บาลีวันละคำ

ทัฬหีกรรม (บาลีวันละคำ 1,243)

ทัฬหีกรรม

อ่านว่า ทัน-ฮี-กํา

ประกอบด้วย ทัฬหี + กรรม

(๑) “ทัฬหี

บาลีเขียน “ทฬฺหี” คำเดิม “ทฬฺห” (เสียงจริงคือ ทัน-หฺละ แต่เรามักออกเสียงตามรูปที่มองเห็นเป็น ทัน-หะ) รากศัพท์มาจาก :

(1) ทหฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย, ลง อาคมหน้า หฺ

: ทหฺ > + ฬฺ + > ทฬฺห + = ทฬฺห แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่คงทุกสิ่งไว้

(2) ทห (มั่นคง) + ลา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบ อา ที่ ลา (ลา > ), แปลง เป็น , กลับ หฬ เป็น ฬห

: ทห + ลา + = ทหลา > ทหล > ทหฬ > ทฬฺห แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถือมั่นคงไว้

ทฬฺห” ใช้ในความหมายว่า –

(1) มั่นคง, แข็งแรง, เป็นปึกแผ่น; ไม่เหหัน, แน่นหนา (firm, strong, solid; steady, fast)

(2) อย่างมาก, อย่างหนัก, อย่างแข็งแรง (very much, hard, strongly)

ทฬฺห + อี ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ = ทฬฺหี

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) สันสกฤตเป็น “กรฺม” (กระ-มะ, ควบ กลืนเสียง ระ ลงคอ) ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม

กรรม” รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ, ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุและ ที่ต้นปัจจัย –

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” แปลว่า การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ทฬฺหี + กมฺม = ทฬฺหีกมฺม > ทัฬหีกรรม แปลว่า การกระทำให้มั่นคง, การทำให้แข็งแรง (making firm; strengthening)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทัฬหีกรรม : (คำนาม) การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น พระภิกษุที่บวชในฝ่ายมหานิกาย เมื่อไปอยู่ในวัดที่เป็นธรรมยุติกนิกายบางวัดก็ต้องให้ทําทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).”

ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ บวชในฝ่ายมหานิกาย (หรือในพิธีบวชที่อาจต้องมีพระทั้งสองนิกายรวมกัน) เมื่อบวชเสร็จแล้วไปอยู่วัดที่เป็นธรรมยุตก็บวชซ้ำอีกครั้งหนึ่ง การบวชซ้ำเช่นนี้เรียกว่า ทำทัฬหีกรรม

: ถ้าจิตไม่ไหวหวั่น ฟ้าผ่าฟ้าลั่นก็ไม่เลอะเลือน

: ถ้าจิตหวั่นไหว เพียงลมพัดใบไม้ก็สะเทือน

—————-

(ตามความไม่มั่นใจของ Sompong Duangsawai และ Archphurich Nomnian)

24-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย