บาลีวันละคำ

ปฏิสังขรณ์ (บาลีวันละคำ 756)

ปฏิสังขรณ์

อ่านว่า ปะ-ติ-สัง-ขอน

บาลีเป็น “ปฏิสงฺขรณ” อ่านว่า ปะ-ติ-สัง-ขะ-ระ-นะ

ปฏิสงฺขรณ” รากศัพท์มาจาก ปฏิ + สํ + กรฺ + ยุ

ปฏิ” เป็นคำอุปสรรค ใช้นำหน้าคำอื่น มีความหมายว่า เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ

ในที่นี้น้ำหนักของความหมายอยู่ที่ “กลับ” หรือ “ทวน

สํ” เป็นคำอุปสรรค ใช้นำหน้าคำอื่น มีความหมายว่า พร้อมกัน, ร่วมกัน

ในที่นี้แปลงนิคหิตเป็น งฺ : สํ = สงฺ

กรฺ” เป็นธาตุ (รากศัพท์) มีความหมายว่า “ทำ

ในที่นี้แปลงเป็น “ขร

ยุ” เป็นปัจจัย แปลว่า การ-, ความ- แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) แล้วแปลง ( หนู) เป็น ( เณร)

: ปฏิ + สํ = ปฏิสํ > ปฏิสงฺ + กร = ปฏิสงฺกร > ปฏิสงฺขร + ยุ > อน > อณ : ปฏิสงฺขร + = ปฏิสงฺขรณ แปลตามศัพท์ว่า “การทำให้กลับคืนขึ้นมาพร้อมกัน” หมายถึง ปฏิสังขรณ์, ซ่อมแซม, บูรณะ (restoration, repair, mend)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิสังขรณ์ : (คำกริยา) ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม (มักใช้เฉพาะวัดวาอาราม) เช่น ปฏิสังขรณ์วัด”

ในภาษาบาลี คำว่า “ปฏิสังขรณ์” มิได้จำกัดเฉพาะปฏิสังขรณ์วัด แม้การซ่อมแซมบ้านเมือง เช่น ป้อม กำแพง ค่ายคู ประตู หอรบ ก็ใช้คำว่า “ปฏิสังขรณ์” ด้วยเช่นกัน

ในภาษาไทย “ปฏิสังขรณ์” มักพูดควบกับคำว่า “บูรณะ” ดังที่ พจน.54 บอกไว้ว่า –

บูรณะ : (คำกริยา) ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บูรณะวัด, มักใช้เข้าคู่กับ ปฏิสังขรณ์ เป็น บูรณปฏิสังขรณ์; (ส. ปูรณ ป. ปุณฺณ)”

พุทธภาษิต :

นฏฺฐํ  น  คเวสนฺติ

ชิณฺณํ  น  ปฏิสงฺขโรนฺติ

อปริมิตปานโภชนา  โหนฺติ

ทุสฺสีลํ  อิตฺถึ  วา  ปุริสํ  วา  อาธิปจฺเจ  ฐเปนฺติ.

(อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต ๒๑/๒๕๘)

ของหายไม่หา ๑

ของคร่ำคร่าไม่ซ่อม ๑

กินใช้ไม่ออม ๑

ยอมให้คนถ่อยเป็นผู้นำ ๑

= ไปไม่รอดถ้าไม่จอดซ่อมแซม

#บาลีวันละคำ (756)

13-6-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *