บาลีวันละคำ

เวสสันดร-แพศยันดร (บาลีวันละคำ 1,172)

เวสสันดรแพศยันดร

อ่านว่า เวด-สัน-ดอน / แพด-สะ-ยัน-ดอน

(เฉพาะ แพศยันดร จะออกเสียงว่า แพด-เซียน-ดอน ก็ได้)

เวสสันดร” บาลีเป็น “เวสฺสนฺตร” (เวด-สัน-ตะ-ระ)

นัย ๑

เวสฺสนฺตร” แยกศัพท์ตามรูปคำที่ตามองเห็นเป็น เวสฺส (เวด-สะ) + อนฺตร (อัน-ตะ-ระ)

(๑) “เวสฺส” รากศัพท์มาจาก วิสฺ (ธาตุ = ไป, เข้าไป) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ วิ-เป็น เอ

: วิสฺ + = วิสฺส > เวสฺส แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ไปทางโน้นทางนี้ด้วยความอยากได้ทรัพย์” (2) “ผู้เข้าไป” ( = เข้าไปติดต่อทำกิจการต่างๆ)

เวสฺส” เป็นวรรณะหนึ่งในสี่ของสังคมอินเดีย ( = กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร) หมายถึงคนสามัญ (a man of the people) ที่มิได้อยู่ในวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ และศูทร ตามที่เข้าใจกันก็คือ คนที่ประกอบอาชีพอิสระทั่วไป เช่น เกษตรกร พ่อค้า แต่มักเน้นที่ “พ่อค้า” (ตามรากศัพท์ที่แสดงข้างต้นก็หมายถึงพ่อค้าหรือคนค้าขาย)

(๒) “อนฺตร” รากศัพท์มาจาก อติ (ธาตุ = ผูก) + อร ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ (อติ > อํติ) แล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ (อํติ > อนฺติ), ลบสระที่สุดธาตุ (-ติ > )

: อติ > อํติ > อนฺติ > อนฺต + อร = อนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่ผูกสองข้างไว้” หมายถึง ภายใน, ระหว่าง (inside, in between)

เวสฺส + อนฺตร = เวสฺสนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “ระหว่างพ่อค้า” หมายถึง ผู้อยู่ระหว่างพ่อค้า คืออยู่ในกลุ่มพ่อค้า หรืออยู่ในย่านการค้า

นัย ๒

เวสฺสนฺตร” รากศัพท์มาจาก –

(1) เวสฺส (พ่อค้า) + ตร ปัจจัย, ซ้อน นฺ

: เวสฺส + นฺ + ตร = เวสฺสนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดที่ถนนพ่อค้า

(2) เวสฺส (พ่อค้า) + ตรฺ (ธาตุ = ข้าม) + ปัจจัย, ซ้อน นฺ

: เวสฺส + นฺ + ตรฺ + = เวสฺสนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ข้ามตรอกพ่อค้า

รากศัพท์ตามนัย ๒ นี้ “เวสฺสนฺตร” หมายถึง พระเวสสันดรในชาดกซึ่งตามประวัติในคัมภีร์แสดงไว้ว่าประสูติในระหว่างที่พระมารดาเสด็จประพาสพระนครถึงย่านการค้าพอดี

การกลายรูปคำ :

๑ “เวสฺสนฺตร” (เวด-สัน-ตะ-ระ) ในภาษาไทยใช้อิงบาลีเป็น “เวสสันดร” (เวด-สัน-ดอน)

๒ สำนวนภาษาในวรรณคดีบางเรื่อง “เวสฺสนฺตร” ใช้อิงสันสกฤตเป็น “แพศยันดร” (อ่านว่า แพด-สะ-ยัน-ดอน หรือ แพด-เซียน-ดอน) :

เวสฺส” ในบาลี เป็น “ไวศฺย” ในสันสกฤต และเป็น “แพศย” (แพด-สะ-ยะ) ในภาษาไทย นั่นคือ : –ในสันสกฤต เป็น — ในภาษาไทย

คำอื่นๆ ที่เป็นแนวเทียบ เช่น –

ไทตฺย (เวตาล, ปิศาจ) : แทตย์ (ยักษ์, อสูร)

ไวทฺย (หมอยา, หมอรักษาโรค) : แพทย-, แพทย์ (หมอรักษาโรค)

ไสนฺย (กองทัพ; ทหาร) : แสนย-, แสนย์ (คนในกองทัพ, ทหาร) เช่นคำว่า แสนยากร (หมู่ทหาร, กองทัพ)

ดังนั้น :

ไวศฺย < เวสฺส จึงเป็น “แพศย

เวสฺสนฺตร จึงเป็น “แพศยันดร” (แพศย + อันดร : เวสฺส + อนฺตร)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เวสสันดร : (คำนาม) พระนามพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาติ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีใจกว้างขวางชอบให้ของแก่ผู้อื่นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น ใจกว้างเหมือนพระเวสสันดร มีอะไรให้เขาหมด. (ป.).”

น้ำใจมีค่ากว่าน้ำเงิน >

: น้ำเงินมากแค่ไหน ก็ช่วยได้แค่โลกนี้

: น้ำใจไมตรี ช่วยไปจนถึงพระนิพพาน

————-

(ตามข้อสงสัยของ ณัฐนรินทร์ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์)

14-8-58

ต้นฉบับ