บาลีวันละคำ

สมัครสมาชิก (บาลีวันละคำ 1,272)

สมัครสมาชิก

ภาษาไทยลัดตัดคำ

ประกอบด้วยคำว่า สมัคร + สมาชิก

(๑) “สมัคร

ภาษาไทยอ่านว่า สะ-หฺมัก บาลีเป็น “สมคฺค” อ่านว่า สะ-มัก-คะ รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) + อคฺค (ยอด, เป้าหมาย) แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น (สํ > สม)

: สํ > สม + อคฺค = สมคฺค แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มาพร้อมกันโดยยอดรวม” หมายถึง เป็นอันหนึ่งอันเดียว, มีความสามัคคี, ประสานกัน (being in unity, harmonious)

สมคฺค” สันสกฤตเป็น “สมคฺร” ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “สมัคร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมัคร : (คำกริยา) ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้าทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการเน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).”

(๒) “สมาชิก” ประกอบขึ้นจาก สมาช + ณิก

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สมาช” แปลว่า หมู่, จำนวนหรือปริมาณ; สภา, ที่ประชุม multitude, a number; an assembly, meeting.

สมาช + ณิก ในภาษาบาลีเป็นมาดังนี้ –

(1) “สมาช” (สะ-มา-ชะ) รากศัพท์มาจาก สํ ( = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + อชฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตเป็น , ทีฆะต้นธาตุ (อชฺ > อาช)

: สํ > สม + อชฺ = สมช + = สมชณ > สมช > สมาช แปลว่า (1) ที่เป็นที่ประชุม (2) ผู้เข้าไปสู่ที่ชุมนุม คือมาเป็นส่วนเดียวกัน

(2) สมาช + ณิก ปัจจัย, ลบ

: สมาช + ณิก > อิก = สมาชิก แปลว่า (1) ผู้เป็นส่วนหนึ่งแห่งที่ประชุม (2) ผู้เป็นส่วนหนึ่งของผู้เข้าไปสู่ที่ชุมนุม

สมาช” มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า “สมชฺช” (สะ-มัด-ชะ) เดิมหมายถึงสถานที่สำหรับจัดการแสดงมหรสพ มีนักแสดงและผู้ชมไปรวมกันเป็นจำนวนมาก ต่อมาคำนี้กลายเป็น “สมชฺชา” (สะ-มัด-ชา) หมายถึง ที่ประชุม, การประชุมเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ

สมชฺช > สมชฺชา > สมาช > สมาชิก

ความหมายเดิมของ “สมาชิก” เน้นที่การมีสิทธิ์เข้าประชุม ต่อมาความหมายกลายเป็นว่า ผู้มีส่วนร่วมในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่จำเป็นว่าจะมีการประชุมหรือไม่

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมาชิก ๑ : ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรมใด ๆ เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสมาคมศิษย์เก่า สมาชิกวารสาร, (ปาก) ลูกค้า, ขาประจำ, เช่น หมู่นี้สมาชิกไม่ค่อยมาอุดหนุนที่ร้านเลย”

อภิปราย :

๑. การเข้าเป็นสมาชิกในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เดิมมีคำเต็มๆ พูดว่า “สมัครเข้าเป็นสมาชิก

๒. ต่อมาตัดคำเป็น “สมัครเป็นสมาชิก

๓. ปัจจุบันตัดเหลือแค่ “สมัครสมาชิก

๔. คาดว่าในอนาคตคงเหลือแค่ “สมัคร” (จากคำเต็มว่า “สมัครเข้าเป็นสมาชิก”)

: ความดีทำได้ด้วยใจรัก

: ไม่ต้องสมัครสมาชิก

22-11-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย