บาลีวันละคำ

บุรณะ-บูรณะ (บาลีวันละคำ 757)

บุรณะ-บูรณะ

อ่านว่า บุ-ระ-นะ / บู-ระ-นะ

บาลีเป็น “ปูรณ” อ่านว่า ปู-ระ-นะ

ปูรณ” รากศัพท์มาจาก ปูรฺ + ยุ

ปูรฺ” เป็นธาตุ (รากศัพท์) มีความหมายว่า “เต็ม, ทำให้เต็ม

ธาตุในความหมายนี้มีทั้ง ปูรฺ (สระ อู) และ ปุรฺ (สระ อุ)

ถ้าเป็น ปุรฺ (สระ อุ) กระบวนการทางไวยากรณ์ในคำนี้คือ “ทีฆะ อุ เป็น อู” : ปุรฺ > ปูรฺ

ยุ” เป็นปัจจัย แปลว่า การ-, ความ- แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง ( หนู) เป็น ( เณร)

: ปูรฺ (หรือ ปุรฺ > ปูรฺ) + ยุ > อน > อณ : ปูร + = ปูรณ แปลว่า ความเต็ม, การทำให้เต็ม, บรรจุจนเต็ม, เติมให้เต็ม (filling)

ข้อสังเกตทางภาษา :

คำว่า “เต็ม” เรามักคุ้นคำอังกฤษว่า full แต่ในที่นี้ คำอังกฤษว่า filling เพราะ  “ปูรณ” เป็นคำนาม ถ้าจะให้หมายถึง full บาลีจะเป็น “ปุณฺณ” (ปุน-นะ) (ธาตุตัวเดียวกับ ปูรณ แต่ลงปัจจัยคนละตัว) ใช้เป็นคุณศัพท์ เช่น ปุณฺณจนฺท = จันทร์เต็ม > จันทร์เพ็ญ = the full moon

ปูรณ” ภาษาไทยใช้เป็น “บุรณะ” (บุ– สระ อุ) ก็มี “บูรณะ” (บู– สระ อู) ก็มี

คำว่า “บุรณะ” (บุ– สระ อุ) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บุรณะ : (คำกริยา) ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บุรณปฏิสังขรณ์; (ส. ปูรณ ป. ปุณฺณ)”

คำว่า “บูรณะ” (บู– สระ อู) ก็บอกความหมายตรงกันกับ “บุรณะ” คือ

บูรณะ : (คำกริยา) ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บูรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บูรณปฏิสังขรณ์; (ส. ปูรณ ป. ปุณฺณ)”

ความแตกต่างระหว่าง “บูรณะ” กับ “ปฏิสังขรณ์:

ในภาษาไทยมักพูดควบกันไปว่า บูรณปฏิสังขรณ์ โดยไม่ได้แยกความหมายให้ชัดเจนว่า อย่างไรคือบูรณะ อย่างไรคือปฏิสังขรณ์

ความแตกต่างที่พอกำหนดได้โดยยึดเอาภาษาเป็นหลักก็คือ

– ทำค้างไว้ยังไม่เสร็จ ทำต่อให้เสร็จ เรียกว่า “บูรณะ

– ทำเสร็จแล้ว ใช้ไปอยู่ไปจนทรุดโทรม หรือมีเหตุมาทำให้พังลงไป ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เรียกว่า “ปฏิสังขรณ์

: ทำดี ได้เงินพอเสมอตัว

: ดีกว่าทำชั่วได้เงินเต็มกระเป๋า

#บาลีวันละคำ (757)

14-6-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *