บาลีวันละคำ

ปรมัตถบารมี (บาลีวันละคำ 4,521)

ปรมัตถบารมี

ทำความดีให้สุดชีวิต

อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ-บา-ระมี

ประกอบด้วยคำว่า ปรมัตถ + บารมี

(๑) “ปรมัตถ

เขียนแบบบาลีเป็น “ปรมตฺถ” อ่านว่า ปะ-ระ-มัด-ถะ ประกอบด้วยคำว่า ปรม + อตฺถ 

(ก) “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มรฺ > ) และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังธรรมอันเป็นข้าศึกให้ตาย

(2) (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย, ลบ  

: + รมฺ = ปรมฺ + = ปรมณ > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย

: ปรฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

หมายเหตุ: “ปรม” ยังมีรากศัพท์และแปลอย่างอื่นอีกหลายความหมาย

ปรม” หมายถึง สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

(ข) “อตฺถ” (อัด-ถะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อรฺ (ธาตุ = ไป, ถึง เป็นไป; พินาศ) + ปัจจัย, แปลง รฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อรฺ > อตฺ)

: อรฺ + = อรฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเครื่องให้ดำเนินไปได้” (2) “สิ่งที่ให้ดำเนินไปตามการณ์” (3) “สิ่งอันบุคคลถึง คือได้รับตามครรลองแห่งเหตุ” (4) “ภาวะที่พินาศ

(2) อสฺ (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (อสฺ > อตฺ)

: อสฺ + = อสฺถ > อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งเป็นเหตุให้มีให้เป็น” (2) “เหตุให้มีศัพท์

(3) อตฺถฺ (ธาตุ = ขอ, ปรารถนา) + (อะ) ปัจจัย

: อตฺถฺ + = อตฺถ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ต้องการ” 

อตฺถ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) กำไร, ผลประโยชน์, การได้เปรียบ; ความดี, พร, สวัสดิภาพ; ผลที่ได้มา, ความรุ่งเรือง, สวัสดิการ (interest, advantage, gain; good, blessing, welfare; profit, prosperity, well-being)

(2) ความประสงค์, ความต้องการ, ความปรารถนา, ประโยชน์ (need, want, use)

(3) เนื้อความ, ความหมาย, ความสำคัญ (ของคำพูด), การหมายถึง (sense, meaning, import [of a word], denotation, signification)

(4) ข้อความ, สิ่งของ (matter, thing)

(5) เรื่องราว, ความเห็น, คดี (affair, cause, case)

ปรม + อตฺถ = ปรมตฺถ > ปรมัตถ หมายถึง ประโยชน์อันสูงสุด, ปรมัตถ์; ความจริงอย่างยิ่ง, ความจริงเชิงปรัชญา (the highest good, ideal; truth in the ultimate sense, philosophical truth)

บาลี “ปรมตฺถ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปรมัตถ์” “ปรมัตถะ” 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต อธิบายไว้ดังนี้ 

…………..

ปรมัตถ์, ปรมัตถะ :

1. ประโยชน์อย่างยิ่ง, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน 

2. –

ก) ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถสัจจะ 

ข) สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง, สภาวธรรม บางทีใช้ว่า ปรมัตถธรรม 

ปรมัตถ์ที่พบในพระไตรปิฎก ตามปกติใช้ในความหมายนัยที่ 1. คือจุดหมาย หรือประโยชน์สูงสุด เฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่นิพพาน แต่ในคัมภีร์สมัยต่อมา มีการใช้ในนัยที่ 2. บ่อยขึ้น คือในความหมายว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ไม่ว่าจะใช้ในแง่ความหมายอย่างไหน ก็บรรจบที่นิพพาน เพราะนิพพานนั้น ทั้งเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นสภาวะที่จริงแท้ (นิพพานเป็นปรมัตถ์ในทั้งสองนัย). 

…………..

(๒) “บารมี” 

บาลีเป็น “ปารมี” อ่านว่า ปา-ระ-มี รากศัพท์มาจาก ปรม (ประเสริฐ, เต็มเปี่ยม) + ณี ปัจจัย, ลบ (ณี > อี), ทีฆะต้นศัพท์ (ปรม > ปารม)

: ปรม + ณี = ปรมณี > ปรมี > ปารมี แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะของผู้ประเสริฐ” “ภาวะที่ทำให้เต็ม

ปารมี” ยังมีคำแปลตามศัพท์อีกหลายความหมาย คือ –

1 ภาวะหรือการกระทำของผู้ประเสริฐ

2 ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องถึงภาวะสูงสุดคือพระนิพพาน

3 ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพาน

4 ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องให้ถึงพระนิพพาน

5 ข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอันสูงสุด

6 ข้อปฏิบัติที่ผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบความดีอย่างพิเศษ

7 ข้อปฏิบัติที่หมดจดอย่างยิ่งจากมลทินคือสังกิเลส

8 ข้อปฏิบัติที่ดำเนินไปสู่พระนิพพานโดยพิเศษ

9 ข้อปฏิบัติที่รู้ถึงโลกหน้าได้ด้วยญาณวิเศษเหมือนรู้โลกนี้

10 ข้อปฏิบัติที่ใส่กลุ่มความดีมีศีลเป็นต้นไว้ในสันดานตนอย่างดียิ่ง

11 ข้อปฏิบัติของผู้เบียดเบียนศัตรูคือหมู่โจรกิเลส

12 ข้อปฏิบัติที่หมดจดในพระนิพพาน

13 ข้อปฏิบัติที่ผูกสัตว์ไว้ในพระนิพพาน

14 ข้อปฏิบัติที่ดำเนินไปสู่พระนิพพานและยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน

15 ข้อปฏิบัติที่รู้พระนิพพานตามเป็นจริง

16 ข้อปฏิบัติที่บรรจุเหล่าสัตว์ไว้ในพระนิพพาน

17 ข้อปฏิบัติที่เบียดเบียนข้าศึกคือกิเลสของเหล่าสัตว์ในพระนิพพาน

ความหมายที่เด่นของ “ปารมี” คือ “ภาวะที่ทำให้เต็ม” 

ในบาลี “ปารมี” หมายถึงคุณธรรมที่ยังความเป็นพระพุทธเจ้าให้สำเร็จ ซึ่งพระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญให้สมบูรณ์เพียบพร้อมจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปารมี” ว่า completeness, perfection, highest state (ความสมบูรณ์, ความเต็มเปี่ยม, สถานะอันสูงสุด)

บาลี “ปารมี” ใช้ในภาษาไทยเป็น “บารมี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บารมี : (คำนาม) คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).”

ปรมตฺถ + ปารมี = ปรมตฺถปารมี (ปะ-ระ-มัด-ถะ-ปา-ระ-มี) > ปรมัตถบารมี (ปะ-ระ-มัด-ถะ-บา-ระ-มี) แปลว่า “บารมีที่มีความหมายอย่างยิ่ง” หมายถึง บารมีระดับสูงสุด

ขยายความ :

ปรมัตถบารมี” เป็นบารมีระดับสูงสุด จะเข้าใจเรื่องนี้ต้องเข้าใจเรื่อง “บารมี” ก่อน

บารมี” เป็นคุณธรรมชุดหนึ่งที่พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พุทธการกธรรม” (อ่านว่า พุด-ทะ-กา-ระ-กะ-ทำ ไม่ใช่ พุด-ทะ-กา-รก-ทำ) แปลว่า “คุณธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า” มี 10 อย่าง นิยมเรียกว่า “บารมีสิบ” คือ –

(1) ทาน : สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) ศีล : ควบคุมการกระทำและคำพูดให้ตั้งอยู่ในความดีงาม

(3) เนกขัมมะ : การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน

(4) ปัญญา : ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล

(5) วิริยะ : ความพยายามทำกิจไม่ท้อถอย

(6) ขันติ : ความหนักเอาเบาสู้เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม

(7) สัจจะ : ความจริง คือ จริงใจ จริงวาจา และจริงการ

(8 ) อธิษฐาน : ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้น ๆ ให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน

(9) เมตตา : ความรัก, ความปรารถนาให้เขามีความสุข

(10) อุเบกขา : ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง

บารมีทั้ง 10 แบ่งระดับการบำเพ็ญเป็น 3 ระดับตามความเข้มข้น คือ ระดับบารมี ระดับอุปบารมี ระดับปรมัตถบารมี 

อธิบายประกอบโดยยกบารมีข้อแรก คือ ทาน เป็นตัวอย่าง

(๑) ระดับบารมี : บารมีระดับปกติธรรมดา คนทั่วไปทำได้ 

ตัวอย่างทานบารมี : สละของนอกกาย เช่น วัตถุสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทอง สิทธิผลประโยชน์ และแม้ตำแหน่งหน้าที่

(๒) ระดับอุปบารมี : บารมีขั้นกลาง หรือจวนสูงสุด 

ตัวอย่างทานอุปบารมี : สละให้อวัยวะในตัว เช่น บริจาคดวงตา ตับ ไต ปอด (หมายถึงต้องให้อวัยวะนั้นๆ ไปทั้งที่ตนยังมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่ให้เมื่อตายแล้ว)

(๓) ระดับปรมัตถบารมี : บารมีขั้นสูงสุด, บารมีที่ทำจนถึงที่สุดเพื่อผลขั้นสูงสุด

ตัวอย่างทานปรมัตถบารมี : สละชีวิต แม้จะต้องตายก็ยอมด้วยความเต็มใจ

บารมีข้ออื่นๆ ก็ใช้ (๑) ของนอกกาย (๒) อวัยวะ (๓) ชีวิต เป็นเกณฑ์วัดเช่นกัน 

บารมี 3 ระดับ ระดับละ 10 จึงเป็นบารมีสามสิบถ้วน เรียกเป็นคำศัพท์ว่า “สมดึงสบารมี” คำบาลีว่า “สมตึสปารมี” 

ท่านว่าพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ข้อ แต่ละข้อต้องบำเพ็ญถึงระดับ “ปรมัตถบารมี” จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่มีความสามารถจะทำได้ น่าเห็นใจ

: มีความสามารถ แต่ไม่ทำ น่าสังเวช

#บาลีวันละคำ (4,521)

28-10-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *