บาลีวันละคำ

ชาลกรรม (บาลีวันละคำ 4,652)

ชาลกรรม 

ทำอะไรกันเอ่ย

อ่านว่า ชา-ละ-กำ

ประกอบด้วยคำว่า ชาล + กรรม

(๑) “ชาล” 

บาลีอ่านว่า ชา-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) ชล (น้ำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(ล) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ชล > ชาล)

: ชล + = ชลณ > ชล > ชาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในน้ำ” 

(2) (แทนศัพท์ว่า “สีฆ” = เร็ว) + ลา (ธาตุ = จับ, ถือเอา) + (อะ) ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา ( > ชา), ลบสระที่สุดธาตุ (ลา > )

: + ลา = ชลา > ชล + = ชล > ชาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องมือจับเนื้อเป็นต้นที่วิ่งเร็ว” 

ชาล” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ตาข่าย; ร่างแห, เครื่องกีดกัน (a net; netting, entanglement); หลุมพราง, การหลอกลวง (snare, deception) 

บาลี “ชาล” สันสกฤตก็เป็น “ชาล

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ 

(สะกดตามต้นฉบับ)

ชาล : (คำนาม) ข่าย, ร่างแห, ใยเเมลงมุม, เยื่อ; หน้าต่าง, รูต่าง, ช่องลม, ลูกกรงหน้าต่าง; หมู่, คณะ; ดอกตูม, ผะกาอันยังไม่แย้ม; อหังการ, ความจองหอง; มายา, กล, การลวงโลก, สิ่งซึ่งลวง, ความลวง; กดัมพพฤกษ์; เภสัชอย่างใดอย่างหนึ่ง; a net, a cobweb, a web; a window, an eyelet or loophole, a lattice; a multitude, an assemblage; an unblown flower; pride, arrogance; magic, conjuring, illusion, supernatural or natural deception; the Kadamba tree; any medicament or drug.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำนี้เป็น “ชาล” อ่านว่า ชาน และ “ชาล-” ใช้ในกรณีที่มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า ชา-ละ- บอกไว้ดังนี้ –

ชาล, ชาล– : (คำแบบ) (คำนาม) ตาข่าย, ร่างแห; ใยแมงมุม. (ป., ส.).”

หมายเหตุ: “คำแบบ” หมายถึง คำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” อ่านว่า กำ-มะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) กรรม ๑, กรรม– ๑ : (คำนาม) (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม.(๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ.(๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ.(๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.

(2) กรรม ๒, กรรม– ๒ : (คำที่ใช้ในไวยากรณ์) (คำนาม) ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.

ในที่นี้ “กรรม” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) คือหมายถึง การ, การกระทำ, การงาน, กิจ

ชาล + กรรม = ชาลกรรม แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่กระทำด้วยตาข่าย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ชาลกรรม” ไว้ด้วย บอกไว้ว่า – 

ชาลกรรม : (คำนาม) การจับปลา. (ส.).”

ขยายความ :

คำว่า “ชาลกรรม” ถ้าแปลงกลับเป็นบาลีก็ได้รูปเป็น “ชาลกมฺม” (ชา-ละ-กำ-มะ) 

ผู้เขียนบาลีวันละคำค้นศัพท์ในคัมภีร์บาลีเท่าที่มีอยู่ในมือ ไม่พบศัพท์ว่า “ชาลกมฺม” แต่ยังไม่อาจลงความเห็นเด็ดขาดว่า คณะกรรมการชำระพจนานุกรมฯ คิดคำว่า “ชาลกรรม” ขึ้นมาเอง ท่านอาจไปพบว่ามีคำนี้ใช้อยู่เอกสารหรือตำราฉบับใดฉบับหนึ่งก็เป็นได้ ท่านผู้ใดพบว่ามีคำว่า “ชาลกรรม” ใช้อยู่ในเอกสารเก่าที่ไหนบ้าง ถ้าจะกรุณาแจ้งให้ทราบทั่วกันก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

ว่าถึงความหมายตามศัพท์ “ชาลกรรม” ไม่ได้หมายถึงการจับปลาอย่างเดียว การใช้ตาข่ายหรือบ่วงดักสัตว์อื่น ๆ เช่นนกเป็นต้น ก็เป็น “ชาลกรรม” ด้วยเช่นกัน

แถม :

ผู้เขียนบาลีวันละคำอ่านโพสต์ของญาติมิตรทานหนึ่ง ท่านใช้คำว่า “หว่านแห” ก็จึงนึกถึงว่า “แห” บาลีว่าอย่างไร ศัพท์ที่นึกได้คือ “ชาล” จึงดูในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ก็ไปพบคำว่า “ชาลกรรม” เข้า เห็นว่าเป็นคำแปลกตา ก็เลยยกมาเขียนเป็นบาลีวันละคำ

กิริยาที่ใช้คำกับแห พจนานุกรมฯ มีคำว่า “เหวี่ยงแห” ขอยกมาให้ดูทั้ง “เหวี่ยง” และ “เหวี่ยงแห” ดังนี้ –

(1) เหวี่ยง : (คำกริยา) ซัดเบี่ยงไป.

(2) เหวี่ยงแห : (คำวิเศษณ์) ทำคลุม ๆ เช่น พูดเหวี่ยงแห.

ส่วนคำว่า “หว่าน” พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

หว่าน : (คำกริยา) โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดยปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.”

ไม่มีคำว่า “หว่านแห”

ที่คำว่า “แห” พจนานุกรมฯ บอกไว้ว่า –

แห ๑ : (คำนาม) ชื่อเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่าย ใช้ทอดแผ่ลงในน้ำแล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นมา.”

เป็นอันว่า พจนานุกรมฯ บอกกิริยาที่ใช้กับแหว่า “ทอด” รวมกับคำขยายเป็น “ทอดแผ่ลงในน้ำ”

เมื่อใช้แหจับปลา เรามีคำพูดที่ใช้กันว่า “ทอดแห” พจนานุกรมฯ บอกความหมายว่า “เหวี่ยงแหให้แผ่กว้างออกไปเพื่อจับปลาเป็นต้น” ก็คือวนกลับหาคำว่า “เหวี่ยงแห” อีกนั่นแล

และเป็นอันยืนยันว่า ไม่มีคำว่า “หว่านแห”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ภาษาเป็นสมบัติวัฒนธรรมที่โลกยกย่อง

: ใช้ภาษาให้ถูกต้อง เป็นการรักษาสมบัติวัฒนธรรม

#บาลีวันละคำ (4,652)

8-3-68 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *