บาลีวันละคำ

พิจารณา (บาลีวันละคำ 1,033)

พิจารณา

อ่านว่า พิ-จา-ระ-นา

บาลีเป็น “วิจารณา” (วิ-จา-ระ-นา)

วิจารณา” รากศัพท์มาจาก วิ (วิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + จรฺ (ธาตุ = สั่งสม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง เป็น , ยืดเสียง อะ (ที่ -) เป็น อา, ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วิ + จรฺ = วิจร + ยุ > อน = วิจรน > วิจรณ >วิจารณ + อา = วิจารณา แปลตามศัพท์ว่า “การสั่งสมอย่างแจ่มแจ้ง

ควรรู้ :

วิจารณา” ในภาษาบาลีมีคำที่มีรากศัพท์เดียวกันอีก 2 คำ คือ “วิจารณ” และ “วิจาร

(1) “วิจารณ” (วิ-จา-ระ-นะ) กระบวนการทางไวยากรณ์ก็เหมือน “วิจารณา” นั่นเอง เพียงแต่ไม่ลง อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์. “วิจารณ” เป็นศัพท์ที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “นปุงสกลิงค์”

(2) “วิจาร” (วิ-จา-ระ) กระบวนการทางไวยากรณ์ก็ทำนองเดียวกับ “วิจารณา” แต่ลง ปัจจัย, ลบ , และจบกระบวนการที่ ปัจจัยเท่านั้น

: วิ + จรฺ = วิจร + = วิจาร

เป็นอันว่าศัพท์ในชุดนี้มี 3 คำ คือ วิจาร, วิจารณ, วิจารณา

วิจาร, วิจารณ, วิจารณา เป็นชื่อหนึ่งของ ปัญญา

พจนานุกรมต่างๆ ให้ความหมายไว้ดังนี้ :

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน:

(1) วิจาร : (คำนาม) พิจารณา; วาทยุทธ์หรือวิวาท; consideration; dispute.

(2) วิจารณ, วิจารณา : (คำนาม) วิจาร, การหรือความไตร่ตรอง; deliberation, investigation.

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต :

วิจาร (Vicāra) : sustained application; discursive thinking; deliberation.”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ :

(1) วิจาร : investigation, examination, consideration, deliberation (การสืบสวน, การตรวจสอบ, การพิจารณา, การไตร่ตรอง)

(2) วิจารณ, วิจารณา : (1) investigation, search, attention (การสืบสวน, การแสวงหา, การเอาใจใส่) (2) arranging, planning, looking after; scheme (การจัดแจง, การวางแผน, การดูแล; แผนการ)

ในภาษาไทยแปลง เป็น ตามหลักนิยมที่ทราบกันทั่วไป

วิจาร = พิจาร (พิ-จาน)

วิจารณ = พิจารณ์ (พิ-จาน)

วิจารณา = พิจารณา (พิ-จา-ระ-นา)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิจาร, พิจารณ์, พิจารณา : (คำกริยา) ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน. (ป., ส. วิจาร, วิจารณ, วิจารณา).”

: มีดวงตา แต่ไม่รู้จักดู หนึ่ง

: มีความรู้ แต่ไม่รู้จักวิธีใช้ หนึ่ง

: มีความคิดกว้างไกล แต่ไม่รู้จักพิจารณาให้รู้ถูกรู้ผิด หนึ่ง

ท่านว่า มีก็เหมือนไม่มี

17-3-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย