บาลีวันละคำ

ศัตรูคู่อาฆาต (บาลีวันละคำ 1,110)

ศัตรูคู่อาฆาต

(๑) “ศัตรู

บาลีเป็น “สตฺตุ” (สัด-ตุ) รากศัพท์มาจาก สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ตุ ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น

: สสฺ + ตุ = สสตุ > สตฺตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เบียดเบียนคนอื่น” หมายถึง ข้าศึก, ปรปักษ์ (an enemy)

ศัตรู” สันสกฤตเป็น “ศตฺรุ” เราเขียนอิงสันสกฤต และเข้าใจความหมายโดยไม่ต้องรู้คำแปลเดิม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศัตรู : (คำนาม) ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ยเป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคนแล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. สตฺตุ).”

(๒) “อาฆาต

บาลีอ่านว่า อา-คา-ตะ รากศัพท์มาจาก :

(1) อา (ตัดมาจาก อาคนฺตฺวา = มาถึง) + หนฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ , แปลง หนฺ เป็น ฆาต

: อา + หน = อาหน + = อาหนณ > อาหน > อาฆาต แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่มาเบียดเบียน” “อาการที่มาบีบคั้นจิต

(2) อา (แทนความหมายว่า “บีบคั้น”) + ฆา (ธาตุ = ทนไม่ได้) + ปัจจัย

: อา + ฆา + = อาฆาต แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ทนไม่ได้ซึ่งความบีบคั้นที่ศัตรูทำไว้

อาฆาต” เราก็ใช้ทับศัพท์โดยไม่ต้องรู้คำแปลเดิมเช่นกัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาฆาต : (คำกริยา) ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, พยาบาท. (ป., ส.).”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

อาฆาต : (คำนาม) การฆ่า, การตี; แผล; ที่ฆ่าสัตว์; killing, striking; a wound; a slaughter-house.”

พึงสังเกตว่า “อาฆาต” ในบาลีสันสกฤตเป็นคำนาม แต่ในภาษาไทยใช้เป็นคำกริยา

ศัตรูคู่อาฆาต” เป็นคำพูดธรรมดา หมายถึงคนที่ประกาศตัวเป็นศัตรูกันและหาโอกาสทำลายล้างกันอยู่ตลอดเวลา

: ศัตรูที่ประกาศชื่อ

: น่านับถือกว่ามิตรจอมปลอม

8-6-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย