บาลีวันละคำ

อเนจอนาถ (บาลีวันละคำ 688)

อเนจอนาถ

อ่านว่า อะ-เหฺน็ด-อะ-หฺนาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อเนจอนาถ : (คำกริยา) สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (ป. อนิจฺจ ว่า ไม่เที่ยง + อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง)”

ตาม พจน.54 อเนจอนาถ มาจากบาลีว่า อนิจฺจ + อนาถ

(๑) “อนิจฺจ” อ่านว่า อะ-นิด-จะ ต้นศัพท์มาจาก + นิจฺจ = อนิจฺจ

นิจฺจ” รากศัพท์มาจาก –

(1) (= ไม่, ไม่ใช่) + อิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, แปลง เป็น , ซ้อน

: + อิ = นิ + = นิต > นิจ + = นิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นไปตามสภาพ” (เช่นควรจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ก็ไม่เปลี่ยน)

(2) + คมุ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + กฺวิ ปัจจัย, แปลง เป็น อิ, เป็น , ซ้อน , ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: > นิ + คมุ = นิคมุ > นิจมุ + + กฺวิ = นิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่ถึงความพินาศ

(3) นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, ซ้อน , รัสสะ อี เป็น อิ

: นี > นิ + + = นิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่นำไปสู่ความเที่ยง

นิจฺจ หมายถึง เที่ยง, แน่นอน, เป็นนิตย์, ยั่งยืน, คงทน, ต่อเนื่องกันไป, ถาวร (constant, continuous, permanent)

+ นิจฺจ = อนิจฺจ หมายถึง ไม่ถาวร, ไม่คงที่ (unstable, impermanent, inconstant); ความไม่ยั่งยืน, ความไม่คงทน, ความไม่ถาวร (evanescence, inconstancy, impermanence)

(๒) “อนาถ” อ่านว่า อะ-นา-ถะ ต้นศัพท์มาจาก + นาถ = อนาถ

นาถ” รากศัพท์มาจาก นาถ (ธาตุ = ประกอบ, ขอร้อง, ปรารถนา, เป็นใหญ่, ทำให้ร้อน) + ปัจจัย = นาถ แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “ผู้กอปรประโยชน์แก่ผู้อื่น

(2) “ผู้ขอร้องคนอื่นให้บำเพ็ญประโยชน์นั้นๆ

(3) “ผู้ปรารถนาประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ควรช่วยเหลือ

(4) “ผู้เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ควรช่วยเหลือ” (ผู้ช่วยเหลือย่อมอยู่เหนือผู้รับการช่วยเหลือ)

(5) “ผู้ยังกิเลสให้ร้อน” (เมื่อจะช่วยเหลือคนอื่น ความตระหนี่ ความเกียจคร้านเป็นต้นจะถูกแผดเผาจนทนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้)

นาถ” ความหมายที่เข้าใจกันคือ ที่พึ่ง, ผู้ปกป้อง, การช่วยเหลือ (protector, refuge, help)

+ นาถ = อนาถ หมายถึง ไร้ที่พึ่ง, ไม่มีผู้ปกป้อง, ยากจน (helpless, unprotected, poor)

: อนิจฺจ + อนาถ = อนิจฺจอนาถ > อเนจอนาถ

เมื่อเห็นเพื่อนร่วมโลกตกทุกข์ได้ยาก หรือถูกกระทำให้เดือดร้อน โดยที่ไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือ เราก็ระลึกถึง อนิจฺจํ + อนาถํ แล้วพูดเป็นไทยๆ ว่า “อเนจอนาถ” มีความหมายว่า สลดใจเป็นอย่างยิ่ง

: การลงโทษที่โหดร้าย ไม่ใช่การทำให้ตาย แต่คือการปล่อยให้มีชีวิต

: เพราะการทำให้ตาย อเนจอนาถครั้งเดียว

: แต่การมีชีวิตนั้นต้องอเนจอนาถซ้ำซาก

5-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย