บาลีวันละคำ

ภราดรภาพ (บาลีวันละคำ 1,273)

ภราดรภาพ

อ่านว่า พะ-รา-ดะ-ระ-พาบ ก็ได้ พะ-รา-ดอน-ระ-พาบ ก็ได้ (ตาม พจน.54)

ประกอบด้วย ภราดร + ภาพ

(๑) “ภราดร” (คำเดียวอ่านว่า พะ-รา-ดอน)

บาลีเป็น “ภาตุ” (พา-ตุ) รากศัพท์มาจาก ภาสฺ (ธาตุ = พูดชัดเจน) + ราตุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ รา (ราตุ > ตุ)

: ภาสฺ + ราตุ = ภาสราตุ > ภาราตุ > ภาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พูดได้ก่อน” (หมายถึงพี่ชาย) และ “ผู้พูดได้ทีหลัง” (หมายถึงน้องชาย)

ภาตุ” จึงหมายถึงพี่ชายก็ได้ น้องชายก็ได้

ภาตุ” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ ได้รูปเป็น “ภาตา

ภาตุ > ภาตา ในบาลี เป็น “ภฺราตฺฤ” ในสันสกฤต และเป็น brother ในภาษาอังกฤษ

ในภาษาไทย รูปคำที่พบบ่อยๆ คือ ภราดร, ภราดา

ลองเทียบรูปและเสียง:

ภาตุ > ภาตา > ภฺราตฺฤ > ภราดร, ภราดา > brother

ในวรรณกรรมเรื่อง กามนิต นิยมใช้คำว่า “ภราดา” เป็นคำร้องเรียก (exclamation, address) เช่น:

ดูก่อนภราดา สรุปเรื่องที่เล่ามาแล้วคือ ข้าพเจ้าได้ไปหาคู่รักทุกคืน ….

(กามนิต บทที่เจ็ด : ในหุบเขา)

สมัยหนึ่ง ในภาษาไทยมีคำเรียกบาทหลวงว่า “ภราดา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภราดร, ภราดา : (คำนาม) พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).”

(๒) “ภาพ

รูปคำเหมือนจะมาจาก “ภาว” (พา-วะ) ในบาลี

ภาว” รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ภาว” ไว้ดังนี้ –

(1) being, becoming, condition, nature (ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ)

(2) cultivation or production by thought, mental condition (การปลูกฝัง หรือการผลิตผลด้วยความคิด, ภาวะทางใจ)

ความหมายของ “ภาว” ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

ภาว-, ภาวะ : (คำนาม) ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).”

ภาว แปลง เป็น = ภาพ

ความหมายของ “ภาพ” ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

(1) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย.

(2) รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน.

(3) สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย.

ในที่นี้ “ภาพ” ใช้ในความหมายตามข้อ (1)

ภราดร + ภาพ = ภราดรภาพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภราดรภาพ : (คำนาม) ความเป็นฉันพี่น้องกัน.”

ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าจะในสังคมใดๆ รวมทั้งสังคมศาสนา มีคำพูดในเชิงตั้งความหวังว่า “ขอให้เราอยู่ร่วมกันด้วยภราดรภาพ” คืออยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้อง หรือที่สำนวนนักเทศน์สมัยใหม่ว่า “รักกันเหมือนพี่ ดีกันเหมือนน้อง

……..

ดูก่อนภราดา

: ภราดรภาพจากหัวใจ อยู่กันไปชั่วฟ้าดิน

: ภราดรภาพจากปลายลิ้น อยู่กันแค่กลืนน้ำลาย

23-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย