บาลีวันละคำ

ณ (บาลีวันละคำ 1,109)

จาก บาลี ถึง ไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ๑ [นอ] : พยัญชนะตัวที่ ๑๙ เรียกว่า ณอ เณร นับเป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรา กนหรือแม่กน เช่น คุณ บัณฑิต.

(2) ๒ [นะ] : (คำบุรพบท) ใน, ที่, เป็นคําบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, เช่น ณ ที่นั้น ณ ห้องประชุม, ถ้าใช้นําหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ เชียงใหม่ ณ นคร.”

อักษรไทย ถ้าอยู่ตัวเดียว เรามักอ่านเป็นเสียง “ออ” เช่น ก อ่านว่า “กอ” ไม่อ่านว่า “กะ”

” ถ้าอยู่ในฐานะเป็น “พยัญชนะตัวที่ ๑๙” พจน.54 ก็บอกคำอ่านว่า “นอ”

แต่ถ้าเป็นคำบุรพบท อ่านว่า “นะ” ไม่อ่านว่า “นอ”

พจนานุกรม สอ เสถบุตร บอกว่า (นะ) เป็น preposition (บุรพบท) แปลเป็นคำอังกฤษไว้ว่า in, at, on , as

ตัวอย่างเช่น –

“ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๐”

แปลเป็นอังกฤษว่า

Given on the tenth day of the month of February, in the 2510th year of the Buddhist Era

บัดนี้” เป็น adverb (กริยาวิเศษณ์) แปลเป็นอังกฤษว่า here and now

จะเห็นได้ว่า “” ในภาษาไทยมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันดี

ในภาษาบาลีมีคำว่า “ณฏฺฐ” หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แสดงที่มาของศัพท์ไว้ว่า + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน ฏฺ, ลบสระที่สุดธาตุ

: + + ฐา = ณฏฺฐา + = ณฏฺฐา > ณฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ตั้งอยู่ในความรู้” หมายถึง นักปราชญ์, ผู้รู้

และมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า “ ในอรรถแห่ง ญาณ” : = ญาณ (ความรู้)

สรุปว่า “” ตัวเดียวในภาษาบาลีหมายถึง “ญาณ” = ความรู้

แต่พึงทราบว่า “” ในภาษาบาลีต้องประกอบกับคำอื่นเป็นศัพท์ขึ้นใหม่เช่น “ณฏฺฐ” เป็นต้น ไม่มีที่ใช้ “” เดี่ยวๆ ตัวเดียว

สันนิษฐานที่มาของ “” ในภาษาไทย :

” ในภาษาไทยที่เป็นคำบุรพบท (ตามข้อ (2) ๒ ข้างต้น) มาจากไหน ?

ยังไม่พบคำอธิบายว่า “” ที่หมายถึง “ใน” หรือ “ที่” เป็นภาษาไทย หรือมาจากภาษาอะไร

ในภาษาไทยมีคำว่า “นะ” (น หนู) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) นะ ๑ : (คำวิเศษณ์) คําประกอบท้ายคําอื่น บอกความเป็นเชิงอ้อนวอน บังคับ หรือเน้นให้หนักแน่น เป็นต้น เช่น อยู่นะ ไปละนะ.

(2) นะ ๒ : (คำนาม) ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น เขาคงมีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.

” (ณ เณร) ไม่ได้มาจาก “นะ” (น หนู) เป็นแน่

เคยมีผู้สันนิษฐานให้ฟังว่า “” มาจากคำว่า “ใน” กล่าวคือ ผู้เขียนตั้งใจจะเขียนคำว่า “ใน” นั่นเอง เช่น –

ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5”

แต่ตวัดปลายสระ ไม้ม้วน กลับหลังมาติดกับ หนู เมื่อดูเผินๆ ก็เหมือน เณร (โปรดดูภาพประกอบ) ผู้อ่านหรือผู้คัดลอกก็เข้าใจว่าเป็น เณร จึงเขียนเป็น คือกลายเป็น –

วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5”

แล้วก็อ่านกันว่า “นะ” สืบมาจนเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า “” หมายถึง ใน, ที่ และใช้ในความหมายตามที่แสดงไว้ใน พจน.54

ถ้าเป็นจริงตามนี้ ก็ต้องถือว่า “” เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากความเข้าใจผิด แต่ได้รับการยอมรับว่าถูก หรือ “ผิดจนถูก” ไปอีกคำหนึ่ง

อนึ่ง โปรดทราบว่า ไม่ต้องมีจุดตามหลัง คือเขียนว่า ไม่ใช่ ณ.

: เขียน “ใน” อาจกลายเป็น “” ได้

: แต่ทำบาปแล้วจะให้กลายเป็นบุญนั้นหาได้ไม่

7-6-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย