บาลีวันละคำ

โคตร (บาลีวันละคำ 703)

โคตร

อ่านว่า โคด

บาลีเป็น “โคตฺต” อ่านว่า โคด-ตะ

โคตฺต” มาจากรากศัพท์ดังนี้ –

(1) โค + ตา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, ซ้อน , ลบสระที่สุดธาตุ

: โค + ตา = โคตา > โคต + + = โคตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายที่รักษาชื่อและความรู้ไว้” “เชื้อสายที่รักษาชื่อเสียงไว้

(2) คุปฺ (ธาตุ = รักษา, คุ้มครอง) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ, แปลง เป็น , แผลง อุ เป็น โอ

: คุป > คุต > โคต + = โคตฺต แปลตามศัพท์ว่า “เชื้อสายอันเขาคุ้มครองไว้

โคตฺต” หมายถึง เชื้อสาย, วงศ์, ตระกูล, เทือกเถาเหล่ากอ, เผ่าพันธุ์ (ancestry, lineage)

โคตฺต” ในบาลี เป็น “โคตฺร” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของคำว่า “โคตฺร” ไว้หลายหลากมากกว่าที่เราคุ้นกัน กล่าวคือ ตระกูล, วงศ์, วงศาวลี, สันตติ, ญาติ; ชื่อ; ป่า; เกษตร, นา; ฉัตร, ร่ม; หนทาง; ความล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคต; ประเภท, วงศ์ย่อยในวรรณะพรหมณ์ เช่น กาศยปโคตร, เคาตมโคตร; วัฒนะ, ทรัพย์, สมบัติ, โลก; ฝูงโค; บรรพต

พจน.54 บอกไว้ว่า –

โคตร, โคตร– : (คำนาม) วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร; คํานี้บางทีก็นําไปใช้ในความหมายไม่สุภาพหรือเป็นคําด่า เช่น ก่นโคตร. (ส. โคตฺร; ป. โคตฺต ว่า โรงวัว, คอกวัว, วงศ์, ตระกูล)”

ความหมายเด่นในภาษาไทย “โคตร” ก็คือ “นามสกุล” หรือที่คนจีนเรียกว่า “แซ่” นั่นเอง

เนื่องจาก “โคตร” มักมีการสืบสาวไปจนถึงรากเหง้าหรือเทือกเถาเหล่ากอ คำนี้จึงมีนัยหมายถึงการเข้าถึงจุดใจกลางหรือที่สุดของสิ่งนั้นๆ ในภาษาปากจึงนิยมใช้ในความหมายว่า ลึกซึ้งที่สุด มากที่สุด หนักหนาสาหัสที่สุดของสิ่งนั้นๆ เช่น

– “โคตรสวย” = สวยมากๆ

– “โคตรซวย” = ซวยที่สุด

– “เลขข้อนี้โคตรยาก” = ยากที่สุด

ข้อสังเกต :

ภาษาปากนิยมเอาคำว่า “โคตร” ซึ่งเป็นคำขยายไว้ข้างหน้าคำที่ถูกขยาย อันเป็นลักษณะของภาษาตระกูล Indo-European แสดงให้เห็นว่าภาษาไทยสมัยใหม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษเป็นอันมาก

พุทธภาษิต :

รูปํ  ชีรติ  มจฺจานํ

นามโคตฺตํ  น  ชีรติ.

: หน้าตาของโคตร สำคัญกว่าหน้าตาของคนในโคตร

#บาลีวันละคำ (703)

20-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *