บาลีวันละคำ

กษัตริย์ (บาลีวันละคำ 1,218)

กษัตริย์

ทำไมจึงเขียนอย่างนี้

กษัตริย์” เป็นรูปคำที่เราเขียนอิงสันสกฤต “กฺษตฺริย” บาลีเป็น “ขตฺติย

ขตฺติย” อ่านว่า ขัด-ติ-ยะ รากศัพท์มาจาก –

(๑) ขตฺต + อิย ปัจจัย

๑) “ขตฺต” (ขัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก ขฏฺฏ (ธาตุ = ป้องกัน) + ปัจจัย, แปลง ฏฺฏ เป็น ตฺต

: ขฏฺฏ + = ขฏฺฏ > ขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ป้องกันเขตแคว้น” หมายถึง การปกครอง, อำนาจ, สมบัติ (rule, power, possession)

๒) ขตฺต + อิย = ขตฺติย แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้เป็นใหญ่ในการปกครอง” (2) “ผู้มีอำนาจ” (3) “ผู้มีสมบัติ

(๒) เขตฺต + อิย ปัจจัย

๑) “เขตฺต” (เขด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ขิปฺ (ธาตุ = หว่าน, กระจายออก) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ขิ-(ปฺ) เป็น เอ, ลบ ปฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน

: ขิปฺ > เขป + = เขปต > เขต + = เขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่หว่านพืช

(2) ขิตฺต (เมล็ดพืชที่หว่านไป) + ตา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ขิ-(ตฺต) เป็น เอ, ลบ ที่ (ขิตฺ)- (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบที่สุดบทหน้า”), ลบสระที่สุดธาตุ: ตา >

: ขิตฺต + ตา = ขิตฺตตา > ขิตฺตต + = ขิตฺตต > ขิตฺต > เขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่รักษาพืชที่หว่านไว้

เขตฺต” หมายถึง :

(1) นา, ที่ดินแปลงหนึ่ง, ที่ดินอันเหมาะสมแก่การเพาะปลูก, ที่ตั้ง (a field, a plot of land, arable land, a site)

(2) ที่อันเป็นเนื้อนาบุญ, กองแห่งกุศลกรรม (the soil of merit, the deposit of good deeds)

๒) เขตฺต + อิย ปัจจัย, ลบ เอ ที่ เข-(ตฺต) (เขตฺต > ขตฺต)

: เขตฺต + อิย = เขตฺติย > ขตฺติย แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้เป็นเจ้าของนา” (2) “ผู้เป็นใหญ่ของพวกชาวนา

ขตฺติย” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน, หัวหน้าเผ่า (king, chieftain) เราเรียกทับศัพท์สันสกฤตว่า “กษัตริย์

สังเกตการกลายรูปอย่างง่ายๆ :

ในบาลีเป็น กฺษ ในสันสกฤต เช่น ขัย = กษัย, เขม = เกษม, ขีณ > กษีณ = เกษียณ

ดังนั้น -(ตฺติย) จึงเป็น กฺษ(ตฺริย)

ตฺต ในบาลี เป็น ตฺร ในสันสกฤต เช่น ฉตฺต = ฉตฺร (ฉัตร), ปตฺต = ปตฺร (บัตร)

ดังนั้น : ขตฺต = กฺษตฺร > ขตฺติ = กฺษตฺริ > ขตฺติย = กฺษตฺริย > กษัตริย > กษัตริย์ นั่นคือ เราต้องการออกเสียงว่า กะ-สัด จึงใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ และทำให้ –ริ-ไม่ต้องออกเสียงไปด้วย

: ตำแหน่งกษัตริย์เป็นของสมมุติ

: แต่การบำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์เป็นของจริง

————

(ตามความประสงค์ของ Somchit Wattanakulung)

29-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย