บาลีวันละคำ

วินิดา (บาลีวันละคำ 4,566)

วินิดา

ชื่อดีที่ยังไม่มีในพจนานุกรม

อ่านว่า วิ-นิ-ดา

วินิดา” ถ้ามาจากบาลี ก็ต้องแปลง ด เด็ก กลับเป็น ต เต่า ก็จะเป็น “วินิตา” แต่รูปคำ “วินิตา” หรือ “วินิต” ก็ไม่มีในบาลี

บาลีมีแต่ “วินีต” 

โปรดสังเกต –

วินิต” -นิ- สระ อิ

วินีต” -นี- สระ อี

บาลีมีแต่ “วินีต” -นี- สระ อี นี่ว่าโดยทั่วไป ที่เป็น “วินิต” -นิ- สระ อิ ถ้ามีก็ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ

วินีต” บาลีอ่านว่า วิ-นี-ตะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย

: วิ + นี = วินี + = วินีต แปลตามศัพท์ว่า “นำไปต่าง” หมายถึง เรื่องหรือสิ่งที่ยกมาศึกษาเรียนรู้, บุคคลหรือสิ่งที่ถูกแนะนำ ฝึกสอน อบรม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วินีต” ว่า led, trained, educated (ชักนำ, ฝึกฝน, ให้การศึกษา)

บาลี “วินีต” ในภาษาไทยใช้เป็น “วินิต” และ “พินิต” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ – 

(1) วินิต : (คำกริยา) ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).

(2) พินิต : (คำกริยา) แนะนำ, สั่งสอน, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).

วินีต” ในบาลี เป็นคำกิริยากิตก์ และใช้เป็นคุณศัพท์ ถ้าขยายคำนามที่เป็นอิตถีลิงค์ ก็ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วินีต + อา = วินีตา (วิ-นี-ตา)

วินีต” ในภาษาไทยใช้เป็น “วินิต” เปลี่ยน -นี- เป็น -นิ- 

ถ้าเป็น “วินีตา” เปลี่ยน -นี- เป็น -นิ- ก็จะเป็น “วินิตา

วินิตา” แปลง ต เต่า เป็น ด เด็ก ก็จะเป็น “วินิดา

นี่คือที่ไปที่มาของคำว่า “วินิดา” ที่มีผู้นิยมนำไปตั้งเป็นชื่อสตรี

ความจริงคำนี้ คง ต เต่า ไว้ตามเดิม ใช้เป็น “วินิตา” ก็ใช้เป็นชื่อได้เช่นกัน

วินีต” หรือ “วินีตา” ในบาลีมีความหมายว่า “ได้รับการแนะนำสั่งสอน” ว่ากันตามจริงก็ยังมีความหมายเป็นกลาง ๆ คือยังต้องถามอีกว่าแนะนำสั่งสอนในทางไหน

ดังนั้น ในบาลีจึงมีคำที่ชี้ชัดลงไปอีก 2 คำ คือ –

(1) สุ + วินีต 

: สุ + วินีต = สุวินีต > สุวินีตา แปลว่า “ได้รับการแนะนำสั่งสอนในทางดี” หมายถึง ฝึกฝนในทางดี (well trained)

(2) ทุ + วินีต, แปลง เป็น , ซ้อน พฺ 

: ทุ + พฺ + วินีต > พินีต = ทุพฺพินีต > ทุพฺพินีตา แปลว่า “ได้รับการแนะนำสั่งสอนในทางเลว” หมายถึง ฝึกฝนในทางเลว (badly trained)

ความจริง ชื่อ “วินิตา” ก็มุ่งหมายถึงได้รับการแนะนำสั่งสอนในทางดีนั่นแหละ คำว่า “แนะนำ” และ “สั่งสอน” ย่อมส่อไปในทางดี โปรดดูความหมายในภาษาไทย ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ – 

(1) แนะนำ : (คำกริยา) ชี้แนวทางให้ทำหรือปฏิบัติ เช่น แนะนำให้ดูหนังสือ แนะนำวิธีการใช้ยา; บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.

(2) สั่งสอน : (คำกริยา) ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็นคนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.

แต่เพราะภาษาอาจดิ้นได้ เพราะฉะนั้น มีชื่อ “สุวินิตา” ไว้ให้เลือกอีกชื่อหนึ่งก็ปลอดภัยดี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คำดี ๆ มีอีกเยอะ แต่คนไม่เอาไปตั้งเป็นชื่อ

เพราะไม่รู้

: เรื่องดี ๆ มีอีกเยอะ แต่คนไม่เอาไปทำ

เพราะอะไร?

#บาลีวันละคำ (4,566)

12-12-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *