บาลีวันละคำ

นานัปการ (บาลีวันละคำ 1,108)

นานัปการ

อ่านว่า นา-นับ-ปะ-กาน

บาลีเป็น “นานปฺปการ” อ่านว่า นา-นับ-ปะ-กา-ระ

ประกอบด้วย นานา + ปการ

(๑)  “นานา

เป็นคำจำพวก “นิบาต” (ลักษณะเฉพาะของนิบาตคือ คงรูป ไม่แจกด้วยวิภัตติปัจจัย) แปลตามศัพท์ว่า “อย่างนั้นอย่างนี้” (so and so) คือ ต่างๆ, หลายอย่าง, ปนกันหลายอย่าง, ทุกชนิด (different, divers, various, motley; variously, differently)

โปรดสังเกต :

คำว่า “นานา” มักมีผู้เขียนผิดเป็น “นา ๆ

คำเดิมของบาลีเขียน นา + นา = นานา จึงใช้ไม้ยมกเป็น นา ๆ ไม่ได้

(๒) “ปการ

อ่านว่า ปะ-กา-ระ ประกอบด้วย (ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + การ

(1) “การ” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ” หมายถึง การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ (doing, manner, way); กรรม, การบริการ (deed, service); ผู้ทำ (one who does, maker)

(2) + การ = ปการ แปลตามศัพท์ว่า “ทำทั่วไป” ใช้ในความหมายว่า –

(๑) การทำขึ้น, การจัดขึ้น, การกำหนด, การจัดแจง, การตระเตรียม, วิธี, วิธีการ, ประการ, ทาง (make-up, getting up, fixing, arrangement, preparation, mode, way, manner)

(๒) ส่วนผสม, รสปรุงแต่ง, วิธีทำ (อาหาร) ให้มีรสชาติ (ingredient, flavor, way of making (a food) tasty)

(๓) ประการ, โดยวิธี (a kind, by way of)

นานา + ปการ ซ้อน ปฺ, ลดเสียง อา ที่ (นา)-นา พยางค์หลังเป็น อะ (นา > )

: นานา > นาน + + ปการ = นานปฺปการ แปลว่า มีประการต่างๆ, มีอย่างต่างๆ, หลายอย่างต่างประการ (various, manifold)

นานปฺปการ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “นานัปการ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นานัปการ : (คำวิเศษณ์) มีหลายอย่าง, นานาประการ ก็ว่า. (ป. นานปฺปการ).”

นานัปการ ใช้เป็น “นานาประการ” ก็ได้

แต่อย่าเขียนผิดเป็น “นานับประการ” หรือ “นานับปการ

: กลิ่นหอมจากเครื่องหอมราคาแพงถูกทำลายด้วยกลิ่นเหม็นจากอุจจาระเพียงเล็กน้อย ฉันใด

: ความดีนานัปการที่ทำไว้ย่อมเสียไปด้วยความชั่วแม้เพียงเล็กน้อย ฉันนั้น

6-6-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย