บาลีวันละคำ

อัตวินิบาตกรรม (บาลีวันละคำ 1,194)

อัตวินิบาตกรรม

อ่านว่า อัด-ตะ-วิ-นิ-บาด-ตะ-กำ

ประกอบด้วย อัต + วินิบาต + กรรม

(๑) “อัต

บาลีเป็น “อตฺต” (อัด-ตะ) มาจากรากศัพท์ดังนี้ :

(1) อตฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไปต่อเนื่อง) + ปัจจัย

: อตฺ + = อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้ทำให้ชีวิตดำเนินต่อเนื่องไปได้” (คือเมื่ออัตตายังมีอยู่ ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไปได้)

๒) “ผู้ถึงทุกข์ต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็มีทุกข์เข้ามาอย่างไม่รู้จบ)

๓) “ผู้เป็นไปเพื่ออาพาธต่อเนื่อง” (คือเมื่อยังมีอัตตา ก็ยังต้องเจ็บป่วย ถูกบีบคั้นด้วยโรคภัยไม่รู้จบ)

(2) อทฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง เป็น

: อทฺ + = อทต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า –

๑) “ผู้เสวยสุขและทุกข์” (คือต้องพบทั้งสุขและทุกข์ควบคู่กันไป จะเลือกเสวยแต่สุขอย่างเดียวหาได้ไม่)

๒) “ผู้ถูกกิน” (คือถูกความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายมันกินเอา)

(3) อา (แทนศัพท์ว่า “อาหิต” = ตั้งลง, หยั่งลง) + ธา (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ อา (อา > )และ อา ที่ ธา (ธา > ) , แปลง ธฺ เป็น ตฺ

: อา + ธา = อาธา + = อาธาต > อธาต > อธต > อตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความถือตัวว่าเป็นเรา” (เพราะมีอัตตา จึงมีการยึดถือว่าตัวกูของกู)

อตฺต” เรามักคุ้นในรูป “อตฺตา” ซึ่งเป็นรูปที่แจกด้วยวิภัตติที่หนึ่ง (อตฺต เป็นรูปคำเดิม อตฺตา เป็นรูปคำที่แจกวิภัตติ)

อตฺตา” แปลตามที่เข้าใจกันคือ “ตัวตน” (self, soul)

อตฺตา” หมายถึง ตัว, ตน, ตัวตน, ร่างกาย, จิตใจ

ในทางปรัชญา “อตฺตา” หมายถึง ความยึดมั่นในตัวเอง ที่เรียกกันว่า “ตัวกูของกู” หรือที่รู้กันในคำอังกฤษว่า ego

อตฺตา ในภาษาไทยเขียนเป็น “อัตตา” ในที่นี้ใช้เป็น “อัตต” และเพราะสมาสกับคำอื่นจึงตัด ออกตัวหนึ่งตามหลักนิยมในคำไทย จึงเป็น “อัต-”

(๒) “วินิบาต

บาลีป็น “วินิปาต” (วิ-นิ-ปา-ตะ) รากศัพท์มาจาก วิ (พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + นิ (เข้า, ลง) + ปตฺ (ธาตุ = ตกไป) + ปัจจัย, ยืดเสียง อะ ที่ -(ตฺ) เป็น อา (ปตฺ > ปาต)

: วิ + นิ + ปตฺ = วินิปตฺ + = วินิปตณ > วินิปต > วินิปาต แปลตามศัพท์ว่า (1) “การตกไปโดยพิเศษ” (2) “ภพที่ผู้ทำกรรมชั่วตกไปไร้อำนาจ” (3) “ภพเป็นที่ตกไปพินาศมีอวัยวะน้อยใหญ่แหลกเหลว

วินิปาต” หมายถึง ความพินาศ, การทำลาย; สถานที่มีความทุกข์, สถานะแห่งการทำโทษ (ruin, destruction; a place of suffering, state of punishment)

วินิปาต ในภาษาไทยใช้เป็น “วินิบาต” (วิ-นิ-บาด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วินิบาต : (คำนาม) การทําลาย, การฆ่า, เช่น วินิบาตกรรม; ภพที่ต้องโทษ, ภพที่รับทุกข์, เช่น ทุคติวินิบาต. (ป., ส.).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

วินิบาต : “โลกหรือวิสัยเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์อย่างไร้อำนาจ [คือช่วยตัวเองไม่ได้เลย]”, “แดนเป็นที่ตกลงไปพินาศย่อยยับ”, สภาพตกต่ำ, ภพคือภาวะแห่งชีวิตที่มีแต่ความตกต่ำเสื่อมถอยย่อยยับ.”

ปกติ “วินิบาต” หมายถึงทุคติภูมิชนิดหนึ่ง บางทีหมายถึงนรก บางทีหมายถึงกำเนิดอสูรกาย

ในที่นี้ “วินิบาต” หมายถึง “การทำให้-ตกไป

(๓) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (กรฺ > ) และ ที่ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำ” หมายถึง การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work)

กมฺม” สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

อัต + วินิบาต + กรรม = อัตวินิบาตกรรม แปลตามศัพท์ว่า “การทำให้ตัวเองตกลงไป

พจน.54 บอกไว้ว่า –

อัตวินิบาตกรรม : (คำนาม) การฆ่าตัวตาย.”

: ถ้าฆ่าอัตตา (ego) ได้

: ก็ไม่ต้องฆ่าตัวตาย

5-9-58

ต้นฉบับ