บาลีวันละคำ

อนาจาร (บาลีวันละคำ 1,193)

อนาจาร

อ่านว่า อะ-นา-จาน

บาลีอ่านว่า อะ-นา-จา-ระ

อนาจาร” มาจาก + อาจาร

(๑) “อาจาร” (อา-จา-ระ) รากศัพท์มาจาก อา (ทั่วไป, ยิ่ง) + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา (จรฺ > จารฺ)

: อา + จรฺ = อาจรฺ + = อาจรณ > อาจร > อาจาร แปลตามศัพท์ว่า “การประพฤติทั่ว” = อันใดที่ควรประพฤติ ก็ประพฤติอันนั้นทั่วทั้งหมด ไม่บกพร่อง

ความหมายของ อาจาร :

(1) เป็นคำนาม = การวางตัว, ความประพฤติ, การปฏิบัติ, ความประพฤติชอบ, กิริยามารยาทที่ดี (way of behaving, conduct, practice, right conduct, good manners)

(2) เป็นคำคุณศัพท์ = ประพฤติดี, ประพฤติชอบ, มีความประพฤติเช่นนั้นเป็นกิจวัตร (practising, indulging in, or of such & such a conduct)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาจาร, อาจาร– : (คำนาม) ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).”

(๒) (ไม่ใช่, ไม่มี) + อาจาร, แปลง เป็น อน (อะ-นะ) (ตามกฎ: ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ให้แปลง เป็น อน)

: > อน + อาจาร= อนาจาร แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีความประพฤติที่ดี” หมายถึง ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติผิด, ความไม่มีศีลธรรม (bad behaviour, misconduct, immorality)

พจน.54 บอกไว้ว่า –

อนาจาร : (คำนาม) ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทําการลามกอย่างอื่น. (คำวิเศษณ์) ลามก, น่าบัดสี, ทําให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม. (ป., ส.).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “อนาจาร” เฉพาะที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ไว้ว่า –

อนาจาร : ความประพฤติไม่ดีไม่งามไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น 3 ประเภท คือ

1. การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก

2. การร้อยดอกไม้

3. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์

ข้อที่ควรเข้าใจ :

๑ อนาจาร มิได้หมายถึงเฉพาะการกระทําอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล เช่น เปลือยกาย หรือเปิดเผยร่างกายส่วรที่ควรปกปิด หรือกระทําการลามกอย่างอื่นตามที่เรามักเข้าใจกันในภาษาไทยเท่านั้น

๒ การกระทำสิ่งใดๆ ที่นอกแนวทางอันรู้กันอยู่ว่าผู้อยู่ในสถานะนั้นๆ ไม่พึงทำ เช่น เป็นนักเรียน แต่หนีเรียน เป็นทหาร แต่งเครื่องแบบไม่สวมหมวกออกนอกอาคารสถานที่ เป็นพระสงฆ์ แต่ร่วมโต๊ะกินดื่มกับคฤหัสถ์ เป็นต้น ก็นับว่าเป็น “อนาจาร” ด้วย

๓ อนึ่ง ผู้อยู่ในสถานะนั้นๆ ควรทำกิจใดๆ อันเป็นหน้าที่ แต่ไม่ทำกิจนั้นๆ โดยไม่มีเหตุอันควร ก็ควรถือว่าเป็น “อนาจาร” ชนิดหนึ่งด้วยโดยอนุโลม ตามนัยที่ว่า “ไม่มีความประพฤติที่ดี

: วิสัยพาล แม้ประพฤติอนาจารก็ไม่ยอมรับว่าผิด

: วิสัยบัณฑิต แม้แตจิตก็ไม่กล้าคิดอนาจาร

4-9-58

ต้นฉบับ