บาลีวันละคำ

เวลา (บาลีวันละคำ 1,130)

เวลา

อ่านว่า เว-ลา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เวลา : (คำนาม) ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกําหนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง ขอเวลาสักครู่. (ป., ส.)”.

ในภาษาไทย เราใช้คำว่า “เวลา” ในความหมายตามพจนานุกรมนี้

แต่ในภาษาบาลี “เวลา” มีรากศัพท์มาหลายทาง จึงมีความหมายหลายอย่าง

(1) รากศัพท์มาจาก : วินาสํ ลาตีติ เวลา.

วิ (ตัดมาจากคำว่า วินาส = ความเสื่อม) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ วิ เป็น เอ (วิ > เว)

: วิ + ลา = วิลา + = วิลาณ > วิลา > เวลา แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถือเอาความเสื่อม” (คือเมื่อสิ่งนี้ล่วงไป ก็นำเอาความเสื่อมมาให้แก่สรรพสิ่ง)

(2) รากศัพท์มาจาก : เวลยติ ขณมุหุตฺตาทิวเสน อุปทิสียตีติ เวลา.

เวลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: เวลฺ + = เวล + อา = เวลา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปโดยเป็นขณะเป็นครู่หนึ่งเป็นต้น

เวลา” ตามข้อ (1) และ (2) หมายถึง เวลา, กาลเวลา (time, point of time)

(3) รากศัพท์มาจาก : วิคจฺฉนฺติ อิรา ยสฺสํ สา เวลา.

วิ (ตัดมาจากคำว่า วิคต = หายไป, ไม่มี) + อิรา (น้ำ) แผลง อิ ที่ วิ เป็น เอ (วิ > เว), แปลง เป็น

: วิ + อิรา = วิรา > เวรา > เวลา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ปราศจากน้ำ” (คือน้ำอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งไม่มีน้ำ)

เวลา” ตามข้อ (3) นี้ หมายถึง ฝั่ง, ฝั่งทะเล (shore, sea-shore)

(4) รากศัพท์มาจาก : เวลยติ ปริจฺเฉทวเสน ติฏฺฐตีติ เวลา.

เวลฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: เวลฺ + = เวล + อา = เวลา แปลตามศัพท์ว่า “แนวที่เป็นไปโดยเป็นเครื่องกำหนด

เวลา” ตามข้อ (4) นี้ หมายถึง ขอบเขต, เขตแดน (limit, boundary), เกณฑ์, การจำกัด, การควบคุม (measure, restriction, control)

สรุปว่า “เวลา” มีความหมายหลายอย่าง :

(1) เวลา, กาลเวลา

(2) ฝั่ง, ฝั่งทะเล

(3) ขอบเขต, เขตแดน, เกณฑ์, การจำกัด, การควบคุม

: เราไม่มีเวลาที่จะเรียนรู้ความหมายของคำได้หมดทุกคำ

: แต่เรามีเวลาที่จะปฏิบัติธรรมได้เท่ากันทุกคน

29-6-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย