บาลีวันละคำ

สุญญาคาร (บาลีวันละคำ 1,129)

สุญญาคาร

อ่านว่า สุน-ยา-คาน

ประกอบด้วย สุญญ + อคาร

(๑) “สุญญ

บาลีเขียน “สุญฺญ” อ่านว่า สุน-ยะ (มีจุดใต้ ตัวหน้า) รากศัพท์มาจาก :

(1) สุน (การไป) + ปัจจัย, แปลง (ที่ (สุ)- กับ เป็น ญฺญ

: สุน + = สุนย > สุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เกื้อกูลแก่การไป” (คือทำให้ไม่ติดขัด เพราะว่าง โล่ง)

(2) สุนฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง (ที่ (สุ)-นฺ กับ เป็น ญฺญ

: สุนฺ + = สุนย > สุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถึงความว่างเปล่า

ความหมายของ “สุญฺญ

(1) ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ว่างเปล่า, ไม่มีคนอยู่, สูญ, ไม่จริงจัง, ไม่มีแก่นสาร, ไม่มีประโยชน์, เป็นปรากฏการณ์ (empty, uninhabited, void, devoid of reality, unsubstantial, useless, phenomenal)

(2) ใช้เป็นคำนาม หมายถึง ความสูญ, ความว่างเปล่า, ความเหือดหาย (void, emptiness, annihilation)

สุญญ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สุญ” “สุญ-” และ “สุญญ-” (เครื่องหมาย – คือมีคำอื่นสมาสท้าย)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สุญ, สุญ-, สุญญ– : (คำวิเศษณ์) ว่างเปล่า. (ป. สุญฺญ; ส. ศูนฺย).”

(๒) “อคาร

อ่านว่า อะ-คา-ระ รากศัพท์มาจาก อค (เสา) + รา (ธาตุ = ยึด, จับ, ถือเอา) + กฺวิ ปัจจัย, ยืดเสียง อะ ที่ (อ-) เป็น อา ( > คา), ลบ อา ที่สุดธาตุ และ กฺวิ

: อค + รา = อครา + กฺวิ = อครากฺวิ > อครา > อคารา > อคาร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ยึดเสาไว้ไม่ให้ไป” หมายความว่า เสา ฝา หลังคา และเครื่องประกอบต่างๆ ถูกยึดไว้ตรงนั้น ไปไหนไม่ได้ ที่ตรงนั้นจึงชื่อว่า “อคาร

ภาษาบาลีเป็น “อคาร” แต่บางสำนักบอกว่าเป็น “อาคาร” ก็มี หมายถึงมีทั้งรูป “อคาร” และ “อาคาร

แต่ฝรั่งผู้จัดทำพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกว่าที่บางสำนักบอกว่าเป็น “อาคาร” ก็มีนั้นเป็นความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากเห็นรูปคำสมาส เช่น “กูฏาคาร” (กู-ตา-คา-ระ, แปลว่า เรือนที่มียอด) แล้วแยกคำผิด คือไปแยกเป็น กูฏ + อาคาร = กูฏาคาร ความจริงแล้วที่เห็นเป็นรูป –าคาร นั้นเป็นไปตามกฎการสนธิ คือ ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(คาร) เป็น อา– : กูฏ + อคาร จึงเป็น กูฏาคาร ไม่ใช่เกิดจาก กูฏ + อาคาร ดังที่เข้าใจผิด

อย่างไรก็ตาม คำนี้ในภาษาไทยใช้ว่า “อาคาร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาคาร : เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ”

สุญฺญ + อคาร = สุญฺญาคาร แปลตามศัพท์ว่า “โรงเรือนที่ว่างเปล่า

คำว่า “สุญฺญาคาร” เราใช้ทับศัพท์ว่า “สุญญาคาร” ในคัมภีร์มักพบกล่าวถึงเป็นชุดในฐานะเป็นสถานที่อันเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม คือ อรญฺญ = ป่า, รุกฺขมูล = โคนไม้ และ สุญฺญาคาร = เรือนว่าง

ผู้ใฝ่รู้มักถกเถียงกันว่า “สุญฺญาคาร” หมายถึงสถานที่เช่นไรกันแน่ เนื่องมาจากความสงสัยว่า อาคารบ้านเรือนที่ว่างหรือที่ร้างไม่มีคนอยู่ ที่ภิกษุจะไปอาศัยนั่งปฏิบัติธรรมได้นั้นไม่น่าจะมีอยู่ในที่ทั่วๆ ไป

บางท่านจึงให้ความเห็นว่า “สุญฺญาคาร” ควรแปลว่า “ที่ว่างจากเรือน” (แปลจากข้างหน้ามาหลัง) หมายถึงสถานที่อันห่างไกลจากบ้านเรือน

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุญฺญาคาร” ว่า an uninhabited shed; solitude (เรือนว่างหรือไม่มีคนอยู่; ความโดดเดี่ยว)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า

สุญญาคาร : “เรือนว่าง”, โดยนัย หมายถึง สถานที่ที่สงัด ปลอดคน ปราศจากเสียงรบกวน, มักมาในข้อความว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่า ก็ดี ไปสู่โคนไม้ ก็ดี ไปสู่สุญญาคาร ก็ดี …” ซึ่งท่านมักอธิบายว่า สุญญาคาร ได้แก่ เสนาสนะ (อันสงัด) ทั้ง 7 ที่นอกจากป่าและโคนไม้ กล่าวคือ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง”

สถานที่บำเพ็ญธรรม : ศัพท์บาลีที่ควรรู้ 9 คำ

(1) อรญฺญ (อะรัญญะ) = ป่า

(2) รุกฺขมูล (รุกขะมูละ) = โคนไม้

(3) ปพฺพต (ปัพพะตะ) = ภูเขา

(4) กนฺทรา (กันทะรา) = ซอกเขา

(5) คิริคุหา (คิริคุหา) = ถ้ำ

(6) สุสาน (สุสานะ) = ป่าช้า

(7) วนปตฺถ (วะนะปัตถะ) = ป่าชัฏ

(8) อพฺโภกาส (อัพโภกาสะ) = ที่แจ้ง

(9) ปลาลปุญฺช (ปะลาละปุญชะ) = ลอมฟาง

3-9 คือที่เรียกรวมๆ ว่า “สุญญาคาร

คำว่า “สุญญาคาร” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

: ถ้าใจสงบ แม้อยู่กลางสนามรบก็เบาสบาย

: ถ้าใจเคว้งคว้าง อยู่ในเรือนว่างๆ ก็วุ่นวาย

28-6-58

ต้นฉบับ