระนิพพานดำเนินไป” 

(2) มชฺชฺ (ธาตุ = สะอาด, หมดจด) + ปัจจัย, ลบ , แปลง ชฺชฺ ที่ (ม)-ชฺชฺ เป็น คฺค

: มชฺช + = มชฺชณ > มชฺช > มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่สะอาดโดยพวกคนเดินทาง

(3) (นิพพาน) + คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + (อะ) ปัจจัย, ซ้อน คฺ ระหว่าง + คมฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (คมฺ > )

: + คฺ + คมฺ = มคฺคม > มคฺค + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน

(4) (กิเลเส มาเรติ = ฆ่ากิเลส) + (คจฺฉติ = ไป), ซ้อน คฺ

: + คฺ + = มคฺค แปลตามศัพท์ว่า “วิธีที่ไปฆ่ากิเลส

มคฺค” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ถนน, ถนนใหญ่, ทาง, ทางเท้า (a road, high road, way, foot-path)

(2) ทางแห่งศีลธรรมและสัมมาชีพ, สัมมามรรคหรือทางที่ชอบธรรม (the road of moral & good living, the path of righteousness) คือมรรคในอริยสัจสี่ 

(3) ขั้นตอนของการบรรลุธรรม (Stage of righteousness) คือมรรคที่คู่กับผล

บาลี “มคฺค” สันสกฤตเป็น “มารฺค” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

มารฺค : (คำนาม) ถนน, ทาง; a road, a path or way.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มารค : (คำนาม) ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).”

การประสมคำ :

พยุห + ยาตรา = พยุหยาตรา แปลตามศัพท์ว่า “การดำเนินไปของกองทัพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พยุหยาตรา : (คำนาม) กระบวนทัพ, การเดินทัพ, เช่น ยกพยุหยาตรา. (คำกริยา) ไปเป็นกระบวนทัพใหญ่.”

ชล + มคฺค = ชลมคฺค > ชลมารค แปลว่า “ทางน้ำ” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ชลมารค : (คำนาม) ทางน้ำ เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. (ส.).”

พยุหยาตรา + ทาง + ชลมารค = พยุหยาตราทางชลมารค แปลว่า “ไปเป็นกระบวนทัพทางน้ำ” > เคลื่อนทัพไปโดยทางน้ำ

…………..

อภิปรายขยายความ :

คำว่า “พยุหยาตรา” มักใช้ควบกับคำว่า “ชลมารค” และ “สถลมารค” เป็น – 

พยุหยาตราทางชลมารค” แปลว่า “ไปเป็นกระบวนทัพทางน้ำ

พยุหยาตราทางสถลมารค” แปลว่า “ไปเป็นกระบวนทัพทางบก

เคยมีการถกเถียงกันว่า ทำไมจึงใช้คำว่า “ทางชลมารค” และ “ทางสถลมารค” ในเมื่อคำนี้มีคำว่า “มารค” ซึ่งแปลว่า “ทาง” อยู่แล้ว คำว่า “ทาง” กับคำว่า “มารค” ซ้ำซ้อนกัน 

อาจเป็นเพราะข้อถกเถียงนี้ จึงมีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่คำนี้ตัดคำว่า “ทาง” ออก เขียนเป็น “พยุหยาตราชลมารค” ส่วนคำว่า “พยุหยาตราทางสถลมารค” นั้น ถ้าตัดแบบเดียวกันก็จะเป็น “พยุหยาตราสถลมารค

อย่างไรก็ตาม ที่คำว่า “ชลมารค” และ “สถลมารค” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ชลมารค : (คำนาม) ทางน้ำ เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. (ส.).

(2) สถลบถ, สถลมารค : (คำนาม) ทางบก เช่น กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค. (ส.).

เป็นอันว่า ตามพจนานุกรมฯ คำนี้มีคำว่า “ทาง” ด้วยอย่างแน่นอน

ส่วนข้อสงสัยคือ คำว่า “ทาง” กับคำว่า “มารค” ในคำนี้ เป็นคำเดียวกันแน่หรือ ผู้เขียนบาลีวันละคำขอให้พิจารณาคำที่เป็นแนวเทียบ คือ –

“ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา”

“เด็กคนนี้มีหัวทางดนตรี”

จะเห็นว่า คำว่า “ทาง” ในคำเทียบนี้ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับคำว่า “มารค” แต่ประการใด นั่นคือ ในภาษาไทย “ทาง” ไม่ได้หมายถึง “มารค” เสมอไป

หรือเทียบกับคำแปลเป็นอังกฤษ –

ถลบถ (สถลมารค) = ทางไปบนบก = a road by land 

ชลบถ (ชลมารค) = ทางไปบนน้ำ = a road by water

จะเห็นได้ว่า “ทาง” ในคำว่า “พยุหยาตราทางชลมารค” และ “พยุหยาตราทางสถลมารค” ก็คือ by ในภาษาอังกฤษนั่นเอง หาใช่ “ทาง” ที่แปลมาจาก “มารค” ไม่

หนังสือ “ประมวลองค์ความรู้พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 หน้า 62 และหน้า 65 บรรยายรายละเอียดในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ 10 กล่าวถึง “ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค” มีข้อความตอนหนึ่งดังนี้ 

…………..

๓. พระราชพิธีเบื้องปลาย คือ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไปยังวัดอรุณราชวราราม ในปลายเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒

…………..

๘. เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ในปลายเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ไปยังวัดอรุณราชวราราม เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน

…………..

สรุปว่า “พยุหยาตราทางชลมารค” เป็นคำที่ยุติถูกต้องแล้ว

…………..

ดูก่อนภราดา!

: น่าภูมิใจที่เรามีสมบัติวัฒนธรรมล้ำค่าไว้อวดโลก

: น่าเศร้าใจ-ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษาไว้ให้เป็นสมบัติวัฒนธรรมประจำโลก

#บาลีวันละคำ (4,520)

27-10-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *