บาลีวันละคำ

ศุลกากร (บาลีวันละคำ 1,385)

ศุลกากร

อ่านว่า สุน-ละ-กา-กอน

ประกอบด้วย ศุลก + อากร

(๑) “ศุลก

บาลีเป็น “สุงฺก” (สุง-กะ) รากศัพท์มาจาก สุงฺกฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย

: สุงฺกฺ + = สุงฺก แปลตามศัพทว่า “รายได้เป็นเหตุให้เป็นไปได้

สุงฺก” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ส่วย, ภาษี, อากร (toll, tax, customs)

(2) รายได้, ผลกำไร (gain, profit)

(3) ราคาซื้อภรรยา (purchase-price of a wife)

ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก พบคำว่า “สุงฺกฆาต” (สุง-กะ-คา-ตะ) แปลว่า “ด่านภาษี” (customs’ frontier) และ “สุงฺกฏฺฐาน” (สุง-กัด-ถา-นะ) แปลว่า “โรงภาษี” คือสำนักงานเก็บภาษี (taxing place, customs’ house) บรรยายถึงกรณีที่ภิกษุนำของที่ต้องเสียภาษีซุกซ่อนผ่านด่านภาษีด้วยวิธีการต่างๆ

สุงฺก” สันสกฤตเป็น “ศุลฺก” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ศุลฺก : (คำนาม) ภาษี; toll, duty, customs or taxes.”

(๒) “อากร

บาลีอ่านว่า อา-กะ-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย

: อา + กรฺ = อากรฺ + = อากร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำไปทั่วๆ” “ผู้ทำไปข้างหน้า” หมายถึง บ่อ, แหล่งกำเนิดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (a mine)

คำว่า “อากร” ที่คุ้นกันดี คือ “คุณากร” (คุณ + อากร) ในคำว่า “ธรรมะคือคุณากร

คุณากร = บ่อเกิดแห่งความดีงาม

สุงฺก + อากร = สุงฺกากร > ศุลฺกากร > ศุลกากร แปลตามศัพท์ว่า “แหล่งเกิดรายได้ (ของแผ่นดิน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศุลกากร : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.”

: ง่ายที่จะหาทางเลี่ยงภาษี

: แต่ยากที่จะหาวิธีเลี่ยงผลกรรม

15-3-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย