บาลีวันละคำ

สมณเพศ [2] (บาลีวันละคำ 4,556)

สมณเพศ [2]

ไม่ใช่ สมณะเพศ

อ่านว่า สะ-มะ-นะ-เพด

ประกอบด้วยคำว่า สมณ + เพศ

(๑) “สมณ” 

อ่านว่า สะ-มะ-นะ รากศัพท์มาจาก สมฺ (ธาตุ = สงบ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น

: สมฺ + ยุ > อน = สมน > สมณ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้สงบจากบาปด้วยประการทั้งปวงด้วยอริยมรรค” หรือแปลสั้น ๆ ว่า “ผู้สงบ” หมายถึง นักบวช, ภิกษุ, บรรพชิต

ข้อสังเกต: ศัพท์ที่ลง ยุ ปัจจัย แปลงเป็น อน มักจะเป็นนปุงสกลิงค์ แต่ที่เป็นปุงลิงค์ก็มีบ้าง เช่น “สมณ” ศัพท์นี้เป็นต้น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สมณ” ว่า a wanderer, recluse, religieux (นักบวช, ฤๅษี, สมณะ) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมณ-, สมณะ : (คำนาม) ผู้สงบกิเลสแล้ว โดยเฉพาะหมายถึงภิกษุในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศฺรมณ).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

สมณะ : ‘ผู้สงบ’ หมายถึงนักบวชทั่วไป แต่ในพระพุทธศาสนา ท่านให้ความหมายจำเพาะ หมายถึงผู้ระงับบาป ได้แก่พระอริยบุคคล และผู้ปฏิบัติเพื่อระงับบาป ได้แก่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอริยบุคคล.”

(๒) “เพศ

บาลีเป็น “เวส” อ่านว่า เว-สะ รากศัพท์มาจาก –

(1) วิสฺ (ธาตุ = ชอบใจ) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิสฺ เป็น เอ (วิสฺ > เวส)

: วิสฺ + = วิสณ > วิส > เวส แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่น่าชอบใจ

(2) วิสิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ-(สิ) เป็น เอ (วิสิ > เวสิ), ลบสระที่สุดธาตุ (วิสิ > วิส)

: วิสิ + = วิสิณ > วิสิ > วิส > เวส แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เบียดเบียน” (คือทำให้อึดอัด)

เวส” หมายถึง เครื่องแต่งตัว, เสื้อผ้า; การปลอมตัว, รูปร่าง [ที่ปลอมขึ้น] (dress, apparel; disguise, [assumed] appearance)

เวส” ที่แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่เบียดเบียน” และขยายความว่า “คือทำให้อึดอัด” ก็คือที่หมายถึงการปลอมตัวนี่เอง

เวส” ในภาษาไทยแผลง เป็น และ เป็น จึงเป็น “เพศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เพศ : (คำนาม) รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย; (คำที่ใช้ไวยากรณ์) ประเภทคําในบาลีและสันสกฤตเป็นต้น, ตรงกับ ลิงค์ หรือ ลึงค์; เครื่องแต่งกาย; การประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ. (ป. เวส; ส. เวษ).”

โปรดสังเกตว่า คำนี้บาลีเป็น “เวส เสือ สันสกฤตเป็น “เวษ ฤๅษี แต่ภาษาไทยเขียน “เพศ ศาลา

สมณ + เวส = สมณเวส > สมณเพศ แปลตามศัพท์ว่า “การแต่งตัวเป็นสมณะ” คือการถือเพศเป็นนักบวช

โปรดทราบว่า คำว่า “สมณเพศ” ยังไม่ได้เก็บเป็นคำตั้ง และยังไม่ได้เก็บเป็นลูกคำ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

แต่คำว่า “สมณเพศ” มีใช้ในคำนิยามคำว่า “เพศ” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

สมณเพศ” สะกดอย่างนี้ ไม่ต้องมีสระ อะ หลัง ณ เณร

สมณเพศ” ถูก

สมณะเพศ” ผิด

ขยายความ :

คำว่า “สมณเพศ” เคยเขียนเป็นบาลีวันละคำเมื่อเกือบ 10 ปีมาแล้ว (บาลีวันละคำ (1,381) 11-3-59) 

วันนี้ ผู้เขียนบาลีวันละคำได้อ่านโพสต์ของท่านผู้หนึ่ง ท่านสะกดคำนี้เป็น “สมณะเพศ” เรียกตามภาษาวิชาการว่า “ประวิสรรชนีย์กลางคำ” ภาษาปากว่า ใส่สระ อะ กลางคำ ซึ่งเป็นการสะกดผิด

หลักของการสะกดคำจำพวกนี้ก็คือ คำบาลีสันสกฤตที่สมาสกันและออกเสียง -อะ- กลางคำ พยางค์ที่ออกเสียง -อะ- นั้น ไม่ต้องประวิสรรชนีย์

คำอื่น ๆ เท่าที่นึกได้ เช่น ธุรกิจ อริยทรัพย์ อิสรภาพ วาทกรรม สะกดอย่างนี้ถูกต้อง 

ไม่ต้องประวิสรรชนีย์กลางคำ เป็น ธุระกิจ อริยะทรัพย์ อิสระภาพ วาทะกรรม 

ขอย้ำว่า ธุระกิจ อริยะทรัพย์ อิสระภาพ วาทะกรรม รวมทั้ง สมณะเพศ เป็นคำสะกดผิด อย่าสะกดแบบนี้ อย่าเขียนตามนี้

แต่จงสะกดเป็น ธุรกิจ อริยทรัพย์ อิสรภาพ วาทกรรม และ สมณเพศ

แถม :

ผู้เขียนบาลีวันละคำสงสัยอยู่ไม่วายว่า ท่านที่สะกดคำผิด ในชั่วขณะจิตที่กำลังเขียนผิดสะกดผิดนั้น ท่านคิดอะไรอยู่?

ท่านคิดถึงหลักภาษา?

หรือคิดว่า ภาษาเป็นสิ่งสมมุติ สะกดอย่างไรก็ได้ ไม่มีผิดไม่มีถูก?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ภาษาเป็นสิ่งสมมุติ

: และเป็นข้อพิสูจน์ว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์

#บาลีวันละคำ (4,556)

2-12-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *