บาลีวันละคำ

มหัพภาค – มหัปผล (บาลีวันละคำ 4,639)

มหัพภาคมหัปผล

รูปคำชอบกล เลยจับมาคู่กัน

มหัพภาค” อ่านว่า มะ-หับ-พาก

มหัปผล” อ่านว่า มะ-หับ-ผน

มีคำตามที่ตาเห็น 3 คำ คือ “มห” “ภาค” และ “ผล

(๑) “มห” 

ถ้าเป็นคำตามที่ตาเห็น อ่านว่า มะ-หะ แต่รูปเดิมของคำนี้ คือ “มหา” อ่านว่า มะ-หา รูปคำเดิมของ “มหา” ในบาลีคือ “มหนฺต” อ่านว่า มะ-หัน-ตะ รากศัพท์มาจาก มหฺ (ธาตุ = เจริญ) + อนฺต ปัจจัย

: มหฺ + อนฺต = มหนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ขยายตัว” มีความหมายว่า ยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, โต; มาก; สำคัญ, เป็นที่นับถือ (great, extensive, big; much; important, venerable)

มหนฺต” เป็นคำเดียวกับที่ใช้ในภาษาไทยว่า “มหันต์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มหันต-, มหันต์ : (คำวิเศษณ์) ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).”

ในที่นี้ มหันต– มีคำมาเข้าสมาสข้างท้าย เปลี่ยนรูปเป็น “มหา” แล้วลดรูปลงมาเป็น “มห” 

โปรดทราบว่า ที่เป็น “มห” นี้ เป็นเฉพาะเมื่อมีคำมาเข้าสมาสข้างท้ายเท่านั้น ถ้าใช้เป็นคำเดียว ก็ต้องเป็น “มหา” หรือ “มหนฺต

(๒) “ภาค” 

บาลีอ่านว่า พา-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ภชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ ภ-(ชฺ) เป็น อา, แปลง เป็น

: ภชฺ + = ภชณ > ภช > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จำแนกผลดีหรือไม่ดีให้มากขึ้น

(2) ภชฺ (ธาตุ = เสพ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ ภ-(ชฺ) เป็น อา, แปลง เป็น

: ภชฺ + = ภชณ > ภช > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันบุคคลเสพ

(3) ภาชฺ (ธาตุ = จำแนก, แบ่ง) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: ภาชฺ + = ภาชณ > ภาช > ภาค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาแบ่งออก

ภาค” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ :

(1) ส่วน, ภาค, อนุภาค, ส่วนแบ่ง (part, portion, fraction, share)

(2) ส่วน (ของเงิน) ที่แบ่งให้, ค่าธรรมเนียม, ค่าจ้างรางวัล (apportioned share (of money), fee, remuneration)

(3) ส่วนของพื้นที่, สถานที่, ภูมิภาค (division of space, quarter, side, place, region)

(4) ส่วนของเวลา, เวลา (division of time, time)

ในที่นี้ “ภาค” ใช้ในความหมายว่า “ส่วน” ตามข้อ (1) 

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาค, ภาค– : (คำนาม) ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครองการศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).”

(๓) “ผล

บาลีอ่านว่า ผะ-ละ รากศัพท์มาจาก ผลฺ (ธาตุ = สำเร็จ, เผล็ดผล, แตกออก, แผ่ไป) + (อะ) ปัจจัย

: ผลฺ + = ผล แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เผล็ดออก” (2) “สิ่งเป็นเครื่องแผ่ไป” คือขยายพืชพันธุ์ต่อไป (3) “อวัยวะเป็นเครื่องผลิตบุตร” 

ผล” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) ผลของต้นไม้ ฯลฯ (fruit of trees etc.)

(2) ผลที่ได้รับ, ผลที่เกิดตามมา, การสำเร็จผล, พรที่ได้ (fruit, result, consequence, fruition, blessing)

(3) ลูกอัณฑะข้างหนึ่ง (a testicle)

ในที่นี้ “ผล” ใช้ในความหมายตามข้อ (2)

บาลี “ผล” สันสกฤตก็เป็น “ผล

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ – 

(สะกดตามต้นฉบับ)

ผล : (คำนาม) ‘ผล,’ ผลทั่วไป; ผล, อวสาน; บุณโยทัย, สมบัทหรือความรุ่งเรือง; ลาภ, กำไร; รางวัล; โล่; ใบพร้า; หัวลูกศร; ผลจันทน์เทศ; ฤดูของสตรี; ทาน, การให้; ผาล; คุณย์; ผลที่ได้จากการหาร; เนื้อที่ในวงก์กลม, เกษตรผลหรือเนื้อนา, ฯลฯ; สมีกรณ์, สามยะ, หรือบัญญัติตราชู; fruit in general; fruit, result or consequence; prosperity; gain, profit; reward; a shield; the blade of a knife; the head of an arrow; a nutmeg; the menstrual discharge; gift, giving; a ploughshare; the quotient of a sum; the area of a circle, the area of the field, &c.; an equation.”

ผล” ในภาษาไทยอ่านว่า ผน เป็นคำนาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ดังนี้ – 

(๑) ส่วนของพืชที่เจริญมาจากรังไข่ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง. 

(๒) สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว. 

(๓) ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนาได้ผล เรียนได้ผล. 

(๔) ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค. 

(๕) ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล. 

(๖) จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผลเท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. 

การประสมคำ :

มหันต + ภาค แปลง มหันต เป็น มหา แล้วใช้สูตร “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ มหา (มหันต > มหา > มห), ซ้อน ระหว่างศัพท์ เนื่องจาก เป็นพยัญชนะหน้า ในวรรคเดียวกัน (ป ผ ม)

: มหันต > มหา > มห + + ภาค = มหัพภาค (มะ-หับ-พาก) แปลตามศัพท์ว่า “ภาคใหญ่” 

มหันต + ผล แปลง มหันต เป็น มหา แล้วใช้สูตร “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ มหา (มหันต > มหา > มห), ซ้อน ระหว่างศัพท์ เนื่องจาก เป็นพยัญชนะหน้า ในวรรคเดียวกัน ( พ ภ ม)

: มหันต > มหา > มห + + ผล = มหัปผล (มะ-หับ-ผน) แปลตามศัพท์ว่า “ผลมาก

ขยายความ :

คำว่า “มหัพภาค” มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

มหัพภาค : (คำนาม) เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่.”

เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้-ตามที่พจนานุกรมฯ บอก ก็คือเครื่องหมาย “จุด” ใช้เมื่อจบประโยคข้อความเป็นต้น ดังที่เรารู้จักในคำอังกฤษว่า full stop

ส่วนคำว่า “มหัปผล” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 

คำว่า “มหัปผล” ผู้เขียนบาลีวันละคำยกมาจากคำบาลีว่า “มหปฺผล” อ่านว่า มะ-หับ-ผะ-ละ เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า “มีผลมาก

แถม :

ผู้เขียนบาลีวันละคำได้สดับความคิดเห็นทางธรรมของญาติมิตรท่านหนึ่ง ท่านว่า คำที่เราพูดกันว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้ เป็นการเรียงลำดับผิดความจริง ท่านว่าความจริงคือ ปัญญาสำคัญที่สุด ดังนั้น จึงต้องเรียงลำดับเอา ปัญญา ขึ้นก่อนจึงจะถูกต้อง

ผู้เขียนบาลีวันละคำลองค้นในพระไตรปิฎก พบการเรียงลำดับที่อ้างอิงพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งในมหาปรินิพพานสูตร ขอยกมาเสนอในที่นี้เพื่อประกอบการศึกษา ดังนี้ –

…………..

ตตฺรปิ  สุทํ  ภควา  ราชคเห  วิหรนฺโต  คิชฺฌกูเฏ  ปพฺพเต  เอตเทว  พหุลํ  ภิกฺขูนํ  ธมฺมึ  กถํ  กโรติ  

เล่ากันว่าพระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ กระทำธรรมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า –

อิติ  สีลํ  อิติ  สมาธิ  อิติ  ปญฺญา 

ศีลมีอยู่ด้วยประการฉะนี้

สมาธิมีอยู่ด้วยประการฉะนี้

ปัญญามีอยู่ด้วยการฉะนี้

สีลปริภาวิโต  สมาธิ  มหปฺผโล  โหติ  มหานิสํโส  

สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก,

สมาธิปริภาวิตา  ปญฺญา  มหปฺผลา  โหติ  มหานิสํสา  

ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ปญฺญาปริภาวิตํ  จิตฺตํ  สมฺมเทว  อาสเวหิ  วิมุจฺจติ  

จิตอันปัญญาอบรมแล้วย่อมหลุดพ้นด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย

เสยฺยถีทํ  กามาสวา  ภวาสวา  อวิชฺชาสวาติ  ฯ

กล่าวคือ จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.

ที่มา: มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 75

…………..

โปรดสังเกตว่า ในพระไตรปิฎกก็เรียงลำดับเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เรียนธรรม มีผล

: รู้ธรรม มีผลมาก

: ปฏิบัติธรรม มีผลมากกว่า

: บรรลุธรรม มีผลมากที่สุด

#บาลีวันละคำ (4,639)

23-2-68 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *