บาลีวันละคำ

อจนะ-อจละ (บาลีวันละคำ 1,052)

อจนะ-อจละ

ที่วัดศรีชุมในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่เรียกกันว่า “พระอจนะ” มีผู้ให้ความเห็นว่าคำว่า “อจนะ” เลือนมาจากคำว่า “อจละ

อจนะ และ อจละ แปลว่าอะไร ?

(๑) “อจนะ

บาลีมีคำว่า “อจฺจนา” (อัด-จะ-นา) รากศัพท์มาจาก อจฺจฺ (ธาตุ = บูชา) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) + อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: อจฺจ + ยุ > อน = + อจฺจน + อา = + อจฺจนา แปลตามศัพท์ว่า “การบูชา” “ที่บูชา” “เครื่องบูชา

อจฺจนา” ถ้าไม่ลง อา ปัจจัยอิตถีลิงค์ ก็เป็น “อจฺจน” (อัด-จะ-นะ) และย่อมเป็น “อจนะ” ได้เมื่อเขียนเป็นคำไทย

ชื่อพระ “อจนะ” นั้น เวลาออกเสียงจริงๆ จะเป็น พระ อัด-จะ-นะ ก็เท่ากับคำอ่าน “อจฺจน” นั่นเอง

(๒) “อจละ

บาลีมีคำว่า “อจล” (อะ-จะ-ละ) รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + จลฺ (ธาตุ = สั่น, ไหว) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: > + จลฺ = อจล + = อจล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว

อจล” ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง ภูเขา, แผ่นดิน, ลิ่มสลัก ถ้าเป็นคำคุณศัพท์ หมายความว่า ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน

พระพุทธรูปที่วัดศรีชุมนั้น :

ถ้าชื่อ “พระอจนะ” มีความหมายว่า พระที่ควรบูชา

ถ้าชื่อ “พระอจละ” มีความหมายว่า พระที่มั่นคงไม่หวั่นไหว

อภิปราย :

๑ พระพุทธรูปองค์นี้จะชื่อ “พระอจนะ” หรือ “พระอจละ” ควรศึกษาหลักฐาน เช่นเอกสารหรือจารึกชั้นปฐมภูมิว่าเขียนหรือจารึกไว้อย่างไร คำอ่านที่ถูกต้องคืออย่างไร

๒ มีตัวอย่างที่เป็นแนวเทียบคือ พระนามเดิมของปฐมกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย เคยเรียกกันว่า “พ่อขุนบางกลางท่าว” (ท่าว ทหาร ไม้เอก) ต่อมาเมื่อได้ตรวจสอบอักษรที่จารึกก็พบว่า คำว่า “ท่าว” นั้นเป็นคำที่อ่านผิด คำที่ถูก คือ “พ่อขุนบางกลางหาว” (หาว หีบ)

๓ ชื่อ “พระอจนะ” เป็นชื่อที่อ่านผิดแบบนั้นหรือไม่ ถ้าอ่านผิด ชื่อที่ถูกคืออะไร

๔ แต่ถ้า “พระอจนะ” เป็นชื่อที่อ่านถูกต้องแล้ว คำถามคือ มีเหตุผลอะไรจึงมีผู้ให้ความเห็นว่า คำว่า “อจนะ” เลือนมาจากคำว่า “อจละ” ในเมื่อชื่อ “อจนะ” ก็แปลได้ความหมาย

แนวคิดทางธรรม :

๑ ลักษณะของ “อจละไม่หวั่นไหว” ท่านหมายถึงเมื่อโลกธรรมมากระทบก็ไม่กระเทือน กล่าวคือ :

(1) มีลาภ ก็ไม่ฟู่ฟ่า

เสื่อมลาภ ก็ไม่ฟุบแฟบ

(2) มียศ ก็ไม่เห่อเหิม

เสื่อมยศ ก็ไม่ห่อเหี่ยว

(3) ได้รับสรรเสริญ ก็ไม่ครื้นเครง

ถูกนินทา ก็ไม่ขุ่นเคือง

(4) มีสุขมาสัมผัส ก็ไม่ซู่ซ่า

มีทุกข์กระทบ ก็ไม่ซบเซา

๒ มักมีผู้เข้าใจว่า กรณีที่ถูกทักท้วงเตือนติงแล้วไม่รับรู้รับฟัง ยังคงยืนยันยืนหยัดอยู่ในท่าทีเดิม นั่นคือ “อจละไม่หวั่นไหว

ความจริงแล้ว แบบนั้นไม่ใช่ “อจละไม่หวั่นไหว” แต่ท่านเรียก “ทุพฺพจ” (ทุบ-พะ-จะ) แปลว่า ดื้อด้าน

: ผู้ที่ไม่หวั่นไหวตามโลกธรรม ย่อมควรแก่การบูชา

: แต่ผู้ที่ดื้อด้าน ย่อมควรแก่การเอือมระอา

———

(ตามคำขอความอนุเคราะห์ของ มาดาม ไฉไล ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง)

5-4-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย