บาลีวันละคำ

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน (บาลีวันละคำ 1,156)

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

อ่านว่า สุ-รา-เม-ระ-ยะ-มัด-ชะ-ปะ-มา-ทัด-ถาน

แยกศัพท์เป็น สุรา + เมรย + มัชช + ปมาท + ฐาน

(๑) “สุรา

รากศัพท์มาจาก –

(1) สุร (พรานป่าชื่อ “สุระ”) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สุร + = สุร + อา = สุรา แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องดื่มอันพรานป่าชื่อสุระปรุงขึ้นครั้งแรก

(2) สุ (ธาตุ = ไหลไป, ดื่ม) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สุ + = สุร + อา = สุรา แปลตามศัพท์ว่า (๑) “เครื่องดื่มที่ไหลไป” (๒) “เครื่องดื่มที่ยังผู้คนให้ดื่ม” (คือทำให้ติดแล้วต้องดื่มเรื่อยไป)

(3) สุร (กล้า) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สุร + = สุร + อา = สุรา แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องดื่มที่ทำให้ผู้ดื่มเป็นคนกล้า

สุรา” หมายถึง น้ำเมาที่ต้มกลั่นแล้ว คือเหล้า เรียกทับศัพท์ว่า สุรา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สุรา” ว่า drink (เครื่องดื่ม), spirituous (intoxicating) liquor (สุรา)

(๒) “เมรย” (เม-ระ-ยะ)

รากศัพท์มาจาก –

(1) มทฺ (ธาตุ = มึนเมา) + เณยฺย ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(ทฺ) เป็น เอ (มทฺ > เมทฺ), แปลง เป็น , ลบ เณยฺ ที่ เณยฺย (เณยฺย > )

: มทฺ > เมทฺ > เมรฺ + เณยฺย = เมรเณยฺย > เมรย แปลตามศัพท์ว่า “ของเป็นเหตุให้มึนเมา

(2) มท (มึนเมา) + ณฺย ปัจจัย, แปลง อะ ที่ -(ท) เป็น เอ (มท > เมท), แปลง เป็น , ลบ ที่ ณฺย (ณฺย > )

: มท > เมท > เมร + ณฺย = เมรณฺย > เมรย แปลตามศัพท์ว่า “ของที่ยังความมึนเมาให้เกิด

เมรย” หมายถึง น้ำเมาที่เกิดจากการหมักดอง ยังไม่ได้ต้มกลั่น ในภาษาไทยใช้ว่า “เมรัย” (เม-ไร)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “เมรย” ว่า a sort of intoxicating liquor, spirits, rum (น้ำเมา, เหล้า, เมรัย)

(๓) “มัชช

บาลีเป็น “มชฺช” (มัด-ชะ) รากศัพท์มาจาก มทฺ (ธาตุ = บ้าคลั่ง) + ปัจจัย, แปลง ทฺย (คือ ทฺ ที่สุดธาตุ + ปัจจัย) เป็น , ซ้อน ชฺ

: มทฺ + = มทฺย > มช + = มชฺช แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเหตุบ้าคลั่งแห่งผู้คน

มชฺช” หมายถึง ของมึนเมา, ของที่เป็นเหตุให้มึนเมา, ความมึนเมา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “มชฺช” ว่า

(1) intoxicant, intoxicating drink, wine, spirits (น้ำเมา, เครื่องดองของเมา, เหล้า, สุรา)

(2) drinking place (ร้านเหล้า)

(๔) “ปมาท” (ปะ-มา-ทะ)

รากศัพท์มาจาก (ทั่วไป, ข้างหน้า) + มทฺ (ธาตุ = มัวเมา) + ปัจจัย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(ทฺ) เป็น อา (มท > มาท)

: + มทฺ = ปมทฺ + = ปมทณ > ปมท > ปมาท แปลตามศัพท์ว่า “ความเมาทั่ว” ไขความว่า คือ “ภาวะเป็นเหตุให้บุคคลแม้จะมีความสามารถก็ไม่ทำกิจที่พึงทำด้วยตัวเอง”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปมาท” ว่า carelessness, negligence, indolence, remissness (ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความสะเพร่า, ความเฉื่อยชาหรือเฉยเมย)

ปมาท” ในภาษาไทยนิยมใช้ว่า “ประมาท” (ปฺระ-หฺมาด)

(๕) “ฐาน

บาลีอ่านว่า ถา-นะ รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: ฐา + ยุ > อน = ฐาน แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้งแห่งผล

ฐาน” ใช้ในความหมายหลายอย่างตามแต่บริบท เช่น สถานที่, เขตแคว้น, ตำบล, แหล่ง, ที่อาศัย, ฐานะ, การตั้งอยู่, การดำรงอยู่, การหยุดอยู่, การยืน, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, เหตุ, โอกาส (ภาษาอังกฤษอาจใช้ได้หลายคำ เช่น place, region, locality, abode, part, state, condition, standing position, location, ground)

สุรา + เมรย + มชฺช + ปมาท + (ฏฺ) + ฐาน = สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐาน

เขียนแบบบาลีอ่านว่า สุ-รา-เม-ระ-ยะ-มัด-ชะ-ปะ-มา-ทัด-ถา-นะ

เขียนแบบไทย สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

อ่านว่า สุ-รา-เม-ระ-ยะ-มัด-ชะ-ปะ-มา-ทัด-ถาน

วิธีแปล :

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐาน แบ่งคำเป็น 2 กลุ่ม คือ –

(1) สุราเมรยมชฺช คำแปลตามมติเดิมว่า ของเมา (มชฺช) คือ สุรา (สุรา) และ เมรัย (เมรย)

มติใหม่ของผู้รู้บางท่านแปลว่า สุรา (สุรา) เมรัย (เมรย) และ ของเมาอื่นๆ (มชฺช)

(2) ปมาทฏฺฐาน แปลว่า “ที่ตั้งแห่งความประมาท

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐาน แปลรวมกันว่า “ของเมาคือสุราและเมรัย (สุรา เมรัย และของเมาอื่นๆ) อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน” เป็นศีลข้อที่ 5 ในศีล 5 ศีล 8 และศีล 10

องค์ประกอบที่ตัดสินว่าเป็น “สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน” มี 4 คือ :

(1) มชฺชภาโว สิ่งนั้นเป็นของเมา เช่นสุราและยาเสพติดอื่นๆ

(2) ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ มีเจตนาจะดื่ม/เสพ

(3) ตชฺโช  วายาโม ปฏิบัติการดื่ม/เสพ

(4) ตสฺส  ปานํ ของเมาเข้าสู่ร่างกาย ถ้าเป็นการดื่มก็ล่วงลำคอเข้าไป

: ความเมาที่น่ากลัว คือไม่รู้ตัวว่ากำลังเมา

25-7-58

ต้นฉบับ