บาลีวันละคำ

ภูธร – นครบาล (บาลีวันละคำ 1,286)

ภูธรนครบาล

อ่านว่า พู-ทอน นะ-คอน-บาน

(๑) “ภูธร

บาลีอ่านว่า พู-ทะ-ระ รากศัพท์มาจาก ภู (แผ่นดิน, ถิ่นฐาน) + ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + ปัจจัย

: ภู + ธรฺ = ภูธร + = ภูธร แปลตามศัพท์ว่า “ทรงไว้ซึ่งภูมิประเทศ” หมายถึง ภูเขา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภูธร : (คำนาม) พระราชา; ภูเขา. (ส.).”

ในบาลี “ภูธร” ไม่มีคำแปลว่า พระราชา

แต่ “ภูธร” แปลว่า “ผู้ทรงไว้ซึ่งแผ่นดิน” ถ้าหมายถึง “ผู้ครอบครองดินแดน” ก็อาจตีความให้หมายถึง “พระราชา” ได้

(๒) “นครบาล” ประกอบด้วย นคร + บาล

(1) “นคร” บาลีอ่านว่า นะ-คะ-ระ รากศัพท์มาจาก –

๑) นค (สิ่งที่สูง เช่นภูเขา, ปราสาท) + ปัจจัย

: นค + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่มีปราสาทเป็นต้น

๒) (แทนศัพท์ว่า “สมฺปุณฺณ” = สมบูรณ์) + ฆร (บ้านเรือน), แปลง เป็น

: + ฆร = นฆร > นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่มีบ้านเรือนที่บริบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค

นคร” หมายถึง เมือง หรือที่เราทับศัพท์ว่า นคร

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นคร” ว่า a stronghold, citadel, fortress; a fortified town, city (ป้อม, ที่มั่น, ป้อมปราการ; นครหรือเมืองที่มีป้อมค่าย)

(2) “บาล

บาลีเป็น “ปาล” อ่านว่า ปา-ละ รากศัพท์มาจาก ปาลฺ (ธาตุ = ดูแล, รักษา) + ปัจจัย

: ปาลฺ + = ปาล แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รักษา” หมายถึง ยาม, ผู้รักษา, ผู้คุ้มครอง, ผู้ป้องกัน (a guard, keeper, guardian, protector)

นคร + ปาล = นครปาล > นครบาล แปลว่า “ผู้รักษาเมือง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นครบาล : (คำนาม) เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับเหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานคร ว่า ตำรวจนครบาล; (เลิก; คำที่ใช้ในกฎหมาย) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; ประเภทคดีซึ่งมีโทษหลวงเป็นความอุกฉกรรจ์มหันตโทษ เช่น ปล้นฆ่า.”

ในภาษาไทย “ภูธร” กับ “นครบาล” ที่เรามักคุ้นกันดีเป็นคำเรียกตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ในท้องที่ต่างกัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ตำรวจภูธร : (คำนาม) ตำรวจผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายนอกกรุงเทพมหานคร.

(2) ตำรวจนครบาล : (คำนาม) ตำรวจผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายในเขตกรุงเทพมหานคร.

จากความหมายนี้ทำให้เกิดความหมายโดยนัยว่า –

ภูธร” คือบ้านนอก

นครบาล” คือเมืองหลวง

: เมืองหลวง ไม่ใช่ใบรับรองว่าจะได้ไปสวรรค์

: บ้านนอก ไม่ใช่คำยืนยันว่าจะต้องตกนรก

6-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย