บาลีวันละคำ

จุฬาโลก (บาลีวันละคำ 1,405)

จุฬาโลก

อ่านว่า จุ-ลา-โลก

ประกอบด้วย จุฬา + โลก

(๑) “จุฬา

คำนี้บาลีมักเป็น “จูฬา” (จู- สระ อู) รากศัพท์มาจาก –

1) จูฬฺ (ธาตุ = งอกขึ้น) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: จูฬ + = จูฬ + อา = จูฬา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งอกขึ้น

2) จิ (ธาตุ = สะสม) + ปัจจัย, แปลง อิ ที่ จิ เป็น อู (จิ > จู), แปลง เป็น + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: จิ + = จิล > จูล > จูฬ + อา = จูฬา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาสะสม

จูฬา” ใช้ในความหมาย 2 นัย คือ –

(1) นูน, โหนก; หน่อ, ปุ่ม, ยอด (swelling, protuberance; root, knot, crest)

(2) เล็ก, น้อย (small, minor)

ข้อสังเกต:

จูฬา” อาจเพี้ยนรูปหรือเปลี่ยนรูปเป็น จุฬา (สระ อุ) จุฬ จูฬ และ จุลฺล ได้

แต่ในบาลีรูปที่คุ้นตา ถ้าหมายถึง ยอด จุก มักใช้เป็น “จูฬา

ถ้าหมายถึง เล็ก น้อย มักใช้เป็น “จุลฺล” หรือ “จูฬ

ภาษาไทยในที่นี้ ใช้เป็น “จุฬา” และหมายถึง ยอด

(๒) “โลก” (บาลีอ่านว่า โล-กะ)

๑) ในแง่ภาษา

1 .“โลก” มีรากศัพท์มาจาก ลุชฺ (ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย แปลง เป็น แผลง อุ เป็น โอ

: ลุชฺ > ลุก > โลก + = โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะพินาศไป

2. “โลก” มีรากศัพท์มาจาก ลุจฺ (ธาตุ = ย่อยยับ, พินาศ) + ปัจจัย แปลง เป็น แผลง อุ เป็น โอ

: ลุจฺ > ลุก > โลก + = โลก แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะย่อยยับไป

3. “โลก” มีรากศัพท์มาจาก โลกฺ (ธาตุ = เห็น, ปรากฏ) + ปัจจัย

: โลก + = โลก แปลตามศัพท์ว่า “ร่างอันเขาเห็นอยู่

4. “โลก” มีรากศัพท์มาจาก โลกฺ (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย

: โลก + = โลก แปลตามศัพท์ว่า “ร่างเป็นที่ตั้งอยู่แห่งบุญบาปและผลแห่งบุญบาปนั้น

๒) ในแง่ความหมาย

1. โลก หมายถึง ดินแดน แผ่นดิน วัตถุธาตุ หรือดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง คือโลกที่เรามองเห็นและอาศัยอยู่นี้ รวมทั้งดาวดวงอื่น

2. โลก หมายถึง สิ่งมีชีวิต เช่นคน สัตว์ เช่นในคำว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

3. โลก หมายถึง สังคม หมู่ชน ชุมชน เช่นในคำว่า โลกติเตียน เมตตาธรรมค้ำจุนโลก

4. โลก หมายถึง ชีวิต อันประกอบด้วยร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ของแต่ละคน ที่สำนวนเก่าเรียกว่า “โลกคือกายยาววา หนาคืบ กว้างศอก”

5. โลก หมายถึงวิสัยหรือธรรมดาของโลก เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย พบ พราก ได้ เสีย อิ่ม อด สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์

6. โลก หมายถึง ค่านิยม ความคิดจิตใจ ความประพฤติแบบหนึ่ง ที่ตรงกันข้ามกับ “ธรรม” เช่น ดื่ม กิน เที่ยว เสพสุข เป็น “โลก” สงบ สำรวม ควบคุมขัดเกลาตนเอง เป็น “ธรรม

ในที่นี้ “โลก” หมายถึง ดินแดน แผ่นดิน สังคม หมู่ชน ชุมชน

จุฬา + โลก = จุฬาโลก

จุฬาโลก” เป็นคำหนึ่งในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นคำประสมหรือสมาสแบบไทย แปลจากหน้าไปหลัง คือแปลว่า “ผู้เป็นยอดในโลก” อันเป็นความหมายเดียวกับคำว่า “ยอดฟ้า” นั่นเอง

………..

6 เมษายน 2559 :

วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

………..

: ยอดขุนศึกครองโลกด้วยกำลังพล

: ยอดคนครองโลกด้วยกำลังธรรม

6-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย