บาลีวันละคำ

นิรันดร (บาลีวันละคำ 1,259)

นิรันดร

อ่านว่า นิ-รัน-ดอน

บาลีเป็น “นิรนฺตร” อ่านว่า นิ-รัน-ตะ-ระ

นิรนฺตร” รากศัพท์มาจาก นิ + + อนฺตร

(๑) “นิ” เป็นศัพท์จำพวก “อุปสรรค” (คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น) มีความหมายว่า เข้า, ลง, ไม่มี, ออก

(๒) “” เป็นอักษรจำพวกที่เรียกว่า “อาคม” โดยปกติใช้ลงแทรกระหว่างคำที่มาเชื่อมกัน อักษรจำพวกนี้ยังมีอีกหลายตัว เหตุผลสำคัญที่ต้องลงอาคมก็เพื่อให้เกิดความสละสลวยหรือคล่องปากเมื่อออกเสียง

(๓) “อนฺตร

อ่านว่า อัน-ตะ-ระ รากศัพท์มาจาก อติ (ธาตุ = ผูก) + อร ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงเป็น , ลบสระที่สุดธาตุ (อติ > อต)

: อติ > อํติ > อนฺติ > อนฺต + อร = อนฺตร แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่ผูกสองข้างไว้” คือ มีข้างหนึ่ง แล้วก็มีอีกข้างหนึ่ง จากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่งนี้แหละมีสิ่งหนึ่งผูกเอาไว้ สิ่งนั้นเรียกว่า “อนฺตร” = ระหว่างสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง หมายถึง ภายใน, ระหว่าง, ช่องวางระหว่าง (inside, in between, a space between)

: นิ + + อนฺตร = นิรนฺตร แปลตามศพท์ว่า “ที่ซึ่งไม่มีช่องว่าง

นิรนฺตร” ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) เป็นคุณศัพท์: ไม่มีช่วงพัก, ติดต่อกัน, ไม่มีอะไรมาขัดจังหวะ (having no interval, continuous, uninterrupted)

(2) เป็นกริยาวิเศษณ์: เสมอ, อย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน, เป็นนิตย์, ทันทีทันใด, โดยทันที (always, incessantly, constantly; immediately, at once)

นิรนฺตร” ในภาษาไทย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกรูปคำไว้ว่า :

นิรันดร (แผลง ต เต่า เป็น ด เด็ก) อ่านว่า นิ-รัน-ดอน

นิรันดร์ (แผลง ต เต่า เป็น ด เด็ก การันต์ที่ ร) อ่านว่า นิ-รัน

นิรันตร– (คงรูป ต เต่าไว้ ใช้ในกรณีมีศัพท์บาลีสันสกฤตมาสมาสท้าย) อ่านว่า นิ-รัน-ตะ-ระ-

และบอกความหมายไว้ว่า : (คำวิเศษณ์) ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป.

: เกิดแล้วดับทุกขณะจิต ฤๅจะหวังชีวิตนิรันดร

: ถ้ากำจัดกิเลสสิ้นกองทุกข์ ชีวิตก็ประสบสุขนิรันดร

9-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย