บาลีวันละคำ

สัตวโลก หรือ สัตว์โลก (บาลีวันละคำ 1,287)

สัตวโลก หรือ สัตว์โลก

ถ้าไม่มีการันต์ที่ ว = สัตวโลก อ่านว่า สัด-ตะ-วะ-โลก

ถ้ามีการันต์ที่ ว์ = สัตว์โลก อ่านว่า สัด-โลก

(๑) “สัตว

บาลีเป็น “สตฺต” อ่านว่า สัด-ตะ รากศัพท์มาจาก สญฺช (ธาตุ = ติด, ข้อง) + ปัจจัย, ลบ ญฺช, ซ้อน

: สญฺช > + ตฺ + = สตฺต แปลตามศัพทว่า (1) “ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น” (2) “ผู้ยังผู้อื่นให้ติดข้อง” (3) “ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะของผู้ติดข้อง

ความหมายข้อ (3) หมายถึงว่าแม้ผู้ปราศจากกิเลสไม่ติดข้องอะไรอีกแล้ว ก็ยังเรียกว่า “สตฺต” ตามสำนวนนิยม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สตฺต” ว่า a living being, creature, a sentient & rational being, a person (สัตว์โลก, สัตว์, สิ่งที่มีความรู้สึกและมีเหตุผล, คน)

สตฺต” สันสกฤตเป็น “สตฺตฺว” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สัตว” หรือ “สัตว์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัตว-, สัตว์ : (คำนาม) สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).”

(๒) “โลก” บาลีอ่านว่า โล-กะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น , แผลง อุ ที่ ลุ-(ชฺ) เป็น โอ

: ลุชฺ + = ลุชณ > ลุช > โลช > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

(2) ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย, แปลง จฺ เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ + = ลุจ > ลุก > โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

(3) โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ, ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลกฺ + = โลก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ร่างอันเขาเห็นอยู่” (2) “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

โลก” มีความหมายหลายหลาก เช่น โลก, แผ่นดิน, จักรวาล, คน, มนุษยชาติ, ประชาชน, สัตว์ (world, earth, universe, man, mankind, people, beings)

ดูเพิ่มเติม: “โลก” บาลีวันละคำ (629) 4-2-57

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [102] แสดง “โลก 3” ไว้ดังนี้ –

[102] โลก 3 (ประดาสภาวธรรมหรือหมู่สัตว์ กำหนดโดยขอบเขตบ้าง ไม่กำหนดบ้าง —Loka: the world; the earth; sphere; universe)

1. สังขารโลก (โลกคือสังขาร ได้แก่สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย — Saŋkhāraloka: the world of formations)

2. สัตวโลก (โลกคือหมู่สัตว์ — Satta-loka: the world of beings)

3. โอกาสโลก (โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, จักรวาล — Okāsa-loka: the world of location; the world in space; the universe)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โลก, โลก– : (คำนาม) แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).”

สัตว + โลก = สัตวโลก

ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

สัตวโลก : (คำนาม) หมู่สัตว์.”

อภิปราย :

๑ พจน.54 เขียนคำนี้ว่า “สัตวโลก” ( ไม่การันต์) ตามหลักภาษาต้องอ่านว่า สัด-ตะ-วะ-โลก เป็นคำสมาส แปลจากหลังมาหน้า คือแปลว่า “โลกคือหมู่สัตว์

๒ คนส่วนมากออกเสียงคำนี้ว่า สัด-โลก ถ้าออกเสียงอย่างนี้ก็ควรเขียนเป็น “สัตว์โลก” (การันต์ที่ ว์) เป็นคำประสม แปลจากหน้าไปหลัง คือแปลว่า “สัตว์ที่อยู่ในโลก

๓ พจน.54 ไม่ได้เก็บคำว่า “สัตว์โลก” ไว้

……..

: ดูก่อนภราดา!

โลกนี้คือที่คุมขังอันไม่มีวันปลดปล่อย

ถ้าทำใจให้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันไม่ได้

ก็อย่าคิดแต่ที่จะเบียดเบียนเอาเปรียบกันอยู่เลย

เอาเวลาไปคิดหาวิธีหลุดพ้นจากที่คุมขังนี้ยังจะประเสริฐกว่า

7-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย