บาลีวันละคำ

อนามัย (บาลีวันละคำ 1,406)

อนามัย

อ่านว่า อะ-นา-ไม

อนามัย” บาลีเป็น “อนามย” (อะ-นา-มะ-ยะ) ประสมขึ้นจากคำว่า + อามย

(๑) “” (อ่านว่า นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(๒) “อามย” (อา-มะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

1) อมฺ (ธาตุ = เสียดแทง, เจ็บ) + อย ปัจจัย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ -(มฺ) เป็น อา (อมฺ > อาม)

: อมฺ + อย = อมย > อามย แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เสียดแทง” “อาการที่เจ็บปวด

2) อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่งขึ้น) + มิ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ มิ เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (มิ > เม > มย)

: อา + มิ = อามิ + = อามิณ > อามิ > อาเม > อามย แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่เบียดเบียนร่างกายอย่างยิ่ง

3) อา (คำอุปสรรค = กลับความ) + มยฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย

: อา + มยฺ = อามยฺ + = อามย แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่มาเบียดเบียน

อามย” หมายถึง ความเจ็บไข้, ความไม่สบาย, ความป่วยไข้, โรค, ความเจ็บไข้ได้ป่วย, อาพาธ, ความลำบาก (affliction, illness, misery)

+ อามย แปลง เป็น อน ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “อามย” ขึ้นต้นด้วยสระ คือ อา– จึงต้องแปลง เป็น อน

+ อามย = อนามย หมายถึง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ, ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย, ไม่ทรุดโทรม, ไม่เสื่อมลง, มีสุขภาพดี, มีอนามัยดี (free from illness, not afflicted, not decaying, healthy, well)

อนามย ในภาษาไทยใช้ว่า “อนามัย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนามัย : (คำนาม) ความไม่มีโรค, สุขภาพ. (คำวิเศษณ์) เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ภาษาปาก) สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).”

………..

7 เมษายน วันอนามัยโลก

………..

: ดูแลโลกให้มีอนามัย

: ดูแลหัวใจให้มีคุณธรรม

————-

(ตามคำถามของ ลุงเอก เดียวดาย)

7-4-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย