บาลีวันละคำ

นภดล นพดล นพปฎล (บาลีวันละคำ 1,288)

นภดล นพดล นพปฎล

อะไรกันแน่

คำที่ออกเสียงว่า นบ- ลงท้ายว่า -ดน โดยเฉพาะที่เป็นชื่อคน มักสะกดต่างๆ กันไป แล้วแต่เจ้าของชื่อหรือคนตั้งพอใจจะเขียน

3 คำข้างต้นนั้นมีศัพท์อยู่ 4 ศัพท์ คือ นภ นพ ดล และ ปฎล

(๑) “นภ

บาลีอ่านว่า นะ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) (ไม่, ไม่ใช่) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีวัตถุอะไรเลย

(2) น (จาก นตฺถิ = ไม่มี) + (จาก ภูมิ = แผ่นดิน) + ปัจจัย

: + = นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่ไม่มีแผ่นดิน

(3) (ไม่, ไม่ใช่) + ภี (ธาตุ = กลัว) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (ภี > )

: + ภู = นภู > นภ + = นภ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่พวกนกไม่กลัว

นภ” หมายถึง หมอก, ไอน้ำ, เมฆ, ทองฟ้า (mist, vapour, clouds, sky)

(๒) “นพ

บาลีเป็น “นว” (นะ-วะ) ศัพท์นี้มีคำแปล 2 อย่าง คือ –

(1) ใหม่, สด, ยังไม่ช้ำหรือเสื่อมเสีย, สะอาด, เร็วๆ นี้, ที่ได้มาหรือปฏิบัติเมื่อเร็วๆ นี้เอง (new, fresh; unsoiled, clean; of late, lately acquired or practised); หนุ่ม, ยังไม่มีความชำนาญ, ไม่มีประสบการณ์ (young, unexperienced, newly initiated)

(2) จำนวนเก้า (number nine)

จะหมายถึง “ใหม่” หรือ “เก้า” ต้องดูที่บริบท ในภาษาไทยมักใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น

นวกรรมการทำใหม่” = การก่อสร้าง

นวทวาร = ช่องทั้ง 9 แห่งร่างกาย คือ ตา 2 หู 2 จมูก 2 ปาก 1 ทวารเบา 1 ทวารหนัก 1

นอกจากคงรูปเป็น “นว” ในภาษาไทยยังแผลงเป็น “นพ” เช่น นพคุณเนาว” เช่น เนาวรัตน์

ในที่นี้ “นว” แผลงเป็น “นพ” หมายถึง จำนวนเก้า

(๓) “ดล

บาลีเป็น “ตล” อ่านว่า ตะ-ละ รากศัพท์มาจาก ตลฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: ตลฺ + = ตล แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้งสิ่งของ

ตล” ใช้ในความหมายว่า –

(1) ระดับ, พื้น, ฐาน (level, ground, base)

(2) ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า (the palm of the hand or the sole of the foot)

(๔) “ปฎล

บาลีเป็น “ปฏล” (ฏ ปฏัก) อ่านว่า ปะ-ตะ-ละ รากศัพท์มาจาก ปฏฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อล ปัจจัย

: ปฏฺ + อล = ปฏล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นไปปกติ

ปฏล” ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) การครอบคลุม, เยื่อพังผืด, ซับใน, ที่หุ้มห่อ, ผิวหนัง, เยื่อหุ้ม (a covering, membrane, lining, envelope, skin, film)

(2) หลังคา, เพดาน (roof, ceiling)

(3) กลุ่ม, ก้อน (a heap, mass)

(4) ต้อกระจก (cataract of the eye)

การประสมคำ :

๑. นภ + ตล = นภตล > นภดล (นบ-พะ-ดน) แปลว่า “พื้นฟ้า” หมายถึง ท้องฟ้า นั่นเอง

๒. นว + ตล = นวตล > นพดล แปลว่า “พื้นเก้า” ซึ่งไม่มีความหมาย (นอกจากจะเปลี่ยนความหมายเป็น “พื้นใหม่”) เคยเห็นใช้เป็นชื่อคน เข้าใจว่าเอาเสียง นบ-พะ-ดน จาก “นภดล” นั่นเองมาเขียนไปตามความเข้าใจซึ่งไม่ตรงกับศัพท์เดิม

๓. นว + ปฏล = นวปฏล > นพปฏล (นบ-พะ-ปะ-ดน) แปลว่า “เพดานเก้าชั้น” หรือ “หลังคาเก้าชั้น” หมายถึง เศวตฉัตร

ข้อสังเกต :

เนื่องจาก นภดล นพดล นพปฎล คำพวกนี้ออกเสียงคล้ายกัน จึงชวนให้สับสนว่า ผู้พูดต้องการจะให้หมายถึงคำไหนกันแน่ ดังนั้น จึงควรรู้ความหมายให้ชัดก่อนที่จะใช้

: พื้นฟ้าที่ว่ากว้างใหญ่

: ก็ยังไม่พอใส่ความอยากของมนุษย์

8-12-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย