บาลีวันละคำ

ภิรมย์ – อภิรมย์ (บาลีวันละคำ 1,219)

ภิรมย์อภิรมย์

ภิรมย์ = รื่นเริง

+ ภิรมย์ = ไม่รื่นเริง ?

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า คำว่า “ภิรมย์” ให้ดูที่คำว่า “อภิรมย์

ที่คำว่า “อภิรมย์” พจน.54 บอกไว้ว่า –

อภิรมย์ : (คำกริยา) รื่นเริงยิ่ง, ดีใจยิ่ง, ยินดียิ่ง; พักผ่อน; ใช้ว่า ภิรมย์ ก็มี. (ส.; ป. อภิรมฺม).”

เมื่อใช้ว่า “ภิรมย์” นานเข้า คนก็เข้าใจไปว่าคำนี้เป็นคำเดิมคำเต็ม ไม่ได้นึกว่าตัดมาจาก “อภิรมย์” ครั้นไปเห็นคำ “อภิรมย์” เข้าก็จึงเข้าใจว่า

๑. อภิรมย์ มาจาก + ภิรมย์

๒. ความรู้เดิมมีอยูว่า “-” แปลว่า ไม่, ไม่ใช่

๓. อภิรมย์ จึงแปลว่า “ไม่ภิรมย์” คือไม่รื่นเริง

ปรับความเข้าใจ :

๑. “ภิรมย์” ตัดมาจากคำเต็ม “อภิรมย์

๒. อภิรมย์ แยกออกเป็น อภิ + รมย์ (ไม่ใช่ + ภิรมย์)

๓. “อภิ” เป็นคำจำพวกอุปสรรค-นิบาต ใช้นำหน้าคำอื่นเสมอ นักเรียนบาลีแปลกันว่า ยิ่ง, ใหญ่, เฉพาะ, ข้างหน้า

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายของ “อภิ” ว่า –

(1) towards, against, on to, at (ไปทาง, เผชิญ, ไปยัง, ที่)

(2) over, along over, out over, on top of (เหนือ, ทับ, ยิ่ง, ข้างบน)

๔. “รมย์” เป็นรูปคำสันสกฤต “รมฺย

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

รมฺย : (คำคุณศัพท์) ต้องอารมณ์, ประโมทิน, มีความประโมท; งาม; pleasing, delightful; handsome or beautiful.”

๕. “รมฺย” บาลีเป็น “รมฺม” (รำ-มะ) รากศัพท์มาจาก รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง มฺย ( ที่ รมฺ + ที่ ณฺย) เป็น มฺม

: รมฺ + ณฺย = รมณฺย > รมฺย> รมฺม แปลตามศัพท์ว่า “น่ายินดี” เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง น่ารื่นรมย์, น่าจับใจ, สวยงาม (enjoyable, charming, beautiful)

โปรดสังเกตว่า รมฺม ผ่านรูปเป็น รมฺย มาก่อน

อภิ + รมฺม = อภิรมฺม (บาลี) > อภิรมฺย (สันสกฤต) > อภิรมย์ > ภิรมย์ (ไทย)

๖. คำที่ขึ้นต้นด้วย – ในบาลี ไม่ได้แปลว่า “ไม่, ไม่ใช่” เสมอไป โดยเฉพาะ – ในคำอุปสรรคเหล่านี้ไม่ได้แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ และไม่ได้แยกเป็น อ + คือ –

อติ– ยิ่ง, เกิน, ล่วง ในภาษาไทยนิยมแปลงเป็น อดิ- เช่น อดิเรก อดิศัย

อธิ– ยิ่ง, ใหญ่, ทับ เช่น อธิปไตย, อธิษฐาน

อภิ– ยิ่ง, ใหญ่, เฉพาะ, ข้างหน้า, เหนือ, บน เช่น อภินันทนาการ, อภินิหาร

อนุ– น้อย, ภายหลัง, ตาม, รอง เช่น อนุบาล, อนุโมทนา

๗. “อ-” ที่แยกออกเป็น + ได้ และเรารู้กันว่าแปลว่า “ไม่, ไม่ใช่” คำเดิมในบาลีเป็น “” (นะ) แปลง เป็น เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น + มนุสฺส = อมนุสฺส > อมนุษย์ = ไม่ใช่มนุษย์

เราเห็นแต่คำสำเร็จรูปแล้ว ไม่ได้เห็นกระบวนการกลายรูปตามหลักบาลีไวยากรณ์ จึงเข้าใจไปว่า แปลว่า ไม่

พุทธพจน์ :

คาเม  วา  ยทิ  วารญฺเญ

นินฺเน  วา  ยทิ  วา  ถเล 

ยตฺถ  อรหนฺโต  วิหรนฺติ

ตํ  ภูมิรามเณยฺยกํ.

ที่มา:

– รามเณยยกสูตร สังยุตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๙๒๑

– อรหันตวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ข้อ ๑๗

: ถ้าใจสะอาดใจใส

: จะอยู่ที่ไหนๆ ก็ล้วนแต่น่าอภิรมย์

30-9-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย