บาลีวันละคำ

วิชาชีพ (บาลีวันละคำ 1,384)

วิชาชีพ

สมาสแบบไทย

อ่านว่า วิ-ชา-ชีบ

ประกอบด้วย วิชา + อาชีพ

(๑) “วิชา

บาลีเป็น “วิชฺชา” (วิด-ชา, สองตัว) รากศัพท์มาจาก วิทฺ (ธาตุ = รู้) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง ทฺย (คือ (วิ)-ทฺ + (ณฺ)-) เป็น ชฺช + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: วิทฺ + ณฺย = วิทฺณย > วิทฺย > วิชฺช + อา = วิชฺชา แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่รู้” หรือ “ตัวรู้” หมายถึง ความรู้, ปัญญาหยั่งรู้ (knowledge; transcendental wisdom)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “วิชฺชา” ไว้ 2 นัย คือ –

(1) ความหมายทั่วไป : science, craft, art, charm, spell (ศาสตร์, งานอาชีพ, ศิลปะ, มนต์, คำสาป)

(2) ความหมายเฉพาะ (เช่นที่ใช้ในศาสนา) : science, study, higher knowledge (วิทยาศาสตร์, การศึกษา, ความรู้ที่สูงกว่า)

อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์ คำว่า “วิชฺชา” มักใช้ในความหมายเฉพาะ คือหมายถึงญาณปัญญาที่บรรลุได้ด้วยการฝึกจิต

วิชฺชา ในภาษาไทยใช้ว่า “วิชา” (ตัด ออกตัวหนึ่ง)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิชา : (คำนาม) ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).”

วิชา” ตามความหมายในภาษาไทย ตรงกับคำว่า “สิปฺป” (สิบ-ปะ) ที่เราเอามาใช้ว่า “ศิลปะ

สิปฺป” ในบาลีหมายถึง ความสามารถที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นผลสำเร็จได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทำได้ทำเป็นไม่ว่าจะในเรื่องอะไร นั่นแหละคือ “สิปฺปศิลปะ” หรือ “วิชา” ตามที่เข้าใจกันในภาษาไทย

(๒) “อาชีพ

บาลีเป็น “อาชีว” (อา-ชี-วะ) รากศัพท์มาจาก อา (ทั่วไป, ยิ่ง) + ชีวฺ (ธาตุ = เป็นอยู่) + ปัจจัย

: อา + ชีวฺ = อาชีว + = อาชีว แปลตามศัพท์ว่า “การเป็นเหตุให้เป็นอยู่ได้” คือ “การเลี้ยงชีวิต

อาชีว ใช้ในภาษาไทย แผลง เป็น เป็น “อาชีพ” แต่ที่คงเป็น “อาชีว” ก็มี โดยเฉพาะเมื่อมีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย เช่น อาชีวศึกษา

สังเกตการให้ความหมาย :

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อาชีว” ว่า livelihood, mode of living, living, subsistence (การทำมาหากิน, วิถีดำรงชีวิต, ความเป็นอยู่, อาชีวะ)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

อาชีว : (คำนาม) เครื่องอาศรัยเลี้ยงชีพ, เครื่องอาศรัย; livelihood, subsistence, means of living.

พจนานุกรม สอ เสถบุตร บอกไว้ว่า –

(1) อาชีพ, อาชีวะ : n. adj. a trade, an occupation, a vocation, a profession; professional (boxer)

(2) อาชีวศึกษา : n. vocational training, vocational education

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาชีพ, อาชีว-, อาชีวะ : (คำนาม) การเลี้ยงชีวิต, การทํามาหากิน; งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ. (ป., ส.).”

จะเห็นได้ว่า “อาชีวอาชีพ” ความหมายตามบาลีสันสกฤตเน้นไปที่ “การมีชีวิตรอด” (ยังไม่ตาย) ซึ่งเป็นความหมายเดิมแท้ แต่ความหมายตามภาษาไทยและที่แปลออกจากภาษาไทยเน้นไปที่ “การประกอบอาชีพ” (การทำงาน)

วิชา + อาชีพ = วิชาชีพ

วิชาชีพ” หมายถึง วิชาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นคำสมาสสนธิที่แปลจากหน้าไปหลัง เป็นคำที่ปรุงขึ้นตามความมุ่งหมายในภาษาไทย ไม่ใช่บาลีแท้

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิชาชีพ : (คำนาม) วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.”

: เอาอาชีพเป็นเป้าหมาย ไปได้แค่ตาย

: เอาอาชีพเป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมาย ไปได้เลยตาย

14-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย