บาลีวันละคำ

อกาลิโก (บาลีวันละคำ 2,281)

อกาลิโก

หมายความว่าอย่างไร

อ่านว่า อะ-กา-ลิ-โก

อกาลิโก” รูปคำเดิมเป็น “อกาลิก” (อะ-กา-ลิ-กะ) ประกอบด้วย + กาลิก

(๑) “” บาลีอ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

” เมื่อไปประสมกับคำอื่น มีกฎดังนี้ –

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แปลง เป็น อน– เช่น

: + อาคต (มาแล้ว) : > อน + อาคต = อนาคต (ไม่มาแล้ว = ยังไม่มา)

ในที่นี้ “กาลิก” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงต้องแปลง เป็น อ-

(๒) “กาลิก

บาลีอ่านว่า กา-ลิ-กะ รูปคำเดิมมาจาก กาล + อิก ปัจจัย

(ก) “กาล” (กา-ละ) รากศัพท์มาจาก กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ, สิ้นไป) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กลฺ > กาล)

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน

กาล” ที่หมายถึง “เวลา” (time) ในภาษาบาลียังใช้ในความหมายที่ชี้ชัดอีกด้วย คือ :

1 เวลาที่กำหนดไว้, เวลานัดหมาย, เวลาตายตัว (appointed time, date, fixed time)

2 เวลาที่เหมาะสม, เวลาที่สมควร, เวลาที่ดี, โอกาส (suitable time, proper time, good time, opportunity)

(ข) กาล + อิก = กาลิก แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบด้วยกาล” (คือขึ้นอยู่กับเวลา) หมายถึง เป็นของเวลา, ประกอบด้วยกาล, ทันเวลา, ชั่วกาล (belonging to time, in time)

: + กาลิก = นกาลิก > อกาลิก แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ประกอบด้วยกาล

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อกาลิก” ดังนี้ –

(1) not delayed, immediate, in this world (ไม่ล่าช้า, ทันทีทันใด, ในโลกนี้)

(2) subject to time, i. e. temporal, vanishing (ขึ้นอยู่กับเวลา, คือชั่วคราว, สิ้นไป)

(3) unusual, out of season (ไม่ปกติ, ผิดฤดูกาล)

อกาลิก” แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ ปุงลิงค์ เปลี่ยนรูปเป็น “อกาลิโก

อกาลิโก” เป็นบทที่ 3 แห่งพระธรรมคุณ

พระธรรมคุณ (คุณของพระธรรม) ที่เราสวดกันคุ้นปากมี 6 บท คือ –

(1) สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว)

(2) สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง)

(3) อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล)

(4) เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู)

(5) โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา)

(6) ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [306] ขยายความ “อกาลิโก” ไว้ว่า –

3. อกาลิโก : ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล (Akāliko: not delayed; timeless)

อภิปราย :

เรามักพูดกันว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็น “อกาลิโก” แล้วตีความว่า “อกาลิโก” คือ “ทันสมัยเสมอ” “ไม่ล้าสมัย”

แต่ท่านว่า ธรรมที่เป็น “อกาลิโก” นี้ หมายถึงโลกุตรธรรม คือ มรรค ผล นิพพาน มิได้หมายมุ่งถึงปริยัติธรรม คือคำสั่งสอนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม พระธรรมคุณบทนี้อาจมีความหมายได้อีกนัยหนึ่งว่า กาลเวลาไม่เป็นข้อจำกัดในการที่จะศึกษาและปฏิบัติธรรม ถ้าเรียนรู้วิธีการที่ชาญฉลาดย่อมสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ทุกเวลานาที ดังนี้แหละพระธรรมจึงชื่อว่า “อกาลิโก” = ไม่ประกอบด้วยกาล

…………..

บาลีวันละคำชุด:-

: ช่วยกันสืบทอดพระศาสนา

: ช่วยกันรู้ภาษาพระธรรมวินัย

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ยิ่งโลกทันสมัย แต่ถ้าใจยังสกปรก

: ก็ยิ่งไปนรกได้ง่ายขึ้น

#บาลีวันละคำ (2,281)

10-9-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย